Previous Page  56 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 56 / 62 Next Page
Page Background

56

นิตยสาร สสวท.

ดังตัวอย่างการสังเคราะห์ธาตุ rutherfordium 112 ในปี 1991

โดยสถาบัน GSI ใช้นิวเคลียสของสังกะสี Zn (ธาตุที่ 30) เป็นกระสุน

จำ

�นวน 5 ล้านล้านล้านตัว ยิงนิวเคลียสตะกั่ว Pb (ธาตุที่ 82) กระสุน

ธาตุสังกะสีที่มีความเร็ว 112 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง ได้พุ่งชนนิวเคลียส

ตะกั่วที่เป็นเป้า ทำ

�ให้เกิดนิวเคลียสของธาตุที่ 112 จำ

�นวน 2 ตัว ซึ่งมี

ชีวิตอยู่ได้นานเพียง 0.0028 วินาทีเท่านั้นเอง

การทดลองสร้างธาตุใหม่ในอดีตได้แสดงให้เห็นว่า เมื่อนิวเคลียส

ของธาตุมีจำ

�นวนโปรตอนมากขึ้น (นักวิทยาศาสตร์เรียกจำ

�นวนโปรตอน

ในนิวเคลียสว่า เลขเชิงอะตอม ดังนั้นในกรณี Ds ซึ่งมีโปรตอน 110 ตัว

ในนิวเคลียส เลขเชิงอะตอมของ Ds จึงเท่ากับ 110) ธาตุที่มีมวลมาก

ขึ้น ๆ จะมีเวลาที่เสถียรลดลง ๆ ตัวอย่างเช่น ธาตุ Hs hassium 108

มีชีวิต 1 วินาที และธาตุ Rg rontgenium 111 ซึ่งมีมวลมากกว่า Hs

มีชีวิตยืนนานเพียง 0.0015 วินาที เท่านั้นเอง

ถึงกระนั้นทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์ก็ทำ

�นายว่า ธรรมชาติจะมีธาตุ

X ที่นิวเคลียสของมันมีโปรตอน 114 ตัว และนิวตรอน 184 ตัวซึ่งจะ

เป็นธาตุที่เสถียรมาก คือ มีชีวิตอยู่ได้นานถึง 1 ล้านปี ซึ่งนับว่านานพอ

สำ

�หรับการนำ

�ไปทำ

�ระเบิดชนิดใหม่ หรือประดิษฐ์วัสดุชนิดใหม่ หรือ

เป็นแหล่งพลังงานใหม่ และถ้าจะให้ดียิ่งกว่านั้น นักเคมีจะต้องพยายาม

สร้างธาตุที่ 126 ขึ้นมา ซึ่งนักทฤษฎีนิวเคลียร์ได้ทำ

�นายไว้ว่าจะเสถียร

ยิ่งกว่าธาตุที่ 114 เสียอีก

ในวารสาร Physical Review C ฉบับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2004

Y. Oganessian แห่ง Joint Institute for Nuclear Research ที่เมือง

Dubna ในรัสเซีย กับคณะนักวิทยาศาสตร์แห่ง Lawrence Berkeley

National Laboratory ได้รายงานความสำ

�เร็จในการสังเคราะห์ธาตุ

ใหม่ 2 ธาตุ คือ ธาตุที่ 113 กับ 115 โดยได้ใช้นิวเคลียสของแคลเซียม

(

Ca) ซึ่งมีโปรตอน 20 ตัว และนิวตรอน 28 ตัว เป็นกระสุน

ที่พลังงาน 248 Mev (Mev มาจากคำ

�ว่า million electron volt) ยิง

นิวเคลียสของธาตุ americium ( Am) ซึ่งมีโปรตอน 95 ตัว และ

นิวตรอน 148 ตัว ทำ

�ให้ได้นิวเคลียสของธาตุที่ 115 (115=20+95)

