

41
ปีที่ 43 ฉบับที่ 193 มีนาคม - เมษายน 2558
นางสมปอง ตรุวรรณ์ ครูโรงเรียนนารีนุกูล
จังหวัด
อุบลราชธานี น�
ำเสนอแนวการจัดการเรียนการสอนในแนวทาง
STEM หรือการจัดการเรียนการสอนที่มีการบูรณาการ
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
ในรายวิชาการออกแบบเทคโนโลยี และวิชาเทคโนโลยี
สารสนเทศ ที่นักเรียนได้พัฒนาความคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ
จนเกิดชิ้นงาน โครงงาน หรือการวิจัย เช่น โครงงานหุ่นยนต์
พลีชีพกู้ระเบิด โครงงานเก้าอี้อัจฉริยะช่วยคนพิการหรือคนชรา
โครงงานหุ่นยนต์ท�
ำงานแทนมนุษย์ รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียน
น�
ำเสนอผลงานวิชาการหรือเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ
เทคโนโลยี
นางชวนชื่น มลิลา ครูโรงเรียนชุมแพศึกษา
จังหวัด
ขอนแก่น บอกเล่าเรื่องราวการจัดการเรียนการสอนในแนวทาง
สะเต็มศึกษา ในวิชาเคมี โดยใช้วิธีสอดแทรก STEM ในเนื้อหา
โดยฝึกให้นักเรียนเชื่อมโยงเนื้อหากับสิ่งเกิดขึ้นจริงในสังคม
ร ว มทั้ ง ชี้ ใ ห้ เ ห็นถึ ง ก า ร บู รณา ก า ร ส ะ เ ต็มศึกษ า ผ่ า น
การเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ตัวอย่างโครงงานของนักเรียน
เช่น การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากเมล็ดน้อยหน่า
และเปลือกมะขามป้อมต่อระยะเวลาการตายของหอยเชอรี่
การดูดซับสีย้อมผ้าโดยใช้เปลือกไข่ อินดิเคเตอร์จากข้าว
เหนียวด�
ำ และโครงงานสาหร่ายสายใยกระดาษ
“จะเห็นได้ ว่ าสิ่งที่นักเรียนได้ รับจากการเรียนรู้ ตาม
แนวทางสะเต็มศึกษา คือ นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ คิดค้น
สิ่งใหม่ได้จากการใช้ความรู้แบบบูรณาการหลายวิชา มีทักษะ
ในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล และ
สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นผู้มี
ความคิดอย่างมีวิจารณญานในการเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหา
การออกแบบและด�
ำเนินการ ช่วยเหลือกันท�
ำงาน สามารถ
สื่อสารสิ่งที่ค้ นพบต่ อชุมชน มีความรับผิดชอบและร่ วม
แก้ปัญหาในฐานะที่เป็นสมาชิกของคนในชุมชน ซึ่งคุณสมบัติ
นี้จะส่งผลให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตที่ดีในอนาคต” นางชวนชื่นกล่าว
โดยสรุปแล้ว นับว่า งาน วทร. 22 ครั้งนี้ ได้ช่วยเปิด
โลกทัศน์ด้านสะเต็มศึกษาให้ครู บุคลากรทางการศึกษา และ
ผู้ร่วมงาน ให้ได้ เห็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน
ด้านสะเต็มศึกษามากขึ้น ได้ เห็นตัวอย่างผลงานเด่นด้าน
สื่อการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนรู้ด้านสะเต็มศึกษา
รวมทั้งตัวอย่างของการน�
ำสะเต็มศึกษาไปใช้จริงในชั้นเรียน ใน
โรงเรียนต่าง ๆ จากเพื่อนครูที่มีประสบการณ์มาก่อนแล้ว
รวมทั้งความรู้และแนวทางในการพัฒนาการเรียนรู้ส่วนอื่น ๆ
อาทิ การวัดผลประเมินผล การท�
ำวิจัยในชั้นเรียน ระบบ
การศึกษาออนไลน์แบบต่าง ๆ เป็นต้น
ท้ายสุดองค์ความรู้ที่ได้รับจากงานนี้ หากมีการน�
ำไปใช้และ
พัฒนาต่อยอด พร้อมทั้งร่วมมือกันท�
ำงานเป็นเครือข่ายอย่าง
เข้มแข็งทุกภาคส่วน ก็จะน�
ำไปสู่การยกระดับการศึกษาด้าน
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศไทยใน
ที่สุด
ในอีก 2 ปีข้างหน้า ขอเชิญพบกับงาน วทร. 23 ที่
มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา และโปรดติดตามกันต่อไป
ว่าอนาคตข้างหน้านั้นสะเต็มศึกษาจะมีการพัฒนาต่อยอด หรือ
ส่งผลอย่างไรในวงการศึกษาไทย
สแกนโค้ดนี้เพื่อ
ชมภาพเคลื่อนไหว