นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254
ปีที่ 53 ฉบับที่ 254 พฤษภาคม - มิถุนายน 2568 | 49 เ สว่ยหลง 2 เป็นเรือลำ �แรกของโลกที่ใช้เทคโนโลยีในการตัดน้ำ �แข็ง สองทิศทาง (หัวเรือและท้ายเรือ) โดยติดตั้งระบบขับเคลื่อนแบบ Pod Thrusters ขนาด 7.5 เมกะวัตต์ 2 ตัว จึงตัดน้ำ �แข็งได้ทั้งขณะเดินหน้า และถอยหลัง สามารถเดินทางผ่านแผ่นน้ำ �แข็งได้หลายทิศทางอย่างคล่องตัว และไม่ต้องหมุนกลับเรือ สามารถตัดผ่านน้ำ �แข็งที่หนาถึง 1.5 เมตร (สูง ประมาณรถยนต์ 1 คัน) และหิมะหนา 0.22 เมตร ได้ด้วยความเร็วประมาณ 2 - 3 นอต (3.7 - 5.6 กิโลเมตร/ชั่วโมง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมรรถนะในการ ตัดน้ำ �แข็งในขณะที่เรือถอยหลัง สามารถตัดน้ำ �แข็งที่มีความหนากว่า 10 เมตร การออกแบบกระดูกงูเรือที่เป็นกรรมสิทธิ์ช่วยทำ �ลายน้ำ �แข็งใต้เรือเพื่อ ปกป้องโซนาร์ใต้น้ำ � ความสามารถในการทำ �ลายน้ำ �แข็งที่ดีขึ้นของเรือทำ �ให้ มีโอกาสมากขึ้นสำ �หรับนักวิทยาศาสตร์ในการทำ �การวิจัยในพื้นที่ขั้วโลก เป็นระยะเวลานานขึ้น ซึ่งเรือวิจัยขั้วโลกส่วนใหญ่ถูกจำ �กัดให้ทำ �งานเฉพาะ ในช่วงฤดูร้อน แต่เรือเสว่ยหลง 2 สามารถทำ �งานได้ 150 วันต่อปี ตั้งแต่ ฤดูใบไม้ผลิถึงฤดูใบไม้ร่วง (Dialogue Earth, 2020) เรือตัดน้ำ �แข็งลำ �นี้มีความยาว 122.5 เมตร (ยาวกว่าสนามฟุตบอล 1 สนาม) กว้าง 22.3 เมตร กินน้ำ �ลึก 12 เมตร ระวางขับน้ำ � 13,990 ตัน (รถบรรทุก 18 ล้อ บรรทุกเต็มคันประมาณ 500 คัน รวมกัน) โดย ภารกิจหลักของเรือ ได้แก่ การสนับสนุนการสำ �รวจวิจัยขั้วโลกเหนือและ ภาพ 1 เรือตัดน้ำ �แข็งเสว่ยหลง 2 ที่มา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2568) ขั้วโลกใต้ของนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ จากสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน (Polar Research Institute of China) หรือจากส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานีวิจัยต่างๆ ของจีนในเขต ขั้วโลก ผ่านการลำ �เลียงเสบียง อาหาร น้ำ �มัน อุปกรณ์ก่อสร้าง และอื่นๆ ที่จำ �เป็นและภารกิจรอง ได้แก่ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ขณะที่เรือแวะ เข้าเทียบท่าตามเมืองท่าต่างๆ เมื่อมีโอกาส เรือตัดน้ำ �แข็งเสว่ยหลง 2 สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุด 90 คน โดยแบ่งออกเป็นลูกเรือ 40 คน ส่วนอีก 50 คน เป็นกลุ่มนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ หรืออื่นๆ ที่ใช้เรือตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย มีพื้นที่ 10 ชั้น ประกอบด้วยห้องต่างๆ เช่น ห้องพักนักวิจัยและลูกเรือ ห้องสันทนาการ ห้องประชุม ห้องออกกำ �ลังกาย โรงพยาบาลที่สามารถผ่าตัดฉุกเฉิน ขนาดเล็กได้ และการติดตั้งระบบวินิจฉัยทางการแพทย์ทางไกลรองรับ เหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพ ห้องอ่านหนังสือ ลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ ห้องปฏิบัติงานวิจัยหลายประเภท ทั้งแล็บแห้งสำ �หรับงานด้านสมุทรศาสตร์ หรือกายภาพ แล็บเปียกสำ �หรับงานด้านเคมีและชีวภาพ รวมถึงห้องเก็บ ตัวอย่างอุณหภูมิต่ำ � ในพื้นที่มากกว่า 580 ตารางเมตร มีเครื่องมือทันสมัย ในการสำ �รวจทางธรณี สมุทรศาสตร์ อากาศ บรรยากาศ ฯลฯ บริเวณ ดาดฟ้าชั้น 10 จะเป็นสะพานเดินเรือ มีห้องควบคุมการเดินเรือ ส่วนด้านบน ดาดฟ้าสะพานเดินเรือจะมีเครื่องมือที่เป็นระบบอัตโนมัติในการเก็บข้อมูล สภาพอากาศ ลม ฝุ่นละออง หรืออื่นๆ สำ �หรับการปฏิบัติภารกิจในทะเล และบริเวณขั้วโลก (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2568) นอกจากนี้ ตัวเรือยัง มีมูนพูล (Moon Pool) ขนาด 3.2 x 3.2 เมตร สำ �หรับการดึงอุปกรณ์หรือ ตัวอย่างจากใต้ท้องเรือโดยตรง อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย สำ �หรับการประมวลผลข้อมูลทั้งด้านปฏิบัติการและการวิจัย นอกจากนี้ เรือ ยังถูกออกแบบมาพร้อมเทคโนโลยีสะอาด SCR (Selective Catalytic Reduction) เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากเครื่องยนต์ในเขตขั้วโลกที่อยู่ใน ระดับสูงกว่ามาตรฐานทั่วไป เพื่อดูแลสภาพสิ่งแวดล้อมขั้วโลกที่ค่อนข้าง อ่อนไหวต่อมลภาวะทางอากาศ (Sarakadee Lite, 2568) (ก) ห้องพักนักวิจัยและลูกเรือ (ข) ห้องประชุมขนาดใหญ่ (ค) ห้องประชุมขนาดเล็ก (ง) ห้องออกกำ �ลังกาย (จ) ห้องปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ (ฉ) ลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ (ช) ห้องควบคุมการเดินเรือ (ช) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ภาพ 2 ห้องต่างๆ บนเรือตัดน้ำ �แข็งเสว่ยหลง 2
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5