

51
ปีที่ 41 ฉบับที่ 182 พฤษภาคม - มิถุนายน 2556
ในโรงเรียนของสิงคโปร์ มุ่งเน้นให้นักเรียนทุกคนได้พัฒนา
และฝึกทักษะการคิด
แม้แต่เด็กที่คิดว่าเรียนรู้ได้ช้าที่สุดในชั้นเรียนก็สามารถ
คิดได้ ด้วยความเชื่อที่ว่าทุกคนสามารถคิดได้ด้วยตนเอง
สามารถหาข้อผิดพลาดของตนเองได้ การเรียนคณิตศาสตร์ใน
ห้องเรียนจึงไม่ใช่การเรียนด้วยการจำ
�สูตร การทำ
�ตามตัวอย่าง
การทำ
�โจทย์ด้วยวิธีที่ครูบอก แต่เป็นการเรียนรู้และคิดได้ด้วย
ตนเอง ซึ่งนี่คือกฎสำ
�คัญของการพัฒนาหลักสูตร หนังสือเรียน
และการอบรมครูของสิงคโปร์ โดยองค์ประกอบเหล่านี้ได้ถูก
พัฒนาไปในแนวทางเดียวกัน
มาเข้าสู่ชั้นเรียนของสิงคโปร์กันบ้างดีกว่า การเรียนการ
สอนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาของสิงคโปร์ จะ
เรียนคณิตศาสตร์วันละ 2 คาบ คาบละ 30 นาที ซึ่งก็คิดเป็น
1 ชั่วโมงพอดิบพอดี โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการ
แก้ปัญหานั้น จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่
1
20 นาทีแรก
ครูให้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่
ต้องการให้ช่วยกันคิดทั้งห้อง จนนักเรียนได้แนวคิด หรือฝึก
ทักษะที่ต้องการ
2
20 นาทีต่อมา
ให้นักเรียนฝึกฝนเพิ่มเติมโดยทำ
�งานเป็น
กลุ่ม แล้วครูเดินตรวจผลงานของนักเรียนรายกลุ่ม และช่วย
แก้ไขข้อผิดพลาด
3
20 นาทีสุดท้าย
ให้นักเรียนทำ
�งานรายบุคคล
เนื่องจากความคิดพื้นฐานในระบบการศึกษาของสิงคโปร์
คือเด็กทุกคนสามารถคิดได้ บทบาทของครูจะเป็นเพียงผู้
อำ
�นวยความสะดวก สร้างสถานการณ์หรือให้โอกาสหรือ
กระตุ้นให้นักเรียนได้พัฒนาการคิด และการใช้การคิดนี้ ก็
ไม่ใช่เฉพาะตอนที่ให้ทำ
�โจทย์ประยุกต์เท่านั้น แต่นักเรียน
สามารถใช้กระบวนการคิดได้ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ในการสอน
ความรู้พื้นฐาน หรือแม้ในช่วงการฝึกทำ
�โจทย์เพิ่มเติม ดังนั้น
ทุกกระบวนการของการสอนในห้องเรียนจึงเต็มไปด้วยการ
อภิปราย โต้ตอบ แสดงแนวทางแก้ปัญหา และข้อคำ
�ถาม
ระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนกับนักเรียน
ตลอดเวลา
ยกตัวอย่างการสอนความรู้พื้นฐานในบทเรียนเรื่องการ
คูณด้วย 6 ครูสิงคโปร์อาจเริ่มต้นบทเรียนด้วยการวางถ้วย
กระดาษที่มีเมล็ดถั่ว ถ้วยละ 6 เมล็ด ไว้บนโต๊ะของนักเรียน
กลุ่มละ 2 ถ้วย แล้วถามนักเรียนในชั้นเรียนว่า “บนโต๊ะมีถั่ว
ทั้งหมดกี่เมล็ด” จากนั้นให้นักเรียนตอบและอธิบายว่านักเรียน
