Table of Contents Table of Contents
Previous Page  48 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 48 / 62 Next Page
Page Background

48

นิตยสาร สสวท

แต่ Huygens ได้พบว่านาฬิกานั้นยังเดินได้ไม่เที่ยงตรง จึงสนใจ

จะสร้างนาฬิกาที่เดินได้เที่ยงตรงกว่า ส่วนนาฬิกาลูกตุ้ม

(Pendulum) ที่นิยมใช้กันในเวลานั้น ก็เดินได้ไม่เที่ยงตรงเช่นกัน

เพราะลูกตุ้มรัศมี (จึงมิได้เป็นอนุภาค) ดังนั้นการค�ำนวณคาบจึง

ต้องค�ำนึงถึงรูปทรงของลูกตุ้มด้วย ด้านเชือกที่ใช้แขวนลูกตุ้ม

ก็มีสมบัติยืดหยุ่น คือหดเข้า และยืดออกได้ ท�ำให้ความยาว

ของเพนดูลัมเวลาแกว่งไปมาไม่คงตัว อากาศซึ่งเป็นตัวกลาง

ให้ลูกตุ้มเคลื่อนที่ผ่านไปมาก็มีความหนืด (คือมีแรงต้าน)

อุณหภูมิของอากาศแวดล้อมก็ไม่คงตัว สาเหตุเหล่านี้ท�ำให้

นาฬิกาในยุคนั้นแต่ละเรือนเดินไม่ตรงกันเลย คนออกแบบ

นาฬิกาจึงก�ำหนดให้มีเข็มชั่วโมงเพียงเข็มเดียวบนหน้าปัด

หลังจากนั้น Huygens ก็ได้ดัดแปลงสปริงของ Hooke เป็นแบบ

สปริงเกลียว ท�ำให้นาฬิกาที่เขาสร้างสามารถเดินได้เที่ยงตรงขึ้น

จนสามารถใช้หาต�ำแหน่งของเมืองต่างๆ บนเส้นแวงได้

โดยให้เรือเดินทะเลน�ำนาฬิกาที่ Huygens สร้างติดไปบนเรือ

ในการเดินทาง นาฬิกาของ Huygens จึงมีส่วนในการเปิดยุค

การส�ำรวจโลกและยุคล่าอาณานิคมอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อมีชื่อเสียงโด่งดัง ในปี ค.ศ. 1664 สมเด็จพระเจ้า

Louis ที่ 14 จึงเชิญ Huygens ไปเป็นสมาชิกของสถาบัน

Académie des Sciences ที่ปารีส โดยให้เป็นหัวหน้ากลุ่ม

วิจัยวิทยาศาสตร์ และขณะด�ำรงต�ำแหน่งนักวิทยาศาสตร์

แห่งราชส�ำนักนี้เองที่ Huygens ได้พบกฎการทรงโมเมนตัม

ซึ่งมีใจความว่า ในการชนกันระหว่างอนุภาคสองอนุภาค

โมเมนตัมเชิงเส้นของอนุภาคทั้งสองจะไม่เปลี่ยนแปลง

นั่นหมายความว่า โมเมนตัมเชิงเส้นของระบบก่อนการชน

กับโมเมนตัมเชิงเส้นทั้งหมดหลังการชนจะเท่ากันเสมอ

นอกจากจะพบองค์ความรู้นี้แล้ว Huygens ยังได้พบ

อีกว่า เวลาอนุภาคเคลื่อนที่เป็นวงกลม ทิศการเคลื่อนที่ของ

อนุภาคมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น อนุภาคจะมี

ความเร่ง และความเร่งนี้นอกจากจะมีทิศเข้าสู่จุดศูนย์กลาง

ของวงกลมแล้ว ยังเป็นปฏิภาคโดยตรงกับค่า v

2

/r เมื่อ v

คืออัตราเร็วของอนุภาค และ r คือ รัศมีของวงกลม

การค้นพบนี้ช่วยเสริมความถูกต้องของกฎแรงโน้มถ่วงของ

Newton ซึ่งแถลงว่า แรงดึงดูดระหว่างมวลเป็นปฏิภาคผกผันกับ

ระยะห่างระหว่างอนุภาคยกก�ำลังสอง และเป็นปฏิภาคตรงกับ

ผลคูณระหว่างมวลทั้งสองนั้น

ลุถึงปี ค.ศ. 1672 เมื่อแม่ทัพฝรั่งเศสกรีฑาทัพ

บุกเนเธอร์แลนด์ Huygens ซึ่งเป็นชาวเนเธอร์แลนด์ผู้ก�ำลัง

ท�ำงานถวายสมเด็จพระเจ้า Louis ที่ 14 จึงตกที่นั่งล�ำบาก

แต่ยังท�ำงานต่อไป โดยได้สร้างนาฬิกาเรือนใหม่ที่ท�ำงาน

เที่ยงตรงมาก ถวายแด่สมเด็จพระเจ้า Louis ที่ 14

เมื่ออายุ 56 ปี Huygens ต้องเดินทางกลับ

เนเธอร์แลนด์ เพราะเริ่มมีสุขภาพไม่ดี คือปวดศีรษะบ่อย

และทุกครั้งที่ล้มป่วย ความสามารถในการท�ำวิจัยจะลดลง

นอกจากนี้ก็ยังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าด้วย เมื่อหายป่วยดีแล้ว

และสุขภาพดีขึ้น Huygens ได้พยายามสร้างกล้องโทรทรรศน์

ขนาดใหญ่ที่มีเลนส์ซึ่งมีความยาวโฟกัส 65 เมตร และได้

ออกแบบเลนส์ใกล้ตา (Eyepiece) ที่ช่วยในการมองกล้อง

เลนส์นี้จึงมีชื่อว่า Huygens eyepiece

อีก 3 ปีต่อมา Huygens ได้เสนอผลงานที่ส�ำคัญ

ที่สุดในชีวิต เป็นทฤษฎีฟิสิกส์ที่แถลงว่า แสงเป็นคลื่นที่

เคลื่อนที่ไปใน Ether เหมือนคลื่นเสียงที่เคลื่อนที่ในอากาศ

และคลื่นน�้ำที่เคลื่อนที่ในน�้ำ ทฤษฎีคลื่นของ Huygens ไม่ได้

รับการสนับสนุนจากนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ เพราะขัดแย้ง

ภาพ 3

Experimental setup of Huygens synchronization of two clocks

ที่มา

https://en.wikipedia.org/wiki/Christiaan_Huygens