

นิตยสาร สสวท.
34
ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนของสิงคโปร์เต็มใจใน
การมีส่วนร่วมช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม จึงน�
ำมาสู่กิจกรรมดี ๆ
มากมายที่ช่วยส่งเสริมและปลูกฝังให้เยาวชนของชาติช่วยกัน
ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่ง
กิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจ คือ การจัดค่ายสิ่งแวดล้อมส�
ำหรับ
เยาวชนทั่วภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ที่ชื่อว่า
“STEP-NUS SUN-
BURST ENVIRONMENT PROGRAMME”
“STEP-NUS SUNBURST ENVIRONMENT PRO-
GRAMME”
เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดย Singapore Technologies
Endowment Programme (STEP) จัดเป็นครั้งแรกใน
ปี พ.ศ. 2556 ส�
ำหรับเยาวชนอายุ 13-15 ปี จากประเทศ
ต่าง ๆ ในอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย บรูไน กัมพูชา อินเดีย
ฟิลิปปินส์ ลาว และเวียดนาม ให้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมนี้ โดย
ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ ให้เยาวชน
ได้มีโอกาสเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเข้ าใจ
สิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความตระหนักและดูแล
สิ่งแวดล้อมในอนาคตต่อไป
ค่ายสิ่งแวดล้อมส�
ำหรับเยาวชนนี้มีกิจกรรมที่หลากหลาย
และน่าสนใจทางด้านวิชาการ บันเทิง และการลงมือปฏิบัติจริง
ทั้งการบรรยายให้ความรู้ การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด
เห็นกับนักวิทยาศาสตร์ เฉพาะทางด้ านสิ่งแวดล้ อมจาก
หลายประเทศ การทัศนศึกษานอกสถานที่ การเรียนรู้โดยปฏิบัติ
จริงด้วยตนเอง (Hands on) และการน�
ำเสนองานวิจัยและ
บทความทางด้านสิ่งแวดล้อม กิจกรรมดี ๆ แบบนี้ มีอะไรบ้าง
และหากน้อง ๆ สนใจจะเข้าร่วมต้องท�
ำอย่างไรกันบ้าง ตามมา
อ่านกันต่อเลยได้
กิจกรรมในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นปีที่สองของการจัดค่าย มี
การบรรยายพิเศษที่ให้ความส�
ำคัญในเรื่องความหลากหลาย
ทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ และการเตรียมตัวเป็น
นักอนุรักษ์น้อย ได้แก่
1. Naming Biodiversity – The Importance of Taxonomy
to Environmental Science Biodiversity Conservation of
Singapore โดย Dr. Dennis Gordon, National Institute of
Water and Atmospheric Research, New Zealand ซึ่งให้
ความรู้เกี่ยวกับความส�
ำคัญของอนุกรมวิธาน และหลักการเรียก
ชื่อวิทยาศาสตร์
2. Biodiversity Conservation of Singapore โดย Lena
Chan, National Biodiversity Centre, National Parks
Board, Singapore ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทาง
ชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ และการเป็นเมือง City in a Garden ของ
ประเทศสิงคโปร์
3. Contemporary Challenges to the Southeast Asian
Marine Environment and Resources โดย Prof. Emeritus
Edgardo Gomez, Marine Science Institute, University
of Philippines ซึ่งให้ความรู้ เกี่ยวกับงานวิจัยเรื่องความ
หลากหลายของหอยมือเสือ (Giant Crab) ที่บ่งชี้คุณภาพน�้
ำ
ในประเทศสิงคโปร์
4. Letters to a Young Conservationist in Southeast
Asia โดย Dr. Reuben Clements, Kenyir Research Institute,
University Malaysia ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนอยาก
เป็ นนักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งแนะน�
ำแนวทางการ เป็ น
นักวิทยาศาสตร์ที่ดี
นอกจากนี้ น้อง ๆ ยังได้แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับ
นักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก
(Climate change) ความหลากหลายทางชีวภาพ/ปะการัง
(Biodiversity/ Coral Reefs) สารเคมี และสิ่งแวดล้อม
(Chemicals and the Environment) การสร้างจิตส�
ำนึกด้าน
สิ่งแวดล้อม (Environmental Awareness Activism) และ
การเป็นเมืองที่ยั่งยืน (Sustainable Cities)
บรรยายพิเศษและแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกับ
นักวิทยาศาสตร์
สร้างภูมิทัศน์ และเพิ่มความสามารถ
อุตสาหกรรม พืชสวน
เพิ่มการมีส่วนร่วม และสร้าง
แรงบันดาลใจแก่ชุมชนในการร่วมสร้าง
พื้นที่สีเขียวและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมิ
ต