

52
นิตยสาร สสวท.
นานาสาระ และข่าวสาร
ดร. สุทัศน์ ยกส้าน
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นับตั้งแต่ยุคของ Anaxagoras เมื่อ 2,800 ปีก่อนผู้คนมักเชื่อว่า ดาวบนฟ้าทุกดวงและโลกประกอบด้วยธาตุ เช่น เหล็ก แคลเซียม และออกซิเจน
ฯลฯ เหมือนกัน จนกระทั่งนักดาราศาสตร์สตรีท่านหนึ่ง ได้พบในปี ค.ศ.1923 ว่า การนึกคิดและเชื่อเช่นนั้นผิดอย่างร้ายแรง เพราะเอกภพประกอบ
ด้วยไฮโดรเจนเป็นส่วนใหญ่ (ในสมัยนั้นยังไม่มีใครรู้จักสสารมืด) และวิทยานิพนธ์ของเธอที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นวิทยานิพนธ์
ดาราศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 แม้การค้นพบของเธอจะยิ่งใหญ่ แต่ทุกวันนี้ก็แทบไม่มีใครรู้จักเธอเลย
เธอชื่อ Cecilia Payne-Gaposchkin ผู้เคยดำ
�รงตำ
�แหน่ง
ศาสตราจารย์สตรีคนแรก ของมหาวิทยาลัย Harvard แต่ก่อนจะได้
ครองตำ
�แหน่งนี้ เธอต้องประสบความยากลำ
�บากมาก เพราะเธอได้รับเข้า
ทำ
�งานโดยไม่มีเงินเดือนประจำ
� จึงต้องอาศัยความเมตตา และได้รับการ
อนุเคราะห์จากภาควิชาว่าให้เบิกเงินเดือนของเธอจากค่าอุปกรณ์ทดลอง
Cecilia Payne เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ.1900 ที่เมือง
Wendover ใน Buckinghamshire ประเทศอังกฤษ ในครอบครัว
ของ Edward J. Payne กับ Emma L. Helena Payne เมื่ออายุ 4
ขวบ บิดาของเธอได้เสียชีวิต มารดาจึงต้องรับภาระเลี้ยงดูครอบครัวที่มี
ลูก 3 คน แต่เพียงผู้เดียว Cecilia Payne ได้เข้าเรียนขั้นต้นที่โรงเรียน
St. Paul’s ซึ่งเป็นโรงเรียนสตรี แต่เมื่อแม่ไม่ต้องการจะให้เธอเรียนถึง
ระดับมหาวิทยาลัย โดยอ้างว่าจะเก็บเงินให้เฉพาะลูกชายเรียน Cecilia
Payne จึงต้องหาทุนเรียนหนังสือเอง
เมื่ออายุ 19 ปี เธอได้รับทุนไปเรียนที่ Newnham College แห่ง
มหาวิทยาลัยCambridge ในสาขาวิทยาศาสตร์ทำ
�ให้ได้เรียนวิชาชีววิทยา
ฟิสิกส์ และเคมี ครั้นเมื่อได้เข้าฟังสัมมนาของนักดาราศาสตร์ชื่อ Arthur
Eddington ซึ่งบรรยายเรื่องการเดินทางไปเกาะ Principe ที่ตั้งอยู่ใน
อ่าว Guinea ในมหาสมุทรแปซิฟิก เพื่อทำ
�การตรวจสอบความถูกต้อง
ของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ด้วยการถ่ายภาพของดาวฤกษ์ที่อยู่ข้างหลัง
ดวงอาทิตย์ ในปี ค.ศ.1919 เธอได้ตกหลุมรักวิชาดาราศาสตร์ทันที และ
ได้พยายามเรียนจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี แต่ไม่ได้รับปริญญา
เพราะมหาวิทยาลัย Cambridge ไม่สามารถประสาทปริญญาให้แก่สตรี
จนกระทั่งปี ค.ศ.1948
Payne รู้ดีว่า ถ้าเธอใช้ชีวิตอยู่ต่อไปในอังกฤษ เธอจะต้องมีอาชีพเป็น
ครูสถานเดียว ดังนั้นจึงแสวงหาทุนเพื่อไปเรียนต่อในอเมริกา หลังจากที่
ได้พบกับ Harlow Shapley ซึ่งขณะนั้นดำ
�รงตำ
�แหน่งเป็นผู้อำ
�นวยการ
ของหอดูดาวที่ Harvard College ในอเมริกา และเขาได้บอก Payne
ว่า มหาวิทยาลัย Harvard กำ
�ลังจะเปิดโปรแกรมสอนดาราศาสตร์ระดับ
ปริญญาโทและเอก Shapley จึงขอทุนให้เธอไปเรียนต่อที่ Harvard ใน
ปี ค.ศ.1923
ปัญหาหนึ่งที่นักดาราศาสตร์ในสมัยนั้นสนใจมากคือ การวิเคราะห์
สเปกตรัมของแสงจากดาวฤกษ์ เพื่อหาองค์ประกอบของดาวฤกษ์
ในอดีตเมื่อปี ค.ศ.1859 Gustav Kirchhoff ได้พบว่า เมื่อนำ
�ธาตุมา
เผาไฟธาตุที่ร้อนจะเปล่งแสงที่มีความยาวคลื่นต่าง ๆออกมา หลังจากที่ได้
Cecilia Payne – Gaposchkin