นิตยสาร สสวท. ฉบับที่ 254

ปีที่ 53 ฉบับที่ 254 พฤษภาคม - มิถุนายน 2568 | 9 ภาพ 4 ตัวอย่างหน้าจอแสดงสื่อสถานการณ์จำ �ลองแบบมีปฏิสัมพันธ์ เรื่อง ล้อกับเพลา ภาพ 5 ตัวอย่างหน้าจอแสดงสื่อสถานการณ์จำ �ลองแบบมีปฏิสัมพันธ์ เรื่อง รอก เมื่อนักเรียนทำ �กิจกรรม ตอนที่ 2 - 4 เสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูนำ �นักเรียนอภิปรายแนวคำ �ตอบของคำ �ถามท้ายกิจกรรมตอนที่ 2 - 4 จากนั้นอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปการทำ �งานของเครื่องกลอย่างง่ายตามแนวทางการสรุปต่อไปนี้ สำ �หรับเครื่องกลอย่างง่ายทุกชนิด สามารถอธิบายการทำ �งานของเครื่องกลโดยอาศัยหลักการของงานและหลักการของสมดุล กลได้ โดยการพิจารณาว่าเครื่องกลช่วยผ่อนแรงได้มากหรือน้อย สามารถพิจารณาได้จากการได้เปรียบเชิงกล ซึ่งกรณีไม่มีแรงเสียดทาน จะพิจารณาได้จากลักษณะของเครื่องกลหรืออัตราส่วนระหว่างระยะทางที่ออกแรงกับระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ แต่กรณีที่มีแรงเสียดทาน การพิจารณาการได้เปรียบเชิงกลจะพิจารณาจากอัตราส่วนระหว่างแรงที่ได้จากเครื่องกลกับแรงที่ให้กับเครื่องกลเท่านั้น ส่วนประสิทธิภาพ ของเครื่องกลในกรณีไม่มีแรงเสียดทาน คิดเป็น 100% แต่ถ้ามีแรงเสียดทาน ประสิทธิภาพของเครื่องกลจะลดลง ทั้งนี้ ครูอาจให้ข้อสังเกตว่า เครื่องกลอย่างง่ายช่วยอำ �นวยความสะดวกในการทำ �งาน ซึ่งอาจช่วยผ่อนแรงหรือไม่ผ่อนแรงก็ได้ โดยเครื่องกลอย่างง่ายทุกชนิดไม่ได้ช่วยให้ได้งานเพิ่มขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NzI2NjQ5