

46
นิตยสาร สสวท.
จบนอก...ในมุมมองที่แตกต่าง
ดร.ปารวีร์ เล็กประเสริฐ
นักวิชาการ สาขาชีววิทยา สสวท. / e-mail :
plekp@ipst.ac.thสื่อการเรียนกระตุ้นความคิด
ตั้งแต่ผู้เขียนเรียนจบมา หลายคนถามว่าไปเรียนอะไรมา
แต่ไม่มีใครเคยถามว่าไปเรียนแล้วได้อะไรมา ถ้าถามว่าได้เรียน
รู้อะไรจากการรับทุนโอลิมปิกวิชาการไปศึกษาต่อกว่าสิบปี
ความรู้ด้านวิชาการนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น อีกส่วน
หนึ่งเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้นอกหนังสือเรียนแต่มีความสำ
�คัญไม่
น้อยกว่ากันเลย ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงประสบการณ์การเรียน
รู้ประเภทหลัง โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการศึกษา
ชีวิตกับการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง
มุมมองที่สำ
�คัญที่สุดที่ได้มา คือ การมองว่าชีวิตมีการเรียนรู้ที่
ไม่หยุดนิ่ง ซึ่งถ้าดูผิวเผินอาจดูเสมือนว่าเป็นสิ่งที่น่าจะรู้กันอยู่แล้ว
แต่ถ้าพิจารณาดี ๆ จะพบว่าไม่จริงเสมอไป เพราะเมื่อกล่าวถึงการ
เรียนรู้ บุคคลส่วนมากอาจคิดถึงเด็กและเยาวชนและการเรียนรู้ใน
สถานศึกษาเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้น
และเป็นสิ่งสำ
�คัญกับบุคคลทุกวัย และเกิดได้ในทุกสถานการณ์ ทั้ง
ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การประกอบอาชีพ ไปจนถึงการดำ
�รงชีวิต
ประจำ
�วัน โดยการเรียนรู้นั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตาม
บริบทที่เปลี่ยนไป
ถ้าจะมองที่การศึกษา การเรียนรู้ก็ไม่ได้จำ
�กัดอยู่กับนักเรียน
เท่านั้น ครู อาจารย์ เองก็ต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา นอกจาก
องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโลกที่เปลี่ยน
ไป ซึ่งอาจส่งผลให้บริบทในการเรียนการสอนนั้นเปลี่ยนไป เช่น
สื่อสารสนเทศในปัจจุบันมีความหลากหลายและหาได้ง่ายขึ้น รวม
ทั้งมีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผล
ให้ครูต้องเรียนรู้การใช้สื่อการสอนที่เปลี่ยนไปนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล นอกจากนี้อาจต้องปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้เหมาะ
กับนักเรียนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การที่นักเรียนยุคปัจจุบัน
มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นอาจส่งผลให้ลักษณะของ
แนวทางการสอนที่ดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ดีนั้นเปลี่ยนไป
หรือแนวทางการค้นคว้าหาข้อมูลอาจเปลี่ยนจากการค้นหาจากใน
หนังสือเป็นการค้นหาจากเว็บไซต์หรือสารานุกรมวิกิพีเดีย เป็นต้น
นอกจากครูอาจารย์แล้ว ผู้ปกครองของนักเรียนก็ต้องเรียนรู้ถึงการ
เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย เพื่อเพิ่มความเข้าใจและการสนับสนุน
การเรียนรู้ของบุตรหลาน
ประสบการณ์จากการเรียนในระดับปริญญาเอกช่วยทำ
�ให้ผู้เขียน
มองเห็นแง่มุมของการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากการศึกษาได้ชัดเจน