

47
ปีที่ 46 ฉบับที่ 211 มีนาคม - เมษายน 2561
จนกระทั่งอายุ 16 ปี บิดาจึงส่ง Huygens ไปเรียน
กฎหมาย และคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Leiden แต่หลังจาก
ที่ Huygens ได้อ่านต�ำรา ชื่อ Principia Philosophiae ของ
Descartes ซึ่งได้เขียนไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบที่เกิด
ขึ้นในธรรมชาติ สามารถอธิบายได้ด้วยกลศาสตร์ Huygens
รู้สึกศรัทธา ชื่นชม และเชื่อมั่นในความคิดของ Descartes มาก
อีกสองปีต่อมา Huygens ได้เดินทางไปเข้าเรียน
วิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Copenhagen ในเดนมาร์ก
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์มากขึ้น ท�ำให้ Huygens ตัดสินใจว่า
จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ตามที่ใจตนต้องการ มิใช่เป็นนักกฎหมาย
ตามที่บิดาปรารถนา ดังนั้นเมื่อกลับถึงบ้านเกิดก็ได้เริ่มศึกษา
ดาราศาสตร์ทันที เพราะเมื่อ 50 ปีก่อนนั้น Hans Lippershey
ได้ประดิษฐ์กล้องส่องทางไกลขึ้นเป็นครั้งแรก และGalileoGalilei
ได้ดัดแปลงกล้องส่องทางไกลนั้นเป็นกล้องโทรทรรศน์ ท�ำให้เขา
สามารถปฏิรูปดาราศาสตร์ได้อย่างมโหฬาร Huygens จึงมี
ความประสงค์จะสร้างกล้องโทรทรรศน์ของตนเองบ้าง
และได้พยายามฝึกวิธีฝนเลนส์ด้วยตนเอง ตามกระแสนิยม
ของผู้คนในยุคนั้น เพื่อสร้างกล้องโทรทรรศน์ส�ำหรับใช้ดูดาว
บนฟ้าให้เห็นชัด จนในที่สุดก็ประสบความส�ำเร็จในการสร้าง
กล้องโทรทรรศน์ที่มีอ�ำนาจในการแยกภาพได้ดี เพราะสามารถ
เห็นรายละเอียดของดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้โลก ได้ดีกว่า
กล้องโทรทรรศน์ของคนอื่นๆ ทั้งหลายในเวลานั้น
เมื่ออายุ 30 ปี Huygens เป็นนักดาราศาสตร์คนแรก
ที่เห็น Titan ซึ่งเป็นดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของ
ดาวเสาร์และพบว่า ดาวเสาร์ที่Galileo เคยเห็นว่ามีลักษณะไม่กลม
เหมือนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ เพราะมีรูปร่างไม่เหมือนเดิม
ตามวันเวลาที่สังเกต เช่น บางครั้งมีดาวขนาดเล็กสองดวง
โคจรอยู่ข้างๆ เสมือนว่า มี “หู” แต่ในบางวันหูทั้งสองข้าง
ก็หายไป เสมือนว่าดาวเสาร์ได้ “กลืนกิน” ดาวบริวารทั้ง
สองดวง ซึ่งก็ตรงตามเรื่องเล่าในเทพนิยายที่ยักษ์ Cronus
ซึ่งเป็นเทพเจ้าประจ�ำดาวเสาร์ กินลูกของตนเอง
ในที่สุดกล้องโทรทรรศน์ที่ Huygens สร้าง ก็ได้
ช่วยให้เขาประจักษ์ว่า โดยแท้จริงแล้วดาวเสาร์มีวงแหวน
ล้อมรอบ และการที่เราเห็นดาวเสาร์มีรูปร่างแปลกๆ เพราะ
ระนาบของวงแหวนเอียงท�ำมุมต่างๆ กับระดับสายตา เช่น
ถ้าระนาบวงแหวนอยู่ในแนวเดียวกับระดับสายตา วงแหวน
ก็จะไม่ปรากฏ แล้ว Huygens ก็ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับการ
ค้นพบนี้เป็น Anagram (คือ ค�ำที่เกิดจากการสลับอักษร
จนใครก็อ่านไม่เข้าใจ) ทั้งนี้เพราะ Huygens ไม่ต้องการให้ใคร
ร่วมรู้เรื่องที่ตนพบ
อีก 3 ปีต่อมา Huygens ได้เห็น เนบูลานายพราน
(Orion nebula) และดาวฤกษ์ 3 ดวง ในกลุ่มดาวนายพราน
ที่ปัจจุบันมีชื่อว่า Alnitak, Alniham กับ Mintaka และยังได้
วาดภาพผิวของดาวอังคารอย่างหยาบๆ รวมถึงได้พยายาม
วัดรัศมี และเวลาที่ดาวอังคารใช้ในการหมุนรอบตัวเองด้วย
ในปีค.ศ. 1661 Huygens ได้เดินทางไปลอนดอน
เพื่อพบปะสนทนากับบรรดานักวิทยาศาสตร์อังกฤษที่มี
ชื่อเสียง เช่น Robert Boyle, Robert Hooke และรู้สึกประทับใจ
ในผลงานของ Boyle ที่ใช้ปั๊มสุญญากาศในการพบกฎของ
Boyle รวมถึงได้ชมนาฬิกาของ Hooke ที่ท�ำงานด้วยสปริง
ภาพ 2
กล้องโทรทรรศน์ที่ Huygens สร้าง
ที่มา
http://www.hofwijck.nl/en/christiaan-huygensภาพ 1
ซ้าย - ภาพดาวเสาร์ ขวา- ภาพดวงจันทร์ Titan
ที่มา
http://giantsofscience.weebly.com/christiaan-huygens.html