นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254
ปีที่ 53 ฉบับที่ 254 พฤษภาคม - มิถุนายน 2568 | 31 มนุษย์) โดยพบว่า แม้ว่าระดับการได้รับสัมผัสสารหนูและตะกั่วในขิงจาก ย่างกุ้งโดยเฉลี่ยแล้วอาจไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผลกระทบที่ไม่ใช่มะเร็ง ในทันที (ค่า Hazard Quotient หรือ HQ น้อยกว่า 1) แต่สิ่งที่น่ากังวล อย่างยิ่งคือ ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง (Cancer Risk หรือ CR) จาก สารหนู ตะกั่ว และแคดเมียม ในชาวพม่าที่บริโภคขิงจากย่างกุ้งนั้น สูงกว่าระดับที่ยอมรับได้ (1 x 10 -6 ) อย่างมีนัยสำ �คัญ โดยเฉพาะความเสี่ยง ในการเกิดมะเร็งจากสารหนูในย่างกุ้งมีค่าสูงถึง 18.449 x 10 -6 ซึ่งสูง กว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ถึงประมาณ 18 เท่า และความเสี่ยงโดยรวมในการ เกิดมะเร็งจากโลหะหนักทั้งสามชนิดนี้ในย่างกุ้งมีค่าเท่ากับ 18.796 x 10 -6 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้ถึงเกือบ 19 เท่า ซึ่งข้อมูลนี้เน้นย้ำ �ถึงอันตราย ของการปนเปื้อนโลหะหนักในผลิตผลทางการเกษตร และอาจเป็นผลมาจาก กิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อดินและแหล่งน้ำ �ในพื้นที่นั้นๆ ได้ ผลกระทบจากการปนเปื้อนสารพิษ เช่น สารหนู และตะกั่ว ต่อระบบนิเวศแม่น้ำ �นั้นมีความรุนแรงและซับซ้อน การปนเปื้อนเหล่านี้ สามารถลดความหลากหลายทางชีวภาพ เนื่องจากสัตว์น้ำ �และพืชน้ำ � แต่ละชนิดมีความทนทานต่อสารพิษแตกต่างกัน ทำ �ให้บางชนิดไม่สามารถ อยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมที่มีสารพิษสูง นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงชนิด และจำ �นวนของสิ่งมีชีวิตยังส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของห่วงโซ่อาหาร ซึ่งนำ �ไปสู่ความไม่สมดุลของระบบนิเวศโดยรวม ที่สำ �คัญคือ ปลาและ สัตว์น้ำ �อื่นๆ ที่เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์อาจมีการสะสมสารพิษใน ร่างกายจนมีระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค สารหนูและตะกั่ว เป็นธาตุทางเคมีที่เป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง สารหนูมีทั้งในรูปของธาตุบริสุทธิ์และสารประกอบต่างๆ ทั้งอินทรีย์และ อนินทรีย์ โดยทั่วไป สารประกอบอนินทรีย์ของสารหนูมักพบในสิ่งแวดล้อม และมีความเป็นพิษสูงกว่า สารหนูไม่มีรสและไม่มีกลิ่น ทำ �ให้การปนเปื้อน ในแหล่งน้ำ �จึงเป็นภัยเงียบที่ยากต่อการสังเกต ตะกั่วก็เป็นโลหะหนักที่เป็นพิษ สามารถปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้จากหลายแหล่ง ทั้งจากกระบวนการ ทางธรรมชาติและการกระทำ �ของมนุษย์ ความเป็นพิษของทั้งสารหนูและตะกั่วต่อสิ่งมีชีวิตนั้นร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารหนูได้ส่งผลกระทบต่อผู้คนจำ �นวนมากทั่วโลก ข้อมูลล่าสุดเน้นย้ำ �ถึงปัญหานี้ในประเทศอินเดีย ซึ่งคาดว่ามีประชากรถึง 239 ล้านคนใน 153 เขตเลือกตั้งของ 21 รัฐ บริโภคน้ำ �ที่มีความเข้มข้น ของสารหนูสูงกว่าระดับที่ปลอดภัย (Sevak & Pushkar, 2024) สารหนูสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น การบริโภคน้ำ � และอาหาร การหายใจ และการสัมผัส เมื่อเข้าสู่ร่างกายสารหนูจะ เหนี่ยวนำ �ให้เกิดกระบวนการทางชีวเคมีหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับภาวะเครียด ออกซิเดชัน ความผิดปกติของการเผาผลาญไขมัน ความไม่สมดุลของ ธาตุเหล็ก และการก่อมะเร็ง การรบกวนกระบวนการเหล่านี้สามารถนำ �ไปสู่ ปัญหาสุขภาพที่สำ �คัญ เช่น น้ำ �ลายไหล คลื่นไส้ อ่อนแรง ปวดท้อง และ ถึงแก่ชีวิตได้ในสภาวะที่รุนแรง การได้รับสารหนูในปริมาณมากอาจ ก่อให้เกิดอาการเฉียบพลัน และการได้รับสารหนูในระยะยาว แม้ใน ปริมาณน้อย ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็ง ผิวหนัง มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และยังเพิ่มความเสี่ยงของ โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน และส่งผลกระทบต่อความสามารถทางสติปัญญาและ การทำ �งานของระบบประสาท นอกจากนี้ การสัมผัสสารหนูในความเข้มข้นต่ำ � ยังอาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และทำ �ให้เกิดการ คลอดก่อนกำ �หนดได้ การสัมผัสสารหนูเรื้อรังยังเกี่ยวข้องกับอาการทาง ผิวหนังต่างๆ เช่น ผิวคล้ำ � (Melanosis) แผลที่ผิวหนัง ผิวหนังหนาตัว (Keratosis) และภาวะผิวสีจางเป็นหย่อมๆ (Leukomelanosis) (Sevak & Pushkar, 2024) นอกจากนี้ สารหนูยังรบกวนการทำ �งานของฮอร์โมนไทรอยด์ กรดเรติโนอิก และตัวรับฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการควบคุม ฮอร์โมนโดยทั่วไปในร่างกายมนุษย์ รวมทั้งความเป็นพิษของสารหนูยังส่ง ผลกระทบต่อวิถีทางชีวเคมีต่างๆ เช่น การเผาผลาญคาร์บอนออกซิเดชัน และการดูดซึมกรดอะมิโน โปรตีน กำ �มะถัน และไนโตรเจน สารหนูจัดเป็น สารก่อมะเร็ง และถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 10 สารที่อันตรายที่สุดในโลก การได้รับ สารหนูยังเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งผิวหนัง ปอด กระเพาะปัสสาวะ ไต และ ตับ (Sevak & Pushkar, 2024) เช่นเดียวกับสารหนู ตะกั่วก็เป็นพิษต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพ 2 การจำ �แนกแหล่งที่มาของการปนเปื้อนสารหนู รวมถึงแหล่งกำ �เนิดตามธรรมชาติและที่เกิดจากมนุษย์ (Sevak & Pushkar, 2024 )
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5