Table of Contents Table of Contents
Previous Page  59 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 59 / 62 Next Page
Page Background

59

ปีที่ 46 ฉบับที่ 211 มีนาคม - เมษายน 2561

ต่าย แสนซน

Nelson Mandela ได้กล่าวไว้ว่า

"การศึกษาคืออาวุธที่มีพลังมากที่สุดในการเปลี่ยนแปลงโลก"

แต่ถ้าคุณไม่อยากให้สังคมเปลี่ยน ไม่อยากให้โลกเปลี่ยน

ก็ไม่ต้องให้การศึกษากับคนเหล่านั้น

ค�ำถาม

ฉบับที่

211

เฉลยค�ำถาม

ฉบับที่

209

ที่ต่ายให้คุณลองส�ำรวจหาชนิดของอาหารในร้าน

สะดวกซื้อ ที่ไม่คิดว่าจะต้องใส่สารกันบูดมา 5 ชนิด และให้ดู

ด้านหลังซองด้วยว่าเขาใส่สารกันบูดชื่ออะไรบ้าง ค�ำตอบก็คือ

กรดอินทรีย์ (กรดเบนโซอิก กรดอะซิตริก กรดซอร์บิก พาราเบน)

ใช้ กับอาหารที่มีรสเปรี้ยว เช่น น�้ำผลไม้ แยม และเยลลี่

ส่วนซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มักใช้ในผลไม้อบแห้ง ไวน์ น�้ำหวาน

เครื่องดื่มต่างๆ ถ้าเติมลงในอาหารที่มีน�้ำจะละลายเกิดเป็นกรด

ซัลฟูริก ช่วยยับยั้งและท�ำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้ดี และในฉบับนี้

ไม่มีผู้ที่ตอบค�ำถามและได้รางวัลนะจ๊ะ

จากเรื่องที่เล่ามา ต่ายขอถามสั้นๆ ว่า กฎหมายยอม

ให้ทดลองและเลี้ยงตัวอ่อนมนุษย์ได้ไม่เกินกี่วัน ต่ายเชื่อว่าคุณ

สามารถค้นหาข้อมูลนี้ได้จากอินเทอร์เน็ตอย่างแน่นอน เมื่อคุณ

หาค�ำตอบได้แล้ว สามารถส่งค�ำตอบมารับของรางวัลจาก สสวท.

ได้ที่

funny_rabbit@live.co.uk

ภายในวันที่

2 กรกฎาคม

พ.ศ. 2561 โดยต้องใส่ที่อยู่ที่จะให้จัดส่งของรางวัลของคุณมาให้

เรียบร้อย

และถ้าคุณอยากให้ต่าย ส่งสื่อเล็กๆ น้อยๆ จาก สสวท.

ไปให้โรงเรียนเพิ่มเติม นอกเหนือจากของรางวัลที่คุณจะได้รับ

แล้วละก็ ต่ายรบกวนคุณช่วยเขียนชื่อโรงเรียนที่คุณอยากให้ต่าย

ส่งของไปให้มาให้ด้วย เพื่อที่โรงเรียนจะได้น�ำไปใช้ในการเรียน

การสอนได้ ส�ำหรับเฉลยอ่านได้ในอีก 2 ฉบับหน้า คือฉบับที่ 213 จ้า

ความสนุกยังคงด�ำเนินต่อไป เมื่อปีที่แล้ว (ค.ศ. 2017)

ทีมวิจัยจาก University of Cambridge's Gurdon Institute, UK

ก็ประกาศว่าพวกเขาสามารถเลี้ยงตัวอ่อน (ที่ได้จากเซลล์ผิวหนัง

ที่ได้รับการเหนี่ยวน�ำให้เป็นสเปิร์มและไข่) ในห้องทดลอง

โดยไม่ต้องย้ายฝากตัวอ่อนใส่ในมดลูก จนกระทั่งตัวอ่อน

มีอายุได้ 4 สัปดาห์ส�ำเร็จแล้ว เป้าหมายต่อไปคือการทดลอง

เพื่อท�ำให้ตัวอ่อนมีอายุได้ถึง 8 สัปดาห์

ขณะเดียวกัน ทีมวิจัยจาก University of Edinburgh,

UK ก็ได้ทดลองสร้างไข่จากสเต็มเซลล์ชนิดต่างๆ ที่พบใน

รังไข่ เป้าหมายก็เพื่อจะช่วยเหลือผู้หญิงที่เป็นมะเร็ง เพราะ

การรักษามะเร็งจะมีผลกระทบท�ำให้ผู้หญิงเหล่านั้นเป็นหมัน

หรือไม่สามารถมีลูกได้ ดังนั้นหากตรวจพบมะเร็งและ

จะต้องรักษา ก็จะใช้วิธีการผ่าตัดเอารังไข่ออกมาก่อนแล้วน�ำ

เซลล์ต้นก�ำเนิดมาเปลี่ยนให้เป็นไข่เก็บไว้ เมื่อผู้หญิงเหล่านี้

ต้องการจะมีลูกก็จะน�ำมาใช้ในเวลาต่อมา

นอกจากนี้ก็ยังมีการทดลองต่างๆ อีก เช่น การน�ำ

เซลล์ต้นก�ำเนิด 2 เซลล์มาผสมกัน แล้วท�ำให้ได้เซลล์ใหม่

ที่เมื่อเลี้ยงไว้ 4-5 วัน พบว่ามีลักษณะคล้ายกับตัวอ่อน

มนุษย์ที่มีอายุ 2 สัปดาห์ ซึ่งการทดลองนี้เป็นการค้นพบ

โดยบังเอิญขณะที่ท�ำการทดลองในหัวข้อวิจัยอื่นๆ ซึ่งฟังแล้ว

เหมือนจะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ เซลล์

ที่เกิดใหม่นี้ข้ามระยะการฝังตัวในมดลูก แล้วเจริญเป็นเซลล์

ที่มีลักษณะคล้ายตัวอ่อนมนุษย์อายุ 2 สัปดาห์ได้อย่างไร

นี่ถือเป็นการทดลองแรก เพราะที่ผ่านมาไม่มีการทดลองใด

ที่สามารถเลี้ยงตัวอ่อนมนุษย์นอกมดลูกได้

ส�ำหรับการศึกษามดลูกเทียม ขณะนี้ได้มีการ

ทดลองท�ำมดลูกเทียมในแกะ และพบว่าสามารถท�ำให้ลูกแกะ

เจริญและพัฒนาในมดลูกเทียมได้จนมีอายุได้ถึง 4 สัปดาห์

ซึ่งปกติแกะจะใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 23-24 สัปดาห์ ขณะที่

อีกทีมวิจัยก็ก�ำลังศึกษาการท�ำรกเทียม และจากความรู้

ทั้งหมดทั้งมวล เชื่อว่าอีกไม่นาน แนวคิดในการให้ก�ำเนิด

บุตรของมนุษย์จะเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน ปัญหาส�ำคัญ

ส�ำหรับการได้มาซึ่งความรู้และความก้าวหน้าในเรื่องนี้คือ

กฎหมายทางจริยธรรมในการทดลองเกี่ยวกับตัวอ่อนมนุษย์

ที่มา

https://sapparot.co/2017/04/26/premature-baby- artificial-womb-successful-in-animal/