นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254

36 | นิตยสาร สสวท. อ ย่างไรก็ตาม ระบบการศึกษาในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ยังคงประสบปัญหาในการพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้กับผู้เรียน งานวิจัย ของ OECD (2019) ระบุว่าผู้เรียนยังขาดทักษะการคิดสร้างสรรค์และ การแก้ปัญหาที่ซับซ้อนซึ่งเป็นองค์ประกอบสำ �คัญของความเป็นนวัตกร การพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรผ่านวิชาการสื่อสารและการนำ �เสนอ (IS2) สำ �หรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยเฉพาะในห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม (Science, Mathematics, Technology, and Environment: SMTE) เป็นแนวทาง สำ �คัญที่ช่วยเตรียมความพร้อมสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษาและการ ประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579 ที่เน้นการพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย (สำ �นักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา, 2560) ดังนั้น การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) รวมกับรูปแบบการปฏิบัติงาน 6C Model ซึ่งเป็น แนวทางที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะสำ �คัญของผู้เรียน โดย 6C ได้แก่ ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) การทำ �งานร่วมกัน (Collaboration) การสื่อสาร (Communication) และความมุ่งมั่น (Commitment) (วิจารณ์ พานิช, 2562; สุวิทย์ เมษินทรีย์, 2561; ทิศนา แขมมณี, 2563; ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2560) ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบสำ �คัญของ การเป็นนวัตกรในยุคปัจจุบัน การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานช่วยให้ ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำ �งานร่วมกัน ซึ่งเป็นทักษะสำ �คัญของนวัตกร นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับแนวคิด การจัดการศึกษาตามแนวทาง STEM Education ที่มุ่งเน้นการบูรณา การความรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมและแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (สถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2565) กระบวนการเรียนรู้เช่นนี้ ยังช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง เห็นความเชื่อมโยงระหว่าง การเรียนรู้ในห้องเรียนกับการแก้ปัญหาในชีวิตจริง อันเป็นพื้นฐานสำ �คัญ ของการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 (พิมพันธ์ เดชะคุปต์ & พเยาว์ ยินดีสุข, 2561) ดังนั้น การพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกรโดยใช้กระบวนการ จัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการปฏิบัติงาน 6C Model สำ �หรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในวิชาการสื่อสารและการนำ �เสนอ (IS2) โดยเฉพาะในบริบทของห้องเรียน SMTE จึงเป็นแนวทางสำ �คัญในการ เตรียมความพร้อมให้เยาวชนไทยเผชิญกับความท้าทายในอนาคต และเป็น กำ �ลังสำ �คัญในการพัฒนาประเทศต่อไป วัตถุประสงค์ - เพื่อออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยพัฒนาทักษะ ความเป็นนวัตกรของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการ จัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการปฏิบัติงาน 6C Model ในวิชาการสื่อสารและการนำ �เสนอ (IS2) - เพื่อเปรียบเทียบทักษะความเป็นนวัตกรของผู้เรียนก่อนและ หลังการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการปฏิบัติงาน 6C Model - เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการปฏิบัติงาน 6C Model เป้าหมาย 1. ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/14 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ ผู้เรียนทั้งหมดมีการพัฒนาทักษะความเป็นนวัตกร เมื่อผ่านกระบวนการ จัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการปฏิบัติงาน 6C Model ในวิชาการสื่อสารและการนำ �เสนอ (IS2) ผ่านเกณฑ์ที่กำ �หนด 2. ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/14 มีทักษะความเป็นนวัตกร เมื่อผ่านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการ ปฏิบัติงาน 6C Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำ �คัญทางสถิติ 3. ผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/14 มีความพึงพอใจต่อการ จัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับรูปแบบการปฏิบัติงาน 6C Model อยู่ในระดับดี ขั้นตอนการดำ �เนินงาน จากการเปรียบเทียบงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบ โครงงานเป็นฐาน อ้างอิงจาก ศิริพร พุทไธสงค์ และชมพูนุช วุ่นสุวรรณ (2561) ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน (2563) อุไรรัตน์ เจนดง และนฤมล ภูสิงห์ (2564) นภสร ยลสุริยัน (2565) และจากการศึกษาและสังเคราะห์งานวิจัย เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learn- ing (PBL)) งานวิจัยในต่างประเทศอ้างอิงจาก Chandra, R. (2021). Cook, J., & Team. (2023). Rahmawati, A., & Team. (2023). Taras, J., & Team. (2021). Zhang, Y., & Team. (2023) สามารถพัฒนาขั้นตอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานได้ดังนี้ 1. การตั้งต้นและกำ �หนดปัญหา - ระบุปัญหาหรือสถานการณ์ที่ผู้เรียนสนใจหรือเป็นปัญหาที่ เกิดขึ้นจริง - ตั้งคำ �ถาม (Driving Question) เพื่อเป็นแนวทางในการ ดำ �เนินโครงงาน 2. การวางแผนและออกแบบโครงงาน - กำ �หนดเป้าหมายและผลลัพธ์ที่ต้องการจากโครงงาน - วางแผนการดำ �เนินงาน เช่น การแบ่งงาน การจัดสรรทรัพยากร - ผสานความรู้จากหลากหลายศาสตร์ เช่น แนวคิด STEM Education 3. การลงมือปฏิบัติ - ผู้เรียนทำ �การค้นคว้า ทดลอง และพัฒนาโครงงาน - เน้นการทำ �งานร่วมกันเป็นทีมเพื่อแก้ปัญหาและสร้างผลงาน 4. การประเมินและปรับปรุง - ทดสอบโครงงานและรับฟีดแบคจากครูหรือเพื่อนร่วมทีม - ปรับปรุงโครงงานตามข้อเสนอแนะ

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5