

45
ปีที่ 41 ฉบับที่ 182 พฤษภาคม - มิถุนายน 2556
ในการพัฒนาคน และสังคมไทยให้มีคุณภาพ มีโอกาสเข้า
ถึงทรัพยากร และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมอย่างเป็นธรรม สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วย
ฐานความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์
บ น พื้ น ฐ า น ก า ร ผ ลิ ต แ ล ะ ก า ร บ ริ โ ภ ค ที่ เ ป็ น มิ ต ร ต่ อ
สิ่งแวดล้อม โดยพยายามให้เกิดความร่วมมือของภาคีการพัฒนา
ทุกภาคส่วน ทั้งในระดับชุมชน ระดับภาค และระดับประเทศ
ในการกำ
�หนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศ เพื่อ
ให้เกิด “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยความเสมอภาค
เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” จากกรอบ
แนวคิดหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ได้นำ
�ไปขยายผลสู่การปฏิบัติใน
รูปแบบต่าง ๆ ตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน เช่น จาก
ยุทธศาสตร์ด้านการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน มีการทำ
�แผน
แม่บทแห่งชาติว่าด้วยการผลิตที่สะอาด หรือแผนการส่งเสริม
การจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของ
ภาครัฐ ตามกรอบของแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม 5 ปี หรือ
มีการริเริ่มพัฒนามาตรฐานและฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทต่าง ๆ
เช่น ฉลากเขียว ISO14000 มาตรฐานมงกุฎไทยเพื่อรองรับสำ
�หรับ
โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development
Mechanism Project : CDM Project) ฉลากคาร์บอน
ฉ ล า กพลั ง ง า นป ร ะ สิ ท ธิ ภ า พสู ง ฉ ล า ก ป ร ะ ห ยั ด ไ ฟ
มาตรฐานใบไม้สีเขียวสำ
�หรับธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว
ฯลฯ
ภาคเอกชนบางส่วนเองก็ตระหนักถึงบทบาทของตนเองที่มี
ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยได้เปลี่ยนแปลงการดำ
�เนินงานเพื่อ
เอื้อประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยการปฏิบัติตาม
พระราชบัญญัติต่าง ๆ เช่น พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา
คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติ
โรงงาน พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
ฯลฯ ในแง่การดำ
�เนินการได้มีการนำ
�โครงการกลไกการพัฒนา
ที่สะอาด (Clean Development Mechanism) การลงทุน
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด (cleaner technology) การสร้าง
เครือข่ายห่วงโซ่อุปทานสีเขียว (greening the supply chain)
มาใช้ในการดำ
�เนินงาน และพยายามผลิตสินค้าหรือบริการที่
เข้าร่วมโครงการฉลากเขียว โครงการฉลากประหยัดพลังงาน ฯลฯ
ภาคเอกชนที่เข้าร่วมอาจได้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นตัวเงิน
หรือมิใช่ตัวเงิน แต่อาจเป็นประโยชน์ต่อบริษัทในเรื่องของการลด
ต้นทุน หรือสร้างชื่อเสียงในฐานะองค์กรหรือผลิตภัณฑ์ที่รักษาสิ่ง
แวดล้อมได้
สำ
�หรับเยาวชนซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลในการพัฒนาประเทศ
ต่อไป การส่งเสริมแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยให้ความสำ
�คัญ
กับประเด็นสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำ
�คัญ โดยที่ผ่านมามีหลายโครงการ
ที่พยายามส่งเสริมและปลูกจิตสำ
�นึกเยาวชนในเรื่องดังกล่าว เช่น
โครงการห้องเรียนสีเขียว ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ซึ่งปลูกฝังจิตสำ
�นึกนักเรียนในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ประหยัดพลังงาน ตลอดจนการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่า
หรือ โครงการโรงเรียนต้นแบบ ทำ
�ดีเพื่อพ่อ เศรษฐกิจพอเพียง ของ
มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือการเรียนรู้ในลักษณะของโลกทั้ง
ระบบของโครงการวิทยาศาสตร์โลกทั้งระบบ (โครงการ Globe)
ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
สาระการออกแบบและเทคโนโลยี ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การ
งานอาชีพและเทคโนโลยี
ซึ่งรับผิดชอบโดยสาขาการออกแบบและ
เทคโนโลยี สสวท. เป็นสาระหนึ่งที่พยายามส่งเสริมเยาวชนในเรื่อง
ดังกล่าวเช่นเดียวกัน โดยมีการกำ
�หนดตัวชี้วัด/มาตรฐานการเรียน
รู้และสาระฯ ไว้ ในเรื่องการเลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อ
ชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่
ยั่งยืน พยายามส่งเสริมให้นักเรียนหรือเยาวชนนำ
�ความรู้และทักษะ
มาใช้ในการแก้ปัญหา โดยสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการซึ่งเป็น
มิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนฐานของความคิดสร้างสรรค์สำ
�หรับเนื้อหาใน
หลักสูตรมุ่งเน้นไปที่การเลือกใช้เทคโนโลยีและการจัดการเทคโนโลยี
ด้วยวิธีการของเทคโนโลยีสะอาด