

นิตยสาร สสวท.
58
สวัสดีคุณ ๆ ผู้อ่านที่รัก ณ เวลาที่ต่ายก�
ำลังเขียนต้นฉบับ
นี้ มีข่าวที่ต่ายเองคิดว่า น่าติดตามและสามารถที่จะน�
ำมา
ใช้เป็นค�
ำถามชวนคิดได้ดีเลยทีเดียว ข่าวนั้นก็คือ ข่าวการ
ระบาดของไวรัสที่มีชื่อว่า MERS Virus หรือชื่อเต็ม ๆ ก็คือ
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus
(MERS-CoV) ซึ่งมีรายงานการติดเชื้อครั้งแรกในเดือน
เมษายน ปี ค.ศ. 2012 ประเทศซาอุดีอาระเบีย และตั้งแต่
วันนั้นจนถึงวันนี้มีผู้ป่ วยด้ วยโรคนี้ตามสถิติขององค์ การ
อนามัยโลก คือ 837 ราย (คุณ ๆ ไม่ต้องแปลกใจหากตัวเลข
นี้คลาดเคลื่อนไป เพราะทุกวันนี้ก็ยังมีผู้ ติดเชื้อเพิ่มอยู่ )
อาการของผู้ป่วยก็คือ จะเป็นไข้ ไอ หายใจถี่ อาจจะมี
อาการปอดบวมร่ วมด้วย และเคยมีรายงานในผู้ป่วยที่มี
อาการท้องเสียร่วมด้วย จากสถิติพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วย
ร้อยละ
38.7
ที่ติดเชื้อนี้จะเสียชีวิต ซึ่งต่ายคิดว่าจากข้อมูล
นี้ท�
ำให้เรายังไม่หมดหวังเสียทีเดียวที่จะมีชีวิตรอดหากเรา
พลาดพลั้งติดโรคนี้มา
จากการศึกษาจีโนมของไวรัสชนิดนี้ท�
ำให้เชื่อว่าในอดีต
ไวรัสชนิดนี้น่าจะมีจุดก�
ำเนิดมาจากค้างคาว และเมื่อเวลา
ผ่านมาก็มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงจนสามารถติดต่อมาที่
อูฐ และติดต่อมาสู่มนุษย์ ส�
ำหรับเส้นทางการติดต่อจาก
สัตว์มาสู่คนนั้น นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถศึกษาจนรู้
และเข้าใจได้ทั้งหมด หลายเรื่องยังคงเป็นปริศนาให้ต้อง
ศึกษากันต่อไป ขณะนี้ผลจากการศึกษาพบว่าสายพันธุ์ของ
MERS Virus ที่พบในคน เหมือนกับที่พบในอูฐที่ประเทศอียิปต์
ประเทศโอมาน ประเทศกาตาร์ และประเทศซาอุดีอาระเบีย
ต่ายเชื่อว่าถ้าประชาคมโลกได้รู้ข้อมูลนี้อย่างแพร่หลาย ก็น่าจะ
ท�
ำให้มีผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวขี่อูฐ ในประเทศ
ที่กล่าวไปแล้วอย่างแน่นอน
ข้อมูลผู้ป่วยและเสียชีวิต (ตัวเลขในวงเล็บ) ในประเทศต่าง ๆ จากการติด
เชื้อไวรัส MERS ตั้งแต่ปี 2012-2015
ที่มา:
http://www.wsj.com/articles/mers-outbreak-lax-quaran-tines-hurt-south-korea-1433832955
“
”
สแกนโค้ดนี้เพื่อ
ชมภาพเคลื่อนไหว