Previous Page  40 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 40 / 62 Next Page
Page Background

นิตยสาร สสวท.

40

ศาสตราจารย์ ดร. ประสาท สืบค้ า อธิการบดี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)

กล่ าวว่ า งาน

วทร.22 ครั้งนี้ จัดขึ้นในเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากคะแนน

การสอบ O-NET และ GAT PAT พบว่า วิชาส่วนใหญ่ที่นักเรียน

ได้คะแนนเฉลี่ยต�่

ำมาก ก็คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อาจ

รวมไปถึงเทคโนโลยี ฉะนั้น การที่เราจะปฏิรูปหรือพัฒนา

การศึกษาให้ดีขึ้น หัวใจส�

ำคัญที่สุดก็คือครู การที่ครูหรือ

บุคลากรทางการศึกษาได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ได้มารับฟังแนวคิดของอาจารย์ผู้มีประสบการณ์หรือผู้ทรง

คุณวุฒิในงานนี้ จึงเป็นโอกาสดี และกระตุ้นให้ครูเข้าใจว่า

กา รสอนที่จะบูรณากา รทั้ง วิทยาศาสตร์ เ ทค โ น โ ลยี

วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์เข้าด้วยกันจะต้องท�

ำอย่างไร

มทส. นั้นเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นทางวิทยาศาสตร์และ

เทคโนโลยี เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐบาล เป็นหนึ่งในเก้า

มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ เป็นสถาบันคู่เคียงสังคม ได้เชื่อมโยง

การสอนกับโรงเรียนในท้องถิ่น เช่น โครงการสนับสนุนการจัดตั้ง

ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (วมว.) โดย กระทรวง

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นองค์กรหลัก ร่วมกับส�

ำนักงาน

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา และวิทยาลัยอาชีวศึกษา เรามี

ศูนย์เครื่องมือขนาดใหญ่ มีเครื่องเจาะ เครื่องกลึง ถ้าครูอาจารย์

ในโรงเรียนในส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมาต้องการจะผลิต

อุปกรณ์การสอนที่ต้องใช้เครื่องเจาะ ใช้สว่าน เครื่องเชื่อม ให้มา

ที่ มทส. นี่คือบทบาทหนึ่งของทางมหาวิทยาลัยในการส่งเสริม

การศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ ดร. มนตรี จุฬาวัฒนฑล

ประธานกรรมการ สสวท.

บรรยายพิเศษ หัวข้อ “แผน 5 ปีสะ

เต็มศึกษาไทยที่ทุกคนท�

ำได้” และ

ดร.พรพรรณ ไวทยางกูร

ผู้อ�

ำนวยการ สสวท.

บรรยายพิเศษ หัวข้อ “แนวทางขับเคลื่อน

สะเต็มศึกษาในโรงเรียนของไทย” สรุปได้ว่า สิ่งที่ สสวท. ได้

ด�

ำเนินการไปแล้ว คือ การจัดตั้งศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติและ

ศูนย์ภูมิภาค การพัฒนาระบบ Learning Space สื่อการสอน

กิจกรรมการเรียนการสอน การวางเครือข่ายมหาวิทยาลัย

ผู้เชี่ยวชาญ และทูตสะเต็ม ส�

ำหรับสิ่งที่จะด�

ำเนินการระหว่างปี

พ.ศ. 2558- 2562 ก็คือ ระบบ สะเต็มศึกษา ประกอบด้วย

การพัฒนาระบบบริหารและปฏิบัติการสะเต็มศึกษา พัฒนาแนว

ปฏิบัติสะเต็มศึกษา พร้อมทั้งน�

ำแนวปฏิบัติสะเต็มศึกษาไปใช้ใน

โรงเรียน พัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สะเต็มศึกษาขยาย

โรงเรียนสะเต็มศึกษาในทุกสังกัด รวมทั้งพัฒนาครูสะเต็มศึกษา

และครูวิชาชีพ

ผู้อ�

ำนวยการ สสวท. อธิบายว่า สะเต็มศึกษา ไม่ใช่สิ่งใหม่

แต่เป็นกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ ส่วนใหญ่อยู่ใน

รูปแบบของโครงงาน และมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น Project

Based Learning, Problem Based Learning, Work Based

Learning , Service Based Learning และอื่นๆ ซึ่งไม่จ�

ำเป็น

ต้องเกิดขึ้นในระบบโรงเรียนเท่านั้น สามารถเกิดขึ้นกับกลุ่มงาน

อาชีพ หรืออีกหลายกลุ่ม สะเต็มศึกษาเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วย

พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี และ

เชื่อมโยงกับอาชีพได้ อีกทั้งเป็นกระบวนการที่จะช่วยยกระดับ

สมรรถนะของเด็กไทยในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาด้วย

กิจกรรมต่าง ๆ ภายในงาน วทร. 22 มีทั้งการบรรยายทาง

วิชาการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ คลินิกวิชาการ การสาธิต

กิจกรรมวิทยาศาสตร์ การน�

ำเสนอผลงานด้วยวาจาและด้วย

โปสเตอร์ และนิทรรศการต่าง ๆ ล้วนแต่ชูประเด็นเกี่ยวกับ

สะเต็มศึกษา โดยมีการน�

ำองค์ความรู้ในการจัดเรียนรู้สะเต็ม

ศึกษาในโรงเรียน สื่อการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา และ

สิ่งน่าสนใจต่าง ๆ มาร่วมน�

ำเสนอจ�

ำนวนมาก และผู้มาร่วมงาน

ต่างให้ความสนใจกันอย่างเต็มที่

เป็นที่น่ายินดีว่ากิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึง

ความตื่นตัวของสถานศึกษาในการน�

ำสะเต็มศึกษาไปใช้ และ

ครูจ�

ำนวนมากได้จัดการเรียนรู้ในรูปแบบสะเต็มศึกษามาก่อน

แล้ว โดยบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับศาสตร์อื่น ๆ

ตั้งแต่ยังไม่ได้ใช้ค�

ำว่าสะเต็มศึกษาในประเทศไทย ตัวอย่างเช่น

“ในการพัฒนาประเทศ คนไทยจะต้องมีความเข้าใจวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นฐานความรู้ส�

ำหรับการด�

ำรงชีวิตประจ�

ำวัน

สร้างสังคมให้มีเหตุผล มีการคิดวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา และมีการใช้ความรู้ต่อยอดไปเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ

ยกตัวอย่างเช่น เราจะแปรรูปวัตถุดิบทางการเกษตร หากมีความรู้ทาง STEM แทนที่จะผลิตแต่แป้งขายอย่างเดียว อาจจะ

น�

ำไปท�

ำแอลกอฮอล์ น�

ำไปท�

ำเป็นโพลิเมอร์ หรือเปลี่ยนรูปเป็นสารเคมีออกฤทธิ์ นี่คือตัวอย่างที่ STEM สามารถไปช่วย

พัฒนาเศรษฐกิจได้”