นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254

ปีที่ 53 ฉบับที่ 254 พฤษภาคม - มิถุนายน 2568 | 7 ภาพ 2 การเลือกค่าต่าง ๆ ในสื่อฯ เรื่อง พื้นเอียง เพื่อศึกษาการทำ �งานของพื้นเอียง ขั้นสอน (เวลาประมาณ 90 นาที) ครูแจกเอกสารกิจกรรมและแบบบันทึกกิจกรรมที่ 1 แล้วชี้แจงจุดประสงค์กิจกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรม เอกสารและวัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ 1 เครื่องกลอย่างง่าย รวมทั้งแนะนำ �การใช้อุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ แท็บเล็ต หรือ คอมพิวเตอร์ ในการเข้าถึงและใช้งานสื่อสถานการณ์จำ �ลองแบบมีปฏิสัมพันธ์ จากนั้นให้นักเรียนทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติภายในระยะเวลาที่กำ �หนด ทั้งนี้ กรณีที่นักเรียนบางคนไม่มีอุปกรณ์หรือมีแต่ไม่สามารถใช้งานได้ดี ให้นักเรียน 2 คนหรือมากกว่าใช้อุปกรณ์ร่วมกัน ให้นักเรียนใช้อุปกรณ์เข้าถึงสื่อฯ โดยอาจเริ่มต้นจากเรื่อง พื้นเอียง (https://bit.ly/3TTfj0e ) ซึ่งก่อนที่จะให้นักเรียนเริ่มทำ �กิจกรรม ด้วยสื่อฯ ครูชี้แจงนักเรียนให้ทราบว่า ตัวอักษร W ตัวเอียงในสื่อฯ คือน้ำ �หนักของวัตถุ และ F คือ แรงที่ใช้จะมีค่าคงที่ตลอดการ ออกแรงและจะแสดงเป็นจำ �นวนเท่าของ W เช่น F = 0.5 W F = 0.7 W เพื่อไม่ให้เกิดความสับสนกับสัญลักษณ์และตัวเลขที่แสดงในสื่อ จากนั้น ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่ระบุในคำ �แนะนำ �การใช้งานของสื่อ ดังนี้ 1. เริ่มจากศึกษาความหมายและสมการในการคำ �นวณการได้เปรียบเชิงกลและประสิทธิภาพของพื้นเอียงจากการกดคำ �ที่มี ตัวอักษรหนาในสื่อฯ จากนั้น เริ่มกิจกรรมโดยเลือกความสูงที่ต้องการยกวัตถุและความยาวของพื้นเอียง เลือกกรณีไม่มีแรงเสียดทาน ระหว่างกล่องกับพื้นเอียงและเลือกไม่แสดงแผนภาพแรง ดังตัวอย่างในภาพ 2 2. กดและเลื่อนปุ่มที่แถบเลื่อนเพื่อผลักกล่องให้เคลื่อนที่ขึ้นไปบนพื้นเอียง สังเกตแรงที่ใช้ผลัก ซึ่งขนาดแรงผลักจะแสดงเป็น จำ �นวนเท่าของน้ำ �หนักกล่อง W เมื่อสุดปลายพื้นเอียง บันทึกขนาดของแรงที่ผลักกล่อง ระยะที่กล่องถูกยกขึ้นในแนวดิ่ง และระยะที่ กล่องเคลื่อนที่บนพื้นเอียง ลงในตารางบันทึกผลกิจกรรมที่ 1 ตอนที่ 1 3. คำ �นวณปริมาณต่างๆ ได้แก่ 3.1 การได้เปรียบเชิงกลของพื้นเอียง ซึ่งหาได้จากน้ำ �หนักของกล่องหารด้วยแรงที่ผลักกล่อง 3.2 งานที่ให้กับพื้นเอียง ซึ่งหาได้จากแรงที่ผลักกล่องคูณด้วยระยะที่กล่องเคลื่อนที่บนพื้นเอียง 3.3 งานที่ได้จากพื้นเอียง ซึ่งหาได้จากน้ำ �หนักของกล่องคูณด้วยระยะที่กล่องถูกยกขึ้นในแนวดิ่ง 3.4 ประสิทธิภาพของพื้นเอียง ซึ่งหาได้จากงานที่ได้จากพื้นเอียง หารด้วย งานที่ให้กับพื้นเอียง แล้วคูณด้วย 100% บันทึกผลการคำ �นวณลงในตารางบันทึกผล

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5