นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254
ปีที่ 53 ฉบับที่ 254 พฤษภาคม - มิถุนายน 2568 | 51 (ข) เครื่องมือปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ภาพ 5 เครื่องมือตรวจวัด และเก็บข้อมูลสิ่งแวดล้อม ตรวจอากาศ โดรนและอุปกรณ์วัดรังสีดวงอาทิตย์ และรังสีอินฟราเรด และใช้ดาวเทียมและระบบภาพถ่ายทางไกล (Remote Sensing) เพื่อศึกษา สภาพอากาศ การดูดกลืนและสะท้อนพลังงานในชั้นบรรยากาศ การ เคลื่อนตัวของเมฆ ระบบความกดอากาศ และการละลายของน้ำ �แข็ง ซึ่ง มีอิทธิพลของภาวะโลกร้อนที่มีต่อภูมิภาคขั้วโลก 5. การใช้ห้องแล็บลอยน้ำ � เสว่ยหลง 2 มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์กว่า 15 ห้อง รองรับ การวิเคราะห์ตัวอย่างได้ทันทีบนเรือ มีห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง เช่น ห้องวิเคราะห์เคมีสิ่งแวดล้อม ห้อง DNA ห้องแปรสภาพน้ำ �แข็ง นอกจากนี้ การสำ �รวจซากพลาสติกในมหาสมุทรอาร์กติกเป็น หนึ่งในภารกิจที่สำ �คัญของเรือตัดน้ำ �แข็งเสว่ยหลง 2 และเรือวิจัยอื่นๆ ทั่วโลก แม้พื้นที่ขั้วโลกเหนือจะห่างไกลจากแหล่งชุมชนและอุตสาหกรรม แต่กลับพบไมโครพลาสติกและขยะพลาสติกกระจายอยู่ในน้ำ �ทะเล น้ำ �แข็ง และสิ่งมีชีวิตในระดับต่างๆ ของระบบนิเวศ ซึ่งการสำ �รวจ ซากพลาสติกสามารถทำ �ได้โดยเก็บตัวอย่างน้ำ �ทะเลและน้ำ �แข็ง ตะกอนทะเล สัตว์ทะเล และสำ �รวจทางอากาศและดาวเทียม โดยใช้โดรน และระบบภาพจากดาวเทียมช่วยตรวจสอบพื้นที่ที่มีการสะสมของขยะ พลาสติกบนผิวน้ำ �ทะเลหรือชายฝั่งน้ำ �แข็ง จากการสำ �รวจพบไมโครพลาสติก ในแทบทุกชั้นของระบบนิเวศ ตั้งแต่น้ำ �ผิวดินไปจนถึงน้ำ �แข็งและสัตว์ทะเล แหล่งที่มาของพลาสติกอาจมาจากกระแสน้ำ �จากมหาสมุทรแอตแลนติก และแปซิฟิก การคมนาคมทางเรือ การท่องเที่ยว อุปกรณ์ประมง เสื้อผ้า ใยสังเคราะห์ และพลาสติกอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ไมโครพลาสติกยังถูก ตรวจพบในหิมะที่ตกในอาร์กติก แสดงให้เห็นว่าละอองพลาสติกสามารถ ลอยมากับลมจากที่ห่างไกลได้อีกด้วย เสว่ยหลง 2 สำ �รวจทางธรณี เรือตัดน้ำ �แข็งเสว่ยหลง 2 มีการติดตั้งระบบการสำ �รวจทางธรณี แบบหลายลำ �แสงสำ �หรับน้ำ �ลึกและน้ำ �ตื้น ช่วยให้การสำ �รวจระยะไกล ครอบคลุมได้มากขึ้น มีเครื่องมือสำ �รวจชั้นหินน้ำ �ลึกและน้ำ �ตื้น ระบบ การสำ �รวจทางชีวภาพด้วยการสะท้อนเสียง มีการติดตั้งระบบตรวจจับ คลื่นไหวสะเทือนแบบ 24 ช่อง สำ �หรับการศึกษาธรณีแปรสัณฐานใต้ทะเล จึงมีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. การสำ �รวจธรณีภาคพื้นทวีป เก็บข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของ พื้นมหาสมุทร ชั้นดิน หรือการศึกษาชั้นธรณีใต้ทะเล เช่น การสำ �รวจรอยเลื่อน (Fault Lines) การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพื้นมหาสมุทรที่มีผลต่อ การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก 2. การศึกษาธรณีวิทยาของภูมิภาคขั้วโลก ศึกษาสภาพภูมิอากาศ ในอดีตและการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่เกิดขึ้นในแอนตาร์กติกและ อาร์กติก เช่น การศึกษาความลึกของชั้นน้ำ �แข็ง การหาผลกระทบของการ ละลายน้ำ �แข็งต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่ต่างๆ การศึกษาการสะสมของ ตะกอนในทะเลหรือการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำ �แข็ง 3. การเก็บตัวอย่างธรณีและวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมใต้ทะเล เรือ ตัดน้ำ �แข็งเสว่ยหลง 2 สามารถเก็บตัวอย่างจากทะเลและพื้นมหาสมุทร เพื่อใช้ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางธรณีและสภาพแวดล้อมในภูมิภาค ที่สำ �คัญในการคาดการณ์และวิเคราะห์อนาคตของสิ่งแวดล้อมโลก 4. การศึกษาปรากฏการณ์ทางธรณีที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ ของแผ่นเปลือกโลก เช่น การศึกษาการเกิดแผ่นดินไหวใต้ทะเล ความเสี่ยง ของการเกิดสึนามิ การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำ �ทะเลที่เกี่ยวข้องกับ การละลายของน้ำ �แข็งในขั้วโลก นักวิทยาศาสตร์ไทยกับงานวิจัยขั้วโลก ปี พ.ศ. 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่เสด็จฯ เยือนทวีปแอนตาร์กติกา และด้วย พระมหากรุณาธิคุณ พระองค์ทรงมีพระราชดำ �ริให้เกิด “โครงการวิจัยขั้วโลก ตามพระราชดำ �ริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ขึ้น โดยโครงการนี้ได้ดำ �เนินการภายใต้ความร่วมมือของสำ �นักงานวิทย ทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ซึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมการวิจัยใน เส้นทางการสำ �รวจและศึกษาภูมิภาคอาร์กติกและแอนตาร์กติกอย่าง ต่อเนื่องทุกปี การศึกษาในพื้นที่อาร์กติก-ขั้วโลกเหนือ และแอนตาร์กติก-ขั้วโลกใต้ มีความสำ �คัญอย่างยิ่งในการประเมินสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้ถือเป็นปราการด่านแรกที่สามารถสะท้อนถึงสภาวะ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกได้อย่างชัดเจน (ก) เครื่องมือติดตามสภาพอากาศ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5