นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254
ปีที่ 53 ฉบับที่ 254 พฤษภาคม - มิถุนายน 2568 | 59 ส วัสดีผู้อ่านที่รัก ฉบับนี้ต่ายจะชวนคุณๆ มาทำ �ความเข้าใจกับเรื่องราว ที่หลายคนอาจจะยังมองข้ามหรือคิดไปไม่ถึง แต่เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา อย่างไม่น่าเชื่อ นั่นคือ ผลกระทบจากการปนเปื้อนโลหะหนักในพืชผักสวนครัว จากกิจการการทำ �เหมืองทองขนาดเล็กในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งต่ายเชื่อว่า หลายคนคงเคยได้ยินข่าวสารเรื่องการปนเปื้อนสารหนู (Arsenic) ในแม่น้ำ �กก กันมาบ้างแล้ว ซึ่งไม่ใช่คนที่จังหวัดเชียงรายเท่านั้น เพราะแม่น้ำ �กกจะไหลลง สู่แม่น้ำ �โขง ดังนั้น ผู้คนที่อาศัยตามริมฝั่งแม่น้ำ �นี้จะมีความเสี่ยงด้วยกัน หมดทั้งสิ้น และประเด็นที่ต่ายเป็นห่วงมากที่สุดก็คือ “ผักที่เรากินทุกวัน ปลอดภัยจริงหรือ?” คุณคงจะทราบดีว่าในประเทศเพื่อนบ้านของเราอย่างพม่ามีการ ทำ �เหมืองทองขนาดเล็ก (Artisanal and Small-scale Mining - ASM) กระจายอยู่มากมายในรัฐฉานและอย่างที่เราเห็นกันว่าปัญหาน้ำ �เสียจากการ ทำ �เหมืองเหล่านี้ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ซึ่งแน่นอนว่าสารพิษและ โลหะหนักต่างๆ ย่อมไหลลงสู่แหล่งน้ำ �ธรรมชาติ รวมถึงแม่น้ำ �กกที่ไหล ผ่านเข้ามาในประเทศไทยของเราด้วย จากการเก็บตัวอย่างน้ำ �ในแม่น้ำ �กก มาตรวจ พบว่ายังคงมีสารหนูเกินกว่ามาตรฐานที่ระบุไว้ แม้แต่ตะกอนดิน ก็ยังพบสารหนูในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อสัตว์หน้าดิน และที่น่าตกใจก็คือ ยัง ไม่พบความก้าวหน้าในการเจรจากับประเทศต้นน้ำ �อย่างเป็นทางการเพื่อ ร่วมกันแก้ปัญหานี้อย่างจริงจัง นั่นหมายความว่าประชาชนที่อยู่ปลายน้ำ � ยังคงตกอยู่ในความเสี่ยงต่อชีวิตและสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งแรกที่ต่ายอยากจะชวนคุณมาดูกันก็คือ ทำ �ไมการทำ �เหมืองทอง ถึงเกี่ยวข้องกับการปนเปื้อนโลหะหนักในพืชผัก? เรื่องนี้เราต้องมาทำ � ความเข้าใจกันก่อนว่ากระบวนการทำ �เหมืองทองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการ ทำ �เหมืองขนาดเล็กมักมีการใช้สารเคมีบางชนิด เช่น ปรอทและไซยาไนด์ เพื่อแยกทองคำ �ออกจากสินแร่ นอกจากนี้ ในสินแร่ทองคำ �เองก็มักจะมี โลหะหนักอื่นๆ ปะปนอยู่ตามธรรมชาติ เช่น แคดเมียม (Cd) สารหนู (As) ตะกั่ว (Pb) และปรอท (Hg) เมื่อสารเคมีเหล่านี้ถูกปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ � และดิน โดยไม่ผ่านการบำ �บัดที่เหมาะสม โลหะหนักก็จะแพร่กระจายและ สะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมนั่นเอง ประเด็นต่อมาที่สำ �คัญไม่แพ้กันก็คือ แล้วพืชผักสวนครัวของเรา เกี่ยวอะไรด้วย? คุณทราบไหมว่าบริเวณริมแม่น้ำ �กกตลอดสายโดยเฉพาะ ในพื้นที่ภาคเหนือของไทยมีชุมชนที่ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคใน ครัวเรือนและส่งขายตามตลาดท้องถิ่นเป็นจำ �นวนมาก พืชเหล่านี้ได้รับน้ำ � จากแม่น้ำ �หรือเติบโตบนดินที่อาจมีการปนเปื้อนจากการชะล้างพัดพาของน้ำ � Q U I Z ต่าย แสนซน ภาพจาก: https://www.prachachat.net/local-economy/news-1815604 โลหะหนักที่อยู่ในน้ำ �และดินเหล่านี้สามารถถูกดูดซึมเข้าไปในพืชผักได้ ผ่านทางรากและลำ �ต้น จากงานวิจัยที่ต่ายได้อ่านมา คือ Afriyie, R. Z. & Arthur, E. K. & Gikunoo, E. & Baah, D. S. & Dziafa, E. (2023). Potential Health Risk of Heavy Metals in some Selected Vegetable Crops at an Artisanal Gold Mining Site: a case study at moseaso in the wassa amenfi west district of ghana. Journal of Trace Elements and Minerals, 4, 100075. ซึ่งเป็นกรณีศึกษาในประเทศกานาชี้ให้เห็นว่า มีการสะสมของโลหะหนักในพืชผักบางชนิดในระดับที่น่ากังวลเลยทีเดียว จากข้อมูลงานวิจัย ต่ายพบว่ามีการตรวจพบโลหะหนัก หลายชนิดในพืชผักที่เก็บตัวอย่างมา ไม่ว่าจะเป็น แคดเมียม สารหนู ตะกั่ว และปรอท และที่น่าตกใจคือ บางตัวอย่างมีการปนเปื้อนในระดับที่เกินกว่า ค่ามาตรฐานสากลที่กำ �หนดไว้เพื่อความปลอดภัยของอาหาร นั่นหมายความว่า หากเราบริโภคพืชผักเหล่านี้ในปริมาณมากหรือต่อเนื่องเป็นเวลานานก็อาจ มีความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ ภาพ 1 ปัจจัยการสะสมทางชีวภาพของโลหะหนักในพืชผักที่เลือกศึกษา คือ มะเชือเทศ (Tomatoes) ต้นหอม (Spring Onion) และผักกาดหอม (Lettuce) (Afriyie et al, 2023) เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ต่ายอยากให้ดูข้อมูลจากกราฟ ปัจจัยการสะสมทางชีวภาพ (Bioaccumulation Factor) ของโลหะหนัก ในพืชผักบางชนิด (ภาพ 1) กราฟนี้แสดงให้เห็นว่าพืชผักแต่ละชนิด (มะเขือเทศ ต้นหอม ผักกาดหอม) มีแนวโน้มสะสมโลหะหนักชนิดต่างๆ (แคดเมียม สารหนู ตะกั่ว ปรอท) ได้มากน้อยเพียงใด โดยเปรียบเทียบ ระหว่างพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ (Impacted) และพื้นที่ควบคุม (Control)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5