

47
ปีที่ 43 ฉบับที่ 193 มีนาคม - เมษายน 2558 ี
ที่ ั
บี่ ี
น
1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม
(Industrial Property)
หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้า
อุตสาหกรรมต่าง ๆ ความคิดสร้างสรรค์นี้อาจเป็นความคิด
ในการประดิษฐ์คิดค้นซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคใน
การผลิตที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์
ทางอุตสาหกรรมนอกจากนี้ยังรวมเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ
ชื่อและถิ่นทางการค้าตลอดจนแหล่งก�
ำเนิดสินค้าทรัพย์ สิน
ทางอุตสาหกรรม สามารถแบ่ งออกได้ดังนี้ คือ
1.1 สิทธิบัตร (Patent)
1.2 เครื่องหมายการค้า (Trademark)
1.3 แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Designs of
Integrated Circuit)
1.4 ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
1.5 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)
2. ลิขสิทธิ์ (Copyright)
หมายถึง ผลงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ประเภทต่าง ๆ เช่น วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม
โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
และงานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ และแผนก
ศิลปะ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระท�
ำ
การใด ๆ กับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ท�
ำขึ้นตามประเภทสิทธิที่
กฏหมายก�
ำหนด ได้แก่ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธี
หรือรูปแบบอย่างใด นอกจากนี้กฎหมายลิขสิทธิ์ยังให้ความคุ้มครอง
ถึงสิทธินักแสดงด้วย
ลิขสิทธิ์
เป็นผลงานที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้
ความสามารถ และความอุตสาหะวิริยะในการสร้างสรรค์งาน
ให้เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็น
“
ทรัพย์สินทางปัญญา
”
ประเภทหนึ่ง
ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงควรได้รับความคุ้มครอง
ตามกฎหมาย
งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์
ประกอบด้วยงานต่าง ๆ ดังนี้
1. งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ ค�
ำปราศรัย
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. งานนาฏกรรม เช่น การร�
ำ ท่าเต้น การแสดงที่ประกอบขึ้น
เป็นเรื่องเป็นราว
3. งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพ
พิมพ์ ภาพถ่าย ภาพประกอบ งานสถาปัตยกรรม งานสร้าง
สรรค์รูปทรงสามมิติ
4. งานดนตรีกรรม เช่น ค�
ำร้อง ท�
ำนอง การเรียบเรียงเสียง
ประสานรวมถึงโน้ตเพลง
5. งานโสตทัศนวัสดุ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย
ภาพและเสียงที่สามารถน�
ำมาเล่นซ�้
ำได้
6. งานภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์
7. งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นบันทึกข้อมูลเสียง
8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงทางวิทยุหรือ
แพร่ภาพและเสียงทางโทรทัศน์
9. งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์
หรือแผนกศิลปะ
การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างสรรค์
ได้สร้างสรรค์ผลงาน
โดยไม่ต้องจดทะเบียน
ดังนั้นเจ้ าของ
ลิขสิทธิ์ต้องปกป้องคุ้มครองสิทธิของตนเอง โดยการเก็บรวบรวม
หลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงว่าได้ท�
ำการสร้างสรรค์ผลงานนั้นขึ้นเพื่อ
ประโยชน์ในการพิสูจน์สิทธิ หรือความเป็นเจ้าของในโอกาสต่อไป
ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์
บุคคลที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้แก่
1. ผู้สร้างสรรค์งาน โดยความคิดริเริ่มของตนเอง ไม่ลอกเลียน
งานของบุคคลอื่นและอาจหมายถึงผู้สร้างสรรค์งานร่วมกัน ด้วย
2. ผู้สร้างสรรค์ในฐานะพนักงานหรือลูกจ้าง
3. ผู้ว่าจ้างในกรณีว่าจ้างให้บุคคลอื่นสร้างสรรค์งาน
4. ผู้ดัดแปลง รวบรวม หรือประกอบกันเข้า โดยได้รับอนุญาต
จากเจ้าของลิขสิทธิ์
5. กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของ
ท้องถิ่น
6. ผู้รับโอนสิทธิ์
การคุ้มครองลิขสิทธิ์
เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระท�
ำการใด ๆ ต่องาน
อันมีลิขสิทธิ์ของตนดังนี้
1. ท�
ำซ�้
ำหรือดัดแปลง
2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน
3. ให้เช่าต้นฉบับหรือส�
ำเนางานโสตทัศนวัสดุภาพยนตร์
สิ่งบันทึกเสียง หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์
4. ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
5. อนุญาตให้ใช้ตาม ข้อ 1, 2 หรือ 3 โดยจะก�
ำหนดเงื่อนไข
อย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ก็ได้ที่ไม่เป็นการจ�
ำกัดการแข่งขัน
โดยไม่เป็นธรรม
อายุการคุ้มครอง
โดยทั่วไป การคุ้มครองลิขสิทธิ์จะมีผลเกิดขึ้นโดยทันที ที่มีการ
สร้างสรรค์ผลงาน ความคุ้มครองนี้จะคุ้มครองตลอดอายุของ
ผู้สร้างสรรค์ และจะคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์
เสียชีวิต แต่มีงานบางประเภทที่มีอายุการคุ้มครองที่แตกต่างกันดังนี้
1. กรณีนิติบุคคลเป็นผู้สร้างสรรค์ ลิขสิทธิ์จะมีอายุ 50 ปี
นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นี
ที่ ั
บี่ ี
น