

47
ปีที่ 41 ฉบับที่ 182 พฤษภาคม - มิถุนายน 2556
เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินต์
ที่ติดบน
ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้น แสดงให้ผู้บริโภคทราบว่า ตลอด
วัฏจักรของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปลดปล่อยแก๊ส
เรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ ตั้งแต่กระบวนการ
หาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งานและการ
กำ
�จัดเมื่อกลายเป็นของเสีย ซึ่งช่วยในการตัดสินใจซื้อ
ของผู้บริโภคและกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยน
เทคโนโลยีในการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่ง
ขึ้น สำ
�หรับประเทศไทยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือน
กระจก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็น
ผู้พิจารณาอนุมัติให้การรับรองเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินต์
เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินต์
ของประเทศไทย
ฉลากเขียว
เป็นเครื่องหมายแสดงถึงคุณภาพของ
ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เมื่อ
เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่ทำ
�หน้าที่อย่างเดียวกัน โดย
ยกเว้น ยา เครื่องดื่ม และอาหาร ประเทศแรกที่เริ่มใช้
ฉลากเขียว คือ เยอรมนี สำ
�หรับประเทศไทยได้ริเริ่ม
โครงการฉลากเขียวขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536
เครื่องหมาย
ฉลากเขียว
เครื่องหมาย
มาตรฐานทั่วไป
เครื่องหมาย
มาตรฐานบังคับ
เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(มอก.)
เป็นเครื่องหมายที่สำ
�นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม (สมอ.) กำ
�หนดขึ้นเพื่อแสดงความเป็น
มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายมอก. ที่พบบน
ผลิตภัณฑ์มี 2 เครื่องหมาย คือ เครื่องหมายมาตรฐาน
ทั่วไป ใช้แสดงบนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานไม่บังคับ เช่น
แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ไฟฉาย น้ำ
�ตาลทราย บะหมี่กึ่ง
สำ
�เร็จรูป ฯลฯ และเครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ใช้แสดง
บนผลิตภัณฑ์ที่มีกฎหมายกำ
�หนดให้ต้องเป็นตามมาตรฐาน
เช่น ยาจุดกันยุง ผงซักฟอก ไม้ขีดไฟ ของเล่น เตารีดไฟฟ้า
หลอดไฟฟ้า ฯลฯ