นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254

50 | นิตยสาร สสวท. (ก) เครื่องมือเก็บตัวอย่าง น้ำ �ทะเล CTD (ข) วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำ �ทะเลโดยหย่อนเครื่องมือจากด้านข้าง ของเรือ ลงไปในน้ำ �ทะเลที่ระดับความลึกที่ต้องการ ที่มา: Sarakadee Lite (2568) (ง) การล่องเรือเพื่อเก็บตัวอย่างน้ำ �กลางมหาสมุทร อันหนาวเหน็บ (ค) การศึกษาลักษณะ โครงสร้างภายในของชั้น น้ำ �แข็งในบริเวณขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำ �คัญต่อความ แม่นยำ �ในการวิเคราะห์ สัญญาณจากอนุภาคนิวตริโน และรังสีคอสมิก ภาพ 3 เรือตัดน้ำ �แข็งเสว่ยหลง 2 เทียบท่า ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ อำ �เภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ด้วยสายพระเนตรและพระวิสัยทัศน์อันยาวไกลของ สมเด็จ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงให้ความสำ �คัญในเรื่องการศึกษาวิจัยขั้วโลก ทำ �ให้ประเทศไทยมีการ ทำ �บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการกับจีนในการศึกษา วิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลกเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2556 มีนักวิจัยและ นักวิทยาศาสตร์ไทยเข้าร่วมการศึกษาวิจัยต่อเนื่องจนปัจจุบัน เนื่องในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา พร้อมกับในวาระครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ทางการทูต ไทย-จีน ในปี 2568 นี้ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จีน โดยสถาบันวิจัยขั้วโลก แห่งจีน ร่วมเทิดพระเกียรติพระองค์ท่าน นำ �เรือตัดน้ำ �แข็งเสว่ยหลง 2 เดินทางเข้ามาเยือนประเทศไทย ณ ท่าเรือจุกเสม็ด การท่าเรือพาณิชย์ สัตหีบ อำ �เภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 19 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 ก่อนเดินทางกลับประเทศ ซึ่งเป็นการเยือนประเทศไทยครั้งแรกของ เรือเสว่ยหลง 2 และเป็นการเดินทางออกนอกเส้นทางหลักในการสำ �รวจ ขั้วโลกของเรือเป็นครั้งที่ 2 หลังจากที่ครั้งแรกได้แวะเยือนฮ่องกงในเดือน เมษายน พ.ศ. 2567 ปีที่ผ่านมาก่อนกลับนครเซี่ยงไฮ้ ถือเป็นโอกาสที่ เยาวชน นักวิจัย นักวิชาการ และคนไทยจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีล้ำ �สมัยของ การสำ �รวจวิจัยขั้วโลกโดยเรือตัดน้ำ �แข็งลำ �นี้ และไม่เพียงด้านวิทยาศาสตร์ ทางทะเลหรือสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวิจัยเกี่ยวกับเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศโลก และเป็นแรงบันดาลใจให้นักวิจัยไทยรุ่นใหม่มีส่วนร่วมใน เวทีวิจัยระดับนานาชาติ เสว่ยหลง 2 สำ �รวจสิ่งแวดล้อม เรือตัดน้ำ �แข็งเสว่ยหลง 2 มีภารกิจในการสำ �รวจ ตรวจวัด เก็บ ข้อมูล และวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมบริเวณขั้วโลก ซึ่งสามารถ เก็บข้อมูล ดังนี้ 1. การเก็บตัวอย่างน้ำ �ทะเลและน้ำ �แข็ง ใช้เครื่องมือเก็บตัวอย่างน้ำ � CTD (Conductivity, Temperature, and Depth) ในระดับความลึกสูงสุดกว่า 4,000 เมตร และเจาะน้ำ �แข็ง และกว้าน (Winch Systems) ในการเก็บตัวอย่างน้ำ �จากความลึกต่างๆ วิเคราะห์ค่าคุณภาพน้ำ �ทะเล เช่น pH อุณหภูมิ ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ � ปริมาณเกลือ และสารเคมีต่างๆ ตรวจสอบสารปนเปื้อน เช่น ไมโครพลาสติก โลหะหนัก หรือสารพิษ ภาพ 4 การเก็บตัวอย่างน้ำ �ทะเลและและน้ำ �แข็ง 2. การสำ �รวจชั้นน้ำ �แข็งและธารน้ำ �แข็ง ใช้เรดาร์ทะลุทะลวง (Ground Penetrating Radar) และโซนาร์ ใต้น้ำ � เพื่อตรวจสอบความหนาและโครงสร้างของน้ำ �แข็ง และติดตั้งเครื่องมือ บนพื้นผิวหรือใต้น้ำ �แข็งเพื่อติดตามการเคลื่อนตัว การละลาย และการ เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล 3. การเก็บข้อมูลทางชีวภาพ เก็บตัวอย่างแพลงก์ตอน พืชน้ำ � และสัตว์ทะเลขนาดเล็กเพื่อ ตรวจสอบความหลากหลายทางชีวภาพ และศึกษาโครงสร้างห่วงโซ่อาหาร ในระบบนิเวศขั้วโลก 4. การติดตามสภาพอากาศ ตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความกดอากาศ ความเร็วลม และทิศทางลมในชั้นต่างๆ โดยใช้สถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ บอลลูน

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5