Table of Contents Table of Contents
Previous Page  51 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 51 / 62 Next Page
Page Background

51

ปีที่ 46 ฉบับที่ 211 มีนาคม - เมษายน 2561

นายธีรเชษฐ์ โรจน์รัชสมบัติ โรงเรียนเตรียม

อุดมศึกษา เจ้าของเหรียญทอง 1 ใน 14 เหรียญจาก

การแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 14

หรือ iGeo 2017 [International Geography Olympiad]

ณ กรุงเบลเกรด ประเทศเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 2 - 8 สิงหาคม

พ.ศ. 2560 เล่าว่า ภูมิศาสตร์ เป็นการสังเคราะห์หลายศาสตร์

เข้าด้วยกัน เพื่อแก้ปัญหารอบตัว จึงเป็นศาสตร์ที่ตรงกับ

ความถนัดและความสนใจของผมเป็นอย่างยิ่ง ผมมีความตั้งใจ

จะศึกษาวิชาภูมิศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ เช่นสภาวะโลกร้อน

ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ เพื่อพัฒนาชีวิตมนุษย์

อย่างยั่งยืน นักภูมิศาสตร์สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลง

ในโลกนี้ได้

ธีรเชษฐ์ เล่าถึง การจุดประกายความต้องการ

ในการศึกษาภูมิศาสตร์ว่า เริ่มตั้งแต่การเตรียมตัวเพื่อเป็น

ผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ในช่วงนั้น

ได้อ่านหนังสือมาก ได้ดูวีดีโอผ่าน YouTube เพื่อศึกษา

ภูมิศาสตร์ของประเทศต่างๆ การเข้าอบรมภูมิศาสตร์

โอลิมปิก ก็เหมือนได้รื้อฟื้น และจุดประกายความชื่นชอบ

ตั้งแต่วัยเด็กในเรื่อง ภูมิศาสตร์ รวมถึงวัฒนธรรม ของประเทศ

ต่างๆ จากทั่วโลก

นายอริญชย์ วงศ์พร้อมมูล โรงเรียนมหิดล

วิทยานุสรณ์ เจ้าของเหรียญเงินจากการแข่งขันชีววิทยา

โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ประจ�ำปี 2558

ที่เมืองออร์ฮูส

ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12-19 กรกฎาคม พ.ศ.

2558 มีความสามารถในหลายสาขาวิชา ในที่สุดได้ตัดสินใจ

รับทุนโอลิมปิกวิชาการ ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และได้

กล่าวว่า วิชานี้เป็นวิชาแห่งเหตุและผล มีการใช้ทั้งคณิตศาสตร์

และการค�ำนวณเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงเป็นสาขาวิชาที่น่าสนใจ

มาก อีกทั้งบุคลากรในสาขาวิชานี้ก็ยังเป็นที่ต้องการมากด้วย

“เป้าหมายของผม คือ เรียนให้เข้าใจวิชานี้

อย่างลึกซึ้งและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น มีความสุขในการเรียนและ

การฝึกงาน หลังส�ำเร็จการศึกษา จะตั้งใจท�ำงานในสาขา

วิชานี้ อาจจะเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย นักวิจัย นักเขียน

โปรแกรม หรืออาชีพอื่นๆ อย่างผสมผสานกันไป”

ณ ห้องประชุม 1602 ชั้น 6 อาคารอ�ำนวยการ สสวท. โดยมี ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อ�ำนวยการ สสวท. เป็นประธาน

ในงานมีการเสวนาหัวข้อ "ศึกษาต่างประเทศและรับฟังประสบการณ์การศึกษา ณ ต่างประเทศ" โดยรุ่นพี่นักเรียนทุน

และผู้ปกครองร่วมแสดงความยินดีกับผู้รับทุน

การให้ทุนครั้งนี้แยกเป็นสาขาวิชาฟิสิกส์ วิชาเคมี วิชาชีววิทยา วิชาคณิตศาสตร์ วิชาธรณีวิทยา วิชาคอมพิวเตอร์

วิชาภูมิศาสตร์ วิชาดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ รวมจ�ำนวน 15 ทุน

ในการเข้าสู่เส้นทางการเป็นนักเรียนทุนนั้น ผู้รับทุนต้องเผชิญกับความท้าทายทางวิชาการที่รออยู่ แต่พวกเขาทุกคน

มีความมุ่งมั่นในความฝัน เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยแถวหน้าของไทย และของโลกหลังจากที่ส�ำเร็จ

การศึกษา