Previous Page  49 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 49 / 62 Next Page
Page Background

49

ปีที่ 41 ฉบับที่ 184 กันยายน - ตุลาคม 2556

พฤติกรรมการอ่านหนังสือของคนในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปจาก

เดิม เนื่องจากเทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นให้สามารถสนับสนุนการอ่านหนังสือ

ผ่านอุปกรณ์พกพา เช่น แท็บเล็ต (tablet) สมาร์ตโฟน (smart phone)

มากขึ้น โดยการพัฒนาหนังสือจากที่เป็นรูปเล่มมาเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สร้างความสะดวกสบายในการอ่านหนังสือ เราไม่

จำ

�เป็นต้องพกพาหนังสือหลายๆ เล่ม เพื่อไปอ่านในที่ต่าง ๆ เพียงเรามีแท็บเล็ต

ก็สามารถบรรจุหนังสือที่เราชื่นชอบไปอ่านได้ในเครื่องเดียว

รูปแบบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีหลากหลายรูปแบบ แล้วแต่ค่าย

ใดจะพัฒนาขึ้นมา ความสามารถและคุณสมบัติของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มี

ความแตกต่างกัน เราจึงควรทำ

�ความรู้จักและทำ

�ความเข้าใจเกี่ยวกับหนังสือ

อิเล็กทรอนิกส์กันก่อน

ยุคนี้ต้อง e-book

เปียทิพย์ พัวพันธ์

นักวิชาการ สาขาเทคโนโลยีทางการศึกษา สสวท. / e-mail :

pphua@ipst.ac.th

(ที่มา :

http://4.bp.blogspot.com/)

ตารางที่ 1 ตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งพิมพ์กับ e-book

ความหมาย และความแตกต่างของสิ่งพิมพ์กับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (electronic book หรือ e-book) หมายถึง หนังสือที่สร้างด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเปิดอ่านทาง

หน้าจอคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพา มีความแตกต่างกับสิ่งพิมพ์ทั่วไป คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช้กระดาษ สามารถแทรกภาพ

เสียง ภาพเคลื่อนไหว และวีดิทัศน์ได้ ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจน ดังตารางที่ 1

สิ่งพิมพ์

e-book

ใช้กระดาษ

ไม่ใช้กระดาษ

ต้นทุนการผลิตสูง

ต้นทุนการผลิตต่ำ

อ่านได้ 1 คนต่อหนึ่งเล่ม

อ่านพร้อมกันได้จำ

�นวนมาก

ไม่สะดวกในการพกพา

สะดวกในการพกพา

พัฒนาการและรูปแบบของ e-book

ในช่วงแรก ๆ ของการพัฒนา e-book เริ่มต้นด้วยการจัดทำ

ไฟล์เอกสารที่เป็นฟอร์แม็ต PDF (portable document format)

เป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ e-book รูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับความนิยม

อย่างสูง ซึ่งมีการพัฒนายาวนานและยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน

“มีหลาย ๆ คนสงสัยว่า e-book มีกี่รูปแบบ และลักษณะ

ของแต่ละรูปแบบเป็นอย่างไร”

เคยมีผู้แบ่ง e-book ไว้ตามประเภทของ e-book แต่สำ

�หรับ

บทความนี้ผู้เขียนแบ่งรูปแบบของ e-book ตามลักษณะการพัฒนา

การใช้งานและโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา โดยสามารถแบ่งออกได้

4 รูปแบบ คือ PDF, flipbook, e-pub และ digital book

สื่อการเรียนกระตุ้นความคิด