Previous Page  54 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 54 / 62 Next Page
Page Background

54

นิตยสาร สสวท.

นานาสาระ และข่าวสาร

ศ. ดร. สุทัศน์ ยกส้าน

ราชบัณฑิต สำ

�นักวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์และดาราศาสตร์

(ที่มา :

http://farm4.staticflickr.com/3552/3523829202_c32f7a5078_o.jpg

)

Empedocles ปราชญ์กรีกเมื่อ 2,450 ปีก่อนเคยแถลงว่า สรรพสิ่ง

ในโลกประกอบด้วยธาตุ 4 ชนิด คือ ดิน น้ำ

� ลม และไฟ ในอัตราส่วนต่าง ๆ

กัน ความเชื่อนี้เป็นที่ยอมรับของผู้คนมานานนับสองพันปี จนกระทั่ง

Robert Boyle ให้คำ

�จำ

�กัดความของธาตุว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแบ่งแยก

โดยกระบวนการทางเคมีให้เล็กลงไปได้อีก ดังนั้นตามคำ

�จำ

�กัดความใหม่

นี้ความคิดของ Empedocles จึงผิด เพราะลมประกอบด้วยออกซิเจน

ไนโตรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ ส่วนน้ำ

�ประกอบด้วยออกซิเจน

และไฮโดรเจน ดังนั้น น้ำ

� ลม จึงไม่ใช่ธาตุ

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เรียกหน่วยที่เล็กที่สุดของธาตุว่า อะตอม

และรู้ว่าอะตอมของธาตุต่างกันมีสมบัติที่แตกต่างกันและมีองค์ประกอบ

หลัก คือ แกนกลางมีนิวเคลียสซึ่งประกอบด้วยโปรตอนกับนิวตรอน

และมีอิเล็กตรอนที่โคจรรอบนิวเคลียส สำ

�หรับไฮโดรเจนซึ่งเป็นธาตุ

ที่เบาที่สุด เพราะอะตอมไฮโดรเจนมีนิวเคลียสที่ประกอบด้วยหนึ่ง

โปรตอน และมีหนึ่งอิเล็กตรอนโคจรโดยรอบ ส่วนนิวเคลียสของ

ยูเรเนียมมี 92 โปรตอน กับ 146 นิวตรอน และมี 92 อิเล็กตรอน

โคจรโดยรอบ

ตามปกตินักวิทยาศาสตร์นิยมใช้สัญลักษณ์นิวเคลียร์บอกจำ

�นวน

โปรตอนในนิวเคลียส และระบุชื่อธาตุโดยใช้สัญลักษณ์แทนและมีเลข

กำ

�กับข้างบน เช่น ใช้สัญลักษณ์

1

H โดยที่ H แทนไฮโดรเจน และเลข

1 แสดงจำ

�นวนโปรตอนในนิวเคลียส ดังนั้นสัญลักษณ์ของยูเรเนียมจึง

เป็น

92

U ซึ่งแสดงว่า นิวเคลียสของยูเรเนียมมีโปรตอน 92 ตัว

ในสภาวะปกติ การจะพบธาตุในธรรมชาติที่มีมวลมากกว่า

ยูเรเนียมเป็นเรื่องยาก เพราะเมื่อใดที่นิวเคลียสของธาตุมีโปรตอน

มากกว่า 92 โปรตอน นิวเคลียสจะสลายตัวโดยการปล่อยอนุภาค

แอลฟา และอนุภาคเบตาหรือรังสีแกมมาออกมา นั่นคือ นิวเคลียส

จะไม่เสถียร แม้ว่าธาตุที่มีมวลมากกว่ายูเรเนียมจะไม่เสถียร แต่นัก

วิทยาศาสตร์ก็มีความมุ่งมั่นจะศึกษาและสังเคราะห์ธาตุที่มีมวลมากกว่า

ยูเรเนียมขึ้นมา รวมถึงหาวิธีประยุกต์ใช้ธาตุใหม่เหล่านี้ และตลอดเวลา

80 ปีที่ผ่านมา ได้มีการค้นพบธาตุ neptunium 93 , plutonium

94, americium 95, curium 96, berkelium 97, californium 98,

einsteinium 99, fermium 100, mendelevium 101, nobelium

102, lawrencium 103, rutherfordium 104, dubnium 105,

seaborgium 106, bohrium 107, hassium 108, meitnerium

109 และ darmstadtium 110

โดยเฉพาะ darmstadtium ที่มีสัญลักษณ์ Ds นั้นเป็นธาตุที่ 110

เพราะนิวเคลียสของธาตุนี้มีโปรตอน 110 โปรตอนและได้รับการ

สังเคราะห์ในปี 2537 โดย Sigurd Hofmann แห่ง Laboratory for

Heavy Ion Research ที่เมือง Darmstadt ในประเทศเยอรมนี จึงมี

การตั้งชื่อธาตุตามชื่อของเมืองที่นักเคมีสังเคราะห์ได้เป็นครั้งแรก

บุคคลผู้มีบทบาทสำ

�คัญที่สุดในการสังเคราะห์ธาตุใหม่ ๆ ที่มีมวล

มากกว่ายูเรเนียม คือ Glenn Theodore Seaborg

Seaborg เกิดเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ.1912 ที่เมือง Ishpeming

ในรัฐ Michigan ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบุตรของ Herman และ

Selma ในวัยเด็ก Seaborg ชอบเล่นกีฬาและดูภาพยนตร์ มารดาจึง

สนับสนุนให้อ่านหนังสือ และสร้างนิสัยให้รู้จักเก็บวารสารตั้งแต่มีอายุ

ได้ 8 ขวบ เพื่อจะได้นำ

�กลับมาอ่านเวลาต้องการ Seaborg เข้าเรียนชั้น

มัธยมที่ Jordan High School ที่เมือง Watts และสำ

�เร็จการศึกษา

ด้วยคะแนนยอดเยี่ยม จากนั้นได้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย Ohio State

จนได้รับปริญญาตรีเมื่ออายุ 22 ขณะที่ศึกษาอยู่ที่นั้น ศาสตราจารย์

ที่สอนภาษาเยอรมันได้เชิญให้ Seaborg มาพบ Albert Einstein

ประสบการณ์ที่เข้าพบครั้งนั้นทำ

�ให้ Seaborg ประทับใจมาก ยิ่งเมื่อได้

เห็นความอ่อนน้อมถ่อมตน และวิธีการให้กำ

�ลังใจแก่นักวิทยาศาสตร์รุ่น

ใหม่ของ Einstein Seaborg ก็ได้นำ

�ประสบการณ์นี้มาใช้ในการฝึกนิสิต

ที่ตนสอนในเวลาต่อมา ขณะเรียนมหาวิทยาลัย Seaborg ได้ทำ

�งานไป

ด้วย โดยรับจ้างเก็บผลไม้และเป็นผู้ช่วยในห้องปฏิบัติการเคมี

หลังสำ

�เร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี Seaborg ได้ไปศึกษาต่อที่

Glenn Seaborg

บิดาของวิทยาการเคมีนิวเคลียร์