Previous Page  48 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 48 / 62 Next Page
Page Background

48

นิตยสาร สสวท.

ไทด์หลายพันล้านหน่วย จึงทำ

�ให้ต้องใช้วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์

และสถิติมาประกอบเสมอ

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยที่ผู้เขียนไปเรียนมีการทำ

�งานร่วมกัน

ระหว่างต่างภาควิชาอย่างมาก จนทำ

�ให้รู้สึกเสมือนว่าไม่มีขอบเขต

หรือกำ

�แพงกั้นขวาง ดังที่เห็นในงานวิจัยเกี่ยวกับจีโนมมนุษย์ ซึ่งมีการ

ทำ

�งานร่วมกันระหว่างกลุ่มชีวสารสนเทศ โรงเรียนแพทย์ โรงเรียน

กฎหมาย สถาบันนโยบาย และโรงเรียนธุรกิจของมหาวิทยาลัย การ

อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่มีการทำ

�งานร่วมกันอย่างไม่มีขอบเขต

เช่นนี้ช่วยสนับสนุนให้ผู้เขียนเป็นคนที่มองเห็นการเชื่อมโยงและความ

สัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้นไปอีก

มุมมองและแนวทางการคิดแบบบูรณาการนี้มีความสำ

�คัญมาก

ในการศึกษาทุกระดับ และเป็นพื้นฐานสำ

�คัญในการเตรียมความ

พร้อมสำ

�หรับการประกอบอาชีพ เพราะไม่มีอาชีพใดที่เกี่ยวข้องกับ

วิชาใดเพียงวิชาเดียวเท่านั้น ซึ่งหลายหน่วยงานในประเทศไทยได้เห็น

ความสำ

�คัญและมีการผลักดันให้มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

มากยิ่งขึ้น รวมทั้