

40
นิตยสาร สสวท.
“สี่เหลี่ยมรักษ์ธรรมชาติ”:
บทเรียนบูรณาการเพื่อธรรมชาติของเรา
และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 1
ดร. เขมวดี พงศานนท์
นักวิชาการ ฝ่ายบริหารโครงการริเริ่มพิเศษ สสวท. / e-mail :
khemma@ipst.ac.thสื่อการเรียนกระตุ้นความคิด
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์มหาอุทกภัยเมื่อปี
2554 ได้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ในสิ่งแวดล้อมของเราอย่างชัดเจน เหตุการณ์ในครั้ง
นั้นกระตุ้นให้มีการดูแลรักษาและรณรงค์ให้ลดการใช้
งานและทำ
�ลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างกว้างขวาง
ในสภาวะที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
อันเนื่องมาจากการขาดสมดุลทางชีวภาพในสิ่งแวดล้อม
รวมถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
เยาวชนซึ่งจะเติบโตไปเป็นผู้บริโภคทรัพยากรเหล่านั้น
ต่อไป ควรได้มีโอกาสเรียนรู้ไม่เพียงแค่ประโยชน์ของ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่จำ
�เป็นต้อง
ตระหนักถึงโทษของการทำ
�ลายทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่ง
นับวันจะกลายเป็นภัยที่ใกล้ตัวขึ้นเรื่อย ๆ
จากความจำ
�เป็นดังกล่าวข้างต้น บทเรียนวิทยาศาสตร์จึง
ควรสอนมากกว่าการให้นักเรียนท่องจำ
�ว่าธรรมชาติคืออะไร
สำ
�คัญต่อเราอย่างไร แต่ควรสอนให้นักเรียนตระหนักถึงคุณค่า
ของธรรมชาติที่มีต่อมนุษย์ และทำ
�ไมจึงต้องรักษาธรรมชาติ
บทความนี้นำ
�เสนอบทเรียนที่ครูสามารถจัดในชั้นเรียนระดับ
ประถมศึกษา เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการที่เกิด
ขึ้นในธรรมชาติรอบตัว ประโยชน์ของสิ่งแวดล้อมรอบตัว วิธีการ
ดูแลรักษาและตระหนักถึงประโยชน์ของการดูแลรักษา นอกจาก
นี้ บทเรียนนี้ยังเน้นการเรียนรู้ที่ผ่านการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์
(scientific inquiry) และช่วยให้นักเรียนพัฒนาความเข้าใจเกี่ยว
กับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ (nature of science)
เพื่อให้นักเรียนสามารถเห็นพัฒนาการ รวมทั้งการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ครูสามารถจัดกิจกรรมนี้ต่อ
เนื่องกันอย่างน้อย 6 สัปดาห์ หรือสามารถขยายออกไปได้ตลอด
ทั้งภาคการศึกษา การจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งใช้เวลา 20-30 นาที
โดยครูแบ่งนักเรียนในชั้นเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน ในชั่วโมง
แรกของกิจกรรม นักเรียนแต่ละกลุ่มออกไปสำ
�รวจพื้นที่ต่าง ๆ
ในบริเวณโรงเรียน ก่อนที่จะร่วมกันพิจารณาเลือกตำ
�แหน่ง
ที่กลุ่มต้องการสร้าง “สี่เหลี่ยมรักษ์ธรรมชาติ” ซึ่งเป็นพื้นที่
ขนาด 1 ตารางเมตร (1 เมตร x 1 เมตร) นักเรียนแต่ละกลุ่มจะ
ใช้ “สี่เหลี่ยมรักษ์ธรรมชาติ” เป็นพื้นที่ตัวอย่าง เพื่อใช้ในการ
สืบเสาะและเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว
ทั้งนี้ ในการเลือกบริเวณที่จะสร้าง “สี่เหลี่ยมรักษ์ธรรมชาติ”
ครูต้องให้คำ
�แนะนำ
�ว่าพื้นที่ดังกล่าว ควรมีความหลากหลาย
ของธรรมชาติ เช่น แนะนำ
�นักเรียนว่าพื้นที่ของนักเรียนควร
ประกอบด้วยต้นหญ้า ส่วนประกอบของต้นไม้ เช่น ราก หรือ
เป็นพื้นที่ที่เป็นพื้นดินที่แห้งและส่วนที่เป็นน้ำ
� เช่น ริมตลิ่ง