4 นิวเคลียส แต่นิวเคลียสนี้ได้สลายตัวให้ธาตุที่ 113 ภายในเวลา 0.083

วินาที โดยการปล่อยอนุภาคแอลฟาออกมา สำ

�หรับเหตุการณ์นี้ ถ้า In-

ternational Union of Pure and Applied Chemistry หรือ IUPAC

เห็นพ้อง Yuri Oganessian ก็มีสิทธิ์ตั้งชื่อธาตุใหม่ที่เขากับคณะพบ

โดยอาจใช้ชื่อของนักเคมี นักฟิสิกส์หรือห้องปฏิบัติการที่มีชื่อเสียงก็ได้

ส่วนการตรวจสอบที่ว่า คณะนักวิจัยสามารถสังเคราะห์ธาตุที่ 115

และ 113 ได้หรือไม่นั้น IUPAC ต้องให้ห้องปฏิบัติการอื่นอีกหนึ่งหรือ

สองแห่งทำ

�การทดลองเดียวกันนี้ซ้ำ

� เพื่อยืนยันว่าธาตุที่ 115 และ 113

มีสมบัติต่าง ๆ เหมือนดังที่คณะวิจัยภายใต้การนำ

�ของ Oganessian

วัดได้ เช่น มีมวลหรือมีชีวิตอยู่ได้นานเท่ากัน แต่ถ้าผลการทดลองทั้ง

หลายแตกต่างกัน IUPAC ก็จะต้องให้นักวิทยาศาสตร์คณะที่ 3 เป็น

คนประเมินว่า ผลการทดลองของฝ่ายใดถูกต้อง และถ้าพบว่าคณะ

วิจัยใดให้ข้อมูลเท็จหรือสร้างหลักฐานปลอมเพื่อจะได้ชื่อเสียงว่าพบ

ธาตุใหม่ คณะนักวิจัยนั้นก็อาจถูกอัปเปหิออกจากวงการ ดังเหตุการณ์

ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อนที่ Victor Ninov อ้างว่าคณะวิจัยของเขาสามารถ

สังเคราะห์ธาตุที่ 118 ได้ แต่การตรวจสอบในเวลาต่อมาทำ

�ให้โลกรู้ว่า

Ninov ให้ข้อมูลเท็จ เขาจึงถูกไล่ออกจากสถาบันวิจัยทันที

ในขณะที่นักทดลองกำ

�ลังมุ่งมั่นจะสร้างธาตุใหม่ นักฟิสิกส์ทฤษฎีก็กำ

�ลัง

ใช้ทฤษฎีควอนตัมคำ

�นวณว่าธาตุใหม่ ๆ จะเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขใดบ้าง

เช่น ในกรณีการสร้างนิวเคลียสของธาตุที่มีโปรตอนและนิวตรอนรวม

กันมากกว่า 220 อนุภาค นักวิทยาศาสตร์สมควรใช้นิวเคลียสของธาตุ

ใดเป็นเป้าและเป็นกระสุน เพราะปฏิกิริยานิวเคลียร์ดังต่อไปนี้ต่างก็ให้

ธาตุที่มีจำ

�นวนโปรตอนและนิวตรอนรวมกันเป็น

เช่น

O + Pb หรือ Ar + Hf หรือ

Ca +

Yb หรือ Se + Ba

ในปี 2002 D. J. Hinde กับคณะได้รายงานในวารสาร Physical

Review Letters ฉบับที่ 89 ว่า ถ้านักทดลองใช้นิวเคลียสเป้ากับ

นิวเคลียสกระสุนที่มีขนาดแตกต่างกันมาก เช่น

16

O กับ

204

Pb การ

หลอมรวมเป็นธาตุใหม่จะเกิดขึ้นง่ายกว่าการใช้

82

Se กับ

138

Ba

เพราะถ้ากระสุนและเป้ามีขนาดแตกต่างกันมาก เป้าใหญ่จะสามารถ

กลืนกระสุนเล็กได้ดี แต่ถ้านิวเคลียสคู่กรณีมีขนาดไล่เลี่ยกัน การรวม

นิวเคลียสจะเกิดขึ้นยาก

ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์กำ

�ลังประสบความสำ

�เร็จในการค้นพบ

หรือสังเคราะห์ธาตุใหม่อยู่เรื่อย ๆ ทำ

�ให้ตารางธาตุ (periodic table)

ที่ D. Mendeleev สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1869 เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

แต่โครงสร้างหลัก ๆ ของตารางก็ยังไม่เปลี่ยน แต่ในขณะเดียวกัน

ความสำ

�เร็จในการสร้างธาตุของนักวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมาได้ทำ

�ให้นัก

วิทยาศาสตร์รู้ว่าปัญหาเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังมีอีกมาก เช่น เรายังไม่รู้ว่า

มนุษย์จะธาตุใหม่ได้อีกกี่ธาตุ ตารางธาตุมีขนาดจำ

�กัดหรือไม่ และสมบัติ

ของธาตุใหม่ ในอนาคตจะทำ

�ให้ทฤษฎีควอนตัมที่เป็นสรณะของนัก

ฟิสิกส์ทุกวันนี้ผิดพลาดหรือไม่

เหล่านี้คือปริศนาที่ต้องการเวลาและความมุ่งมั่นในการพิสูจน์

แนวคิดของ Seaborg (อ่านเพิ่มเติมจาก Cathedrals of Science :

The Personalities and Rivalries That Made Modern Chemistry

โดย Patrick Coffey)

บรรณานุกรม

Coffey, Patrick. (2008).

Cathedrals of Science : The Personalities and Rivalries That

Made Modern Chemistry.

Oxford: Oxford University Press.

20

48

95

243

90

220

8

16

18

40

34

82

82

204

72

180

56

138

70

172

20

48

Th