รู้ได้อย่างไร ซึ่งนักเรียนอาจตอบได้หลากหลาย เช่น “นับรวม
กันค่ะ” “6 บวกกับ 6 ครับ” จากนั้นครูแนะนำ
�สัญลักษณ์การ
คูณ ว่าแสดงได้ด้วย 2 × 6 แล้วถามเพิ่มให้นักเรียนคิดว่าหากมี
ถ้วยกระดาษ 3 ถ้วย หรือ 4 ถ้วย หรือ 5 จะมีถั่วทั้งหมดกี่เมล็ด
ให้นักเรียนอธิบาย ซึ่งนักเรียนก็อาจจะใช้การคูณด้วย 2 หรือ
บวกเพิ่ม หรือวิธีการอื่น ๆ โดยใช้สิ่งที่นักเรียนรู้มาเชื่อมโยง เช่น
รู้ว่า 2 × 6 = 12 ก็จะสามารถ รู้ว่า 3 × 6 = 18 ได้ (จาก
2 × 6 = 12 บวกอีก 6 จะได้ 18) หรือ 4 × 6 = 24 (จาก
2 × 6 = 12 ดังนั้น 4 × 6 ได้จาก 12 ×2 หรือ 12 +12 )
หรือรู้ว่า 2 × 6 = 12 และ 3 × 6 = 18 แล้ว ก็จะสามารถ
หาว่า 5 × 6 = 12 + 18 = 30
เป็นต้น ซึ่งในห้องเรียนครูต้องเปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิด และ
อธิบายวิธีการของตนเอง ให้ได้วิธีที่แตกต่างกัน จนนักเรียน
สามารถหาผลคูณของจำ
�นวน 1 หลัก กับ 6 ได้ โดยที่นักเรียน
ไม่จำ
�เป็นต้องท่องสูตรคูณแม่ 6 ได้
หลังจากเห็นตัวอย่างการเรียนการสอนในห้องเรียนสิงคโปร์
และเบื้องหลังที่มาของหลักสูตรคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้
ปัญหาและกระบวนการคิด รวมถึงวิสัยทัศน์ของระบบการ
ศึกษา ต้องบอกว่า...ไม่แปลกใจเลยว่าทำ
�ไมเด็กสิงคโปร์จึง
เก่งคณิตศาสตร์ ก็เพราะการศึกษาในสิงคโปร์เน้นมากกับ
การเปิดโอกาสและกระตุ้นให้นักเรียนได้คิด ได้พูด โดยครู
มีหน้าที่ตั้งคำ
�ถาม ชักชวน และให้เวลากับนักเรียนเพื่อคิด
และอธิบายเหตุผล ไม่ใช่การสอนเฉพาะกระบวนการเพื่อ
ให้เด็กทำ
�ได้ จำ
�ได้เท่านั้น แต่เป็นการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อให้
เด็กได้เรียนรู้ เข้าใจ และสามารถนำ
�เครื่องมือซึ่งคือทักษะ
ในการคิดไปต่อยอดในการเรียนคณิตศาสตร์ในทุก ๆ เรื่อง
ได้ หรือพูดอีกนัยหนึ่ง กุญแจแห่งความสำ
�เร็จของการศึกษา
วิชาคณิตศาสตร์ หรืออาจรวมถึงวิชาอื่น ๆ ของสิงคโปร์ ก็คือ
‘การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิด’ นั่นเอง
มองการศึกษาของประเทศสิงคโปร์แล้ว คงได้เวลาที่เราต้อง
กลับมาย้อนมองดูการศึกษาของไทย ทบทวน เปิดความคิด
เปิดใจว่าหลักสูตรและการเรียนการสอนในห้องเรียนของไทย
พร้อมแล้วหรือยัง และเราจะต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอย่างไร
เพื่อจะเตรียมตัวพัฒนา และหล่อหลอมเด็กไทยให้มีศักยภาพ
เพียงพอ ให้พร้อมที่จะยืนอยู่ในประชาคมอาเซียนในอีก 3 ปี
ข้างหน้าอย่างสง่างาม