นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254
42 | นิตยสาร สสวท. TOP500 คือ รายการจัดอันดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลก โดยมีการปรับปรุงรายชื่อใหม่ ปีละ 2 ครั้ง และใช้เกณฑ์วัดจากประสิทธิภาพการประมวลผลด้วยการทดสอบ LINPACK Benchmark เพื่อเปรียบเทียบความเร็วในการแก้สมการเชิงเส้น จากภาพแสดงซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ในรายการ TOP500 แบ่งตามประเทศ (ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2024) ภาพจาก: https://en.wikipedia.org/wiki/TOP500 ลันตา (Lanta) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของไทย ภาพจาก: https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/834306 ซู เปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) คือคอมพิวเตอร์ที่มี ขีดความสามารถสูง คิดคำ �นวณได้เร็วกว่าคอมพิวเตอร์ประเภท อื่นๆ ชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์เดิมตั้งขึ้นเพื่อเรียกคอมพิวเตอร์ Cray-1 ซึ่งเป็นเครื่องที่ผลิตโดยบริษัทเครย์ รีเสิร์ช (Cray Research) โดยบริษัทนี้เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ระดับโลก ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1972 โดย เซย์มัวร์ เครย์ (Seymour Cray) ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะบิดาแห่งซูเปอร์คอมพิวเตอร์ บริษัทนี้มีบทบาทสำ �คัญ ในการผลักดันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสำ �หรับการวิจัย และวิทยาศาสตร์ ต่อมา มีผู้พัฒนาเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์อีกมาก รวมทั้งบริษัทคอมพิวเตอร์ในญี่ปุ่น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีความเร็วสูงมาก ในปัจจุบันโดยทั่วไปเราถือว่าคอมพิวเตอร์ที่สามารถคำ �นวณเลขจุดลอยได้ เกินกว่า 1,000 ล้านล้านคำ �สั่งต่อวินาทีเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์และ คอมพิวเตอร์ที่สามารถคำ �นวณเลขจุดลอยได้เกินกว่า 1 ล้านล้านล้านคำ �สั่ง ต่อวินาทีเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับเอกซาสเกล (Exascale Super- Computer) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์นั้นอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นคอมพิวเตอร์ สมรรถนะสูงยิ่ง (High Performance Computer) โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบมาเพื่อทำ �การคำ �นวณด้วยความเร็วสูงสุดตามที่เทคโนโลยี ปัจจุบันเอื้ออำ �นวยและใช้ในการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนอย่างมาก โดย ถูกใช้งานในหลายด้าน เช่น การออกแบบรถยนต์ เครื่องบิน ยานอวกาศ การพยากรณ์อากาศ การออกแบบยาและสารเคมีใหม่ๆ การคำ �นวณที่ช่วย ให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจคุณสมบัติของอนุภาคที่ประกอบเป็นอะตอม โมเลกุล วัสดุต่างๆ การวิวัฒนาการของดวงดาวและกาแล็กซี โดยซูเปอร์ คอมพิวเตอร์ถูกใช้อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัยชั้นนำ � สถาบันวิจัย และ ในทางการทหาร แต่เนื่องด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาที่สูงมาก ฉะนั้น ไม่ใช่ทุกประเทศมีการใช้งานซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่นับว่าเป็นเรื่อง ที่น่ายินดีที่ประเทศไทยก็มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน สำ �คัญในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ของไทยชื่อ ลันตา (Lanta) ลันตาเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของศูนย์ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ เพื่อการคำ �นวณขั้นสูง (NSTDA Supercomputer Center หรือ ThaiSC) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (National Science and Technology Infrastructure หรือ NSTI) ของสำ �นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำ �กับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ลันตาเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่น Cray EX Supercomputer ผลิตโดยบริษัท Hewlett Packard Enterprise (HPE) ประกอบด้วย หน่วยประมวลผล CPU AMD EPYC เจนเนอเรชั่น ที่ 3 (Milan) รวมทั้งสิ้น 87,296 คอร์ และหน่วยประมวลผล GPU รุ่น NVIDIA A100 ที่ เหมาะสมสำ �หรับการคำ �นวณด้านปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูงและการจำ �ลองทาง วิทยาศาสตร์จำ �นวน 704 หน่วย มีระบบจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูงรุ่น Cray ClusterStor E1000 ที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลมากกว่า 10 เพตะไบต์ (petabytes) หรือ 10,000 ล้านล้านไบต์ โดยใช้การเชื่อมต่อด้วยเครือข่ายประสิทธิภาพสูง HPE Slingshot Interconnect ที่มีความเร็วในการส่งรับข้อมูล 200 กิกะบิต ต่อวินาที (Gbps) ซึ่งทำ �ให้ LANTA มีประสิทธิภาพการประมวลผลสูงสุด ในทางทฤษฎี (Theoretical Peak Performance) อยู่ที่ 13.7 พันล้านล้าน คำ �สั่งต่อวินาที และประสิทธิภาพการคำ �นวณสูงสุดที่วัดได้ (Maximum LINPACK Performance) อยู่ที่ 8.1 พันล้านล้านคำ �สั่งต่อวินาที และใช้ เทคโนโลยีการระบายความร้อนด้วยน้ำ �ซึ่งมีประสิทธิภาพการระบาย ความร้อนที่สูง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5