

22
นิตยสาร สสวท.
ท่องโลกแห่งอัจฉริยะ ตอน แอบมอง
ไต้หวัน จะพาท่านย้อนไปพบกับการ
พัฒนาในอดีต ที่ส่งผลให้ปัจจุบันไต้หวัน
เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ประสบความ
สำ
�เร็จในด้านการจัดการเรียนการสอน
ให้กับเด็กอัจฉริยะ ได้รับรู้จุดเปลี่ยน เรื่องราวการเปลี่ยนแปลง
ปัญหา และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนา
อัจฉริยภาพ ซึ่งอาจใช้เป็นแนวทางสู่การพัฒนาเด็กอัจฉริยะใน
ประเทศไทยได้
ไต้หวันเป็นประเทศเล็ก ๆ ที่เป็นเกาะอยู่ทางทิศตะวัน
ออกเฉียงใต้ของประเทศจีน อยู่ทางทิศเหนือของประเทศ
ฟิลิปปินส์ ไต้หวันมีพื้นที่ประมาณ 36,000 ตารางกิโลเมตร
เล็กกว่าไทยประมาณ 14 เท่า มีประชากรประมาณ 23 ล้าน
คน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกลำ
�ดับที่ 51 โดย
มีประชากรที่มีอายุต่ำ
�กว่า 15 ปี ถึง 15 ล้านคน ระบบการ
ศึกษาของไต้หวันขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ มีการศึกษาภาค
บังคับ 9 ปี ตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป จะขยายจนถึงชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยครูผู้สอนจะต้องผ่านการอบรมจาก
วิทยาลัยครูเฉพาะทาง หรือผ่านหลักสูตรครูในมหาวิทยาลัย
(Discover Taiwan, 2013)
เมื่อปี พ.ศ. 2505 ได้มีการจัดตั้งโครงการพัฒนาการเรียน
การสอนของเด็กอัจฉริยะขึ้น และเริ่มมีโครงการทดลองนำ
�ร่อง
ในโรงเรียนอนุบาล ในปี พ.ศ. 2516 มีการพัฒนาเป็นโครงการ
นำ
�ร่องในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ทดลองแยก
ชั้นเรียนของนักเรียนตามความสามารถในการเรียนรู้ (จัดลำ
�ดับ
ตามไอคิว) ศึกษาการพัฒนาทางสติปัญญาและความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ ทั้งนี้กำ
�หนดให้มีครูในชั้นอนุบาล 2 คน และใน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 คน โดยมีนักเรียนห้องละไม่
เกิน 30 คน (Gifted Phoenix, 2013)
แม้ว่าการทดลองไม่บรรลุผลตามที่คาดหวัง แต่ก็ได้รับ
ความสนใจจากประชาชนจำ
�นวนมาก ก่อให้เกิดความต้องการ
ในการสนับสนุนเด็กที่มีพรสวรรค์และมีความสามารถมากขึ้น
ขณะเดียวกันไต้หวันจำ
�เป็นจะต้องปรับปรุงระบบการเรียน
รู้ของเด็กผู้มีความสามารถพิเศษต่อไป พร้อมกับเสริมสร้าง
เจตคติที่ดีของนักเรียนให้เข้าใจแนวคิดของโครงการเสริมสร้าง
ลักษณะความเป็นผู้นำ
� ความคิดสร้างสรรค์ และการมีสภาพจิต
ที่ดี นอกจากนี้จำ
�เป็นต้องมีการพัฒนาหลักสูตรครู คัดเลือกครู
และสร้างเครือข่ายครูสำ
�หรับโครงการอัจฉริยภาพ
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2528 มีการใช้กฎหมายการศึกษาพิเศษ
มุ่งเน้นไปที่การวัดผลและประเมินการศึกษาของนักเรียนที่มี
ความสามารถพิเศษ ขณะเดียวกันก็พบปัญหาเกิดขึ้น ในปี พ.ศ.
2530 ไต้หวันพบว่า มีนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ 3 % จาก
นักเรียนทั้งหมด 3.6 ล้านคน แต่มีเพียง 13 % จาก 3 % แรก
เท่านั้นที่ได้รับการสนับสนุนโดยโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพ
และผู้มีความสามารถพิเศษ ในปี พ.ศ. 2534 พบว่า มีนักเรียน
ผู้มีความสามารถพิเศษเพียง 0.6 % ของนักเรียนทั้งหมดที่ได้
รับการส่งเสริม ประกอบไปด้วย เพศชาย 43 % และ เพศหญิง
57 % เมื่อเวลาผ่านไป 6 ปี พบว่าสัดส่วนของเพศหญิงเพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกัน หลังจากปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา พบว่านักเรียน
ผู้มีความสามารถพิเศษลดลงปีละ 3 % เนื่องจากประชาชน
ส่วนใหญ่ต้องการให้ภาครัฐเปลี่ยนไปมุ่งเน้นพัฒนาการศึกษา
สำ
�หรับเด็กที่มีความบกพร่อง ทำ
�ให้ชะลองานของโครงการ
อัจฉริยภาพออกไป (Gifted Phoenix, 2013)
หลังจากปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา เริ่มมีการศึกษา
กระบวนการคัดเลือกผู้มีความสามารถพิเศษอย่างเป็นระบบ
ขึ้นภายใต้การดำ
�เนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยแบ่ง
นักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ได้แก่ กลุ่มเด็กผู้มีพรสวรรค์ในการเรียน
รู้แต่กำ
�เนิด กลุ่มเด็กที่มีศักยภาพในการเรียนรู้สูง กลุ่มเด็กที่
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สูง กลุ่มเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนสูง ซึ่งจะต้องผ่านการคัดเลือกเฉพาะ โดยใช้วิธีการสังเกต
จากครูในโรงเรียน ร่วมกับผลการเรียน ผลทดสอบทางปัญญา
ซึ่งแบบทดสอบมีหลายแบบและการสอบจะจัดขึ้นในโรงเรียน
ภายใต้คำ
�แนะนำ
�ของมหาวิทยาลัย โดยเกณฑ์การคัดเลือก
พื้นฐานได้แก่ เด็กที่มีไอคิวมากกว่า 130 ขึ้นไป และเด็กที่ผ่าน
การคัดเลือกจะเข้าสู่ห้องเรียนพิเศษ (Wu, 1989)
ส่วนหนึ่งของปัญหาที่พบจากโครงการนี้คือ ผู้ปกครอง
มีความกังวลว่าบุตรหลานอาจประสบปัญหาในการสอบเข้า
ระดับมหาวิทยาลัย และเชื่อว่า การสอนที่เน้นกระบวนการคิด
และกิจกรรมเสริมทักษะต่าง ๆ ไม่มีความจำ
�เป็นต่อการสอบ
เข้ามหาวิทยาลัยของเด็ก แนวคิดนี้เป็นอุปสรรคต่อครูผู้สอน
ที่จะพัฒนาและส่งเสริมเด็กด้วยวิธีการสอนแบบสร้างสรรค์