

41
ปีที่ 41 ฉบับที่ 182 พฤษภาคม - มิถุนายน 2556
สร้างและสำ
�รวจ “สี่เหลี่ยมรักษ์ธรรมชาติ”
เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกพื้นที่เพื่อทำ
�การสืบเสาะ
เรียบร้อย ครูแจกอุปกรณ์ให้นักเรียนสร้างพื้นที่ และกำ
�หนด
อาณาเขตของ 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 1x1 ตารางเมตร โดยใช้
สายวัดหรือไม้เมตรวัดขนาดของพื้นที่ ใช้ไม้ไอศกรีมหรือหมุด
ปักที่ 4 มุม แล้วใช้เชือกป่านหรือไหมพรมเชื่อมมุมต่าง ๆ เพื่อ
กำ
�หนดอาณาเขตของ 4 เหลี่ยม หลังจากนั้นให้นักเรียนสังเกต
และจดบันทึกข้อสังเกต (observations) พร้อมทั้งวาดรูป
สี่เหลี่ยมรักษ์ธรรมชาติของกลุ่มตนเองลงในสมุดบันทึกหรือ
อนุทิน (journal) หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ ให้นักเรียนแต่ละ
คนเก็บข้อมูลสี่เหลี่ยมรักษ์ธรรมชาติของตนเองสัปดาห์ละ 1
ครั้ง โดยกำ
�หนดให้นักเรียนใช้เวลา 15-20 นาทีของคาบเรียน
ในการเก็บข้อมูลและบันทึกการสังเกต
อุปกรณ์สำ
�หรับใช้สร้างและกำ
�หนดอาณาเขตของ
“สี่เหลี่ยมรักษ์ธรรมชาติ”
• สายวัดหรือไม้เมตร
• ไม้ไอศกรีมหรือหมุด 4 อันเพื่อปักที่มุมและใช้ยึดเชือก
• เชือกป่านหรือไหมพรม
บูรณาการธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
ระหว่างจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมนี้ ครูสามารถบูรณาการ
กิจกรรมเพื่อสอนหัวข้อหนึ่งของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
คือ ความแตกต่างระหว่างข้อสังเกตและข้ออนุมาน
(inference) โดยใช้ตาราง T-Chart
ดังแสดงในรูปที่ 2
อุปกรณ์
กระดาษโน้ตแบบที่มีกาวด้านหลัง 2 สีที่แตกต่างกัน
(สมมุติให้เป็นสีชมพูและสีเหลือง)
ข้อสังเกต
ข้ออนุมาน
รูปที่ 2 ตาราง T-Chart ข้อสังเกตและข้ออนุมาน
การดำ
�เนินกิจกรรมในส่วนนี้จะแทรกอยู่หลังจากที่นักเรียน
สำ
�รวจและบันทึกข้อสังเกตลงในสมุดบันทึกหรืออนุทิน โดยครู
แจกกระดาษโน้ตให้นักเรียนสีละ 1 แผ่น ให้นักเรียนเขียนสิ่งที่
นักเรียนบันทึกจาก “สี่เหลี่ยมรักษ์ธรรมชาติ” ลงในกระดาษโน้ต
แผ่นละ 1 อย่าง โดยเขียนข้อมูลที่นักเรียนคิดว่าเป็นข้อสังเกตลง
ในกระดาษสีชมพู และข้อมูลที่นักเรียนคิดว่าเป็นข้ออนุมานลงใน
กระดาษสีเหลือง หลังจากนั้น ให้นักเรียนนำ
�กระดาษโน้ตไปติด
บนตารางในรูปที่ 2 ซึ่งครูได้เขียนไว้บนกระดาน โดยให้นักเรียน
ติดกระดาษโน้ตในสดมภ์ให้ถูกต้อง โดยกำ
�หนดให้นักเรียนใช้เวลา
15-20 นาทีของคาบเรียน ในการเก็บข้อมูลและบันทึกการสังเกต