Previous Page  44 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 44 / 62 Next Page
Page Background

44

นิตยสาร สสวท.

ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน

เป็นผลที่เกิดจากการปล่อยแก๊สเรือนกระจกสู่บรรยากาศ จาก

การใช้พลังงานในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยเฉพาะพฤติกรรม

การบริโภคที่เกินความพอดี แล้วส่งผลร้ายกลับมาทำ

�ลายมนุษย์

และสรรพสิ่งต่าง ๆ ด้วยกันเองในที่สุด ปัจจุบันคงไม่มีประเทศใด

ในโลกนี้ที่จะสามารถบริหารจัดการผลกระทบของภาวะโลกร้อน

ได้โดยลำ

�พัง จริงแล้ว ๆ กระแส “โลกาภิวัตน์ด้านสิ่งแวดล้อม”

(Environmental Globalization) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วไม่น้อย

กว่า 21 ปี ตั้งแต่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและ

การพัฒนา (United Nations Conference on Environment

and Development : UNCED) หรือ การประชุม Earth Sum-

mit ณ นครรีโอ เด จาเนโร ประเทศบราซิล ในปี พ.ศ. 2535 ซึ่งได้

นำ

�แนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมมาเชื่อมโยงกับ “การพัฒนา” เกิดเป็น

แนวคิด “การพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งเป็นการพัฒนาที่ต้องสร้างความ

สมดุลระหว่าง 3 เสาหลัก คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

แนวคิดดังกล่าวได้ถูกยอมรับในเวทีประชาคมโลก และแพร่หลาย

ไปอย่างกว้างขวางทั่วโลก และนำ

�ไปสู่การจัดทำ

�ความตกลงด้านการ

เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่วนหนึ่งในนั้นคือการกำ

�หนดเป้า

หมายการลดแก๊สเรือนกระจก (โดยไม่มีพันธกรณีบังคับ) และกรอบ

แนวทางการพัฒนาของประเทศต่าง ๆ กระแสโลกาภิวัตน์ทางด้าน

สิ่งแวดล้อม ยังส่งผลให้เกิดการประชุมระดับโลกด้านการพัฒนาที่

ยั่งยืนในอีก 10 ปีต่อมา คือ World Summit on Sustainable

Development : WSSD ณ นครโจฮันเนสเบิร์ก สาธารณรัฐ

แอฟริกาใต้ ใน ปี พ.ศ. 2545 สำ

�หรับประเทศไทยเองได้มีส่วนร่วม

ลงนามและให้สัตยาบัน ในปฏิญญาและอนุสัญญาจากการประชุม

ดังกล่าวทั้งในปี พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2545 จากการปฏิบัติตาม

กรอบดังกล่าว ทำ

�ให้เกิดการเปลี่ยนแนวนโยบาย สถาบัน องค์กร

และกิจกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยอาจถือได้ว่าเป็นการ

วางรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ปัจจุบันสำ

�นักงานคณะ

กรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ทำ

�หน้าที่

เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการวางแผนและประเมินผลการ

พัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ โดยมีการนำ

�กรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน

จากแผนปฏิบัติการ 21 (Agenda 21) ผนวกหรือบูรณาการเข้ากับ

กลไกที่เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาที่มีอยู่ ซึ่งมีอยู่ 2 แนวทางที่

สำ

�คัญคือการบูรณาการกับกฎหมาย ได้แก่รัฐธรรมนูญ(รัฐธรรมนูญ

แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ 2550) หรือกฎหมายอื่น ๆ

ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ และการบูรณาการกับ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งถือเป็นแผนแม่บทใน

การพัฒนาประเทศไทย

การนำ

�กรอบแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนมาใช้เป็นหลัก

สำ

�หรับการพัฒนาประเทศ ปรากฏชัดในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ซึ่งแตกต่าง

จากแผนพัฒนาฯ ฉบับก่อน ซึ่งมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ควบคู่กับการพัฒนาสังคม โดย

มุ่งเปลี่ยนให้ “คน” เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและเน้นการ

สร้างความสมดุลแก่การพัฒนาในทุก ๆ ด้าน คือเปลี่ยนจากวิธี

การพัฒนาแบบแยกส่วนมาเป็นบูรณาการแบบองค์รวม เช่น

เดียวกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ซึ่งน้อมนำ

ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)”

มาใช้เป็นแนวทางการพัฒนา และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10

(พ.ศ. 2550-2554) ที่มีเป้าหมายในการพัฒนาสังคมไทยสู่ “สังคมที่

มีความสุขอย่างยั่งยืน (Green Society)” ซึ่งเน้นการพัฒนาในทาง

สังคม เศรษฐกิจ และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่าง

บูรณาการและเกื้อกูลกัน ปัจจุบันในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11

(พ.ศ. 2555-2559) ยังคงน้อมนำ

�หลักปรัญชาของเศรษฐกิจ

พอเพียงมาใช้เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ โดยมีจุดเน้น