นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254

ปีที่ 53 ฉบับที่ 254 พฤษภาคม - มิถุนายน 2568 | 53 ปี พ.ศ. 2566 ร.ท.ผศ.ดร.ชนะ สินทรัพย์วโรดม วิศวกรผู้ทำ �การขุดเจาะน้ำ �แข็ง ณ สถานีตรวจวัดนิวทริโนไอซ์คิวบ์ ใจกลางทวีปแอนตาร์กติกา สูงประมาณ 2,835 เมตร จากระดับน้ำ �ทะเล (สูงกว่า ยอดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 300 เมตร) เพื่อศึกษาลักษณะ ภายในของโครงสร้างของชั้นน้ำ �แข็งบริเวณขั้วโลกใต้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำ �คัญต่อ ความแม่นยำ �ในการวิเคราะห์สัญญาณจากอนุภาคนิวตริโนและรังสีคอสมิก รวมถึง การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบตรวจจับในอนาคต ปี พ.ศ. 2559 ศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ค้นพบสารก่อมะเร็งเดินทางไปไกลจากแผ่นดินใหญ่ถึงขั้วโลกใต้ ทั้งที่ ส่วนใหญ่พบว่าสารก่อมะเร็งส่วนใหญ่เกิดจากผลของการกระทำ �กิจกรรมของมนุษย์ เช่น ไอเสียจากยานพาหนะ การสันดาปที่ไม่สมบูรณ์ของเชื้อเพลิงฟอสซิลจากภาค อุตสาหกรรม การเผาเศษชีวมวลจากภาคการเกษตรรวมทั้งไฟป่า ปี พ.ศ. 2562 ผศ.พงศ์พิจิตร ชวนรักษาสัตย์ นักวิจัยผู้ร่วมเดินทางกับเรือเสว่ยหลง 2 ศึกษาการตรวจวัดอนุภาค นิวตรอน จากการสำ �รวจตัดข้ามทะเล (Latitude Survey) ทางด้านดาราศาสตร์ที่ ทวีปแอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้ พบว่า รังสีคอสมิกมีผลต่อความดันบรรยากาศ และสนามแม่เหล็กโลก ณ ตำ �แหน่งละติจูดที่ต่างกัน ปี พ.ศ. 2561 พ.อ.รศ.ดร.กิตติภพ พรหมดี ศึกษาสภาวะของทวีปแอนตาร์กติกามีการปนเปื้อนสารพิษ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งสารก่อมะเร็งจำ �พวก PAHs และมีการคายระเหยที่ผิวดินอย่างต่อเนื่อง ส่งผล ต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่มีอัตราที่สูงขึ้นอย่างช้าๆ และมีการละลายของน้ำ �แข็ง อย่างช้าๆ ในหลายๆ จุด ที่มา: มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ �ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (2568) ที่มา: มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ �ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (2568) ที่มา: มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำ �ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (2568) ที่มา: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2567)

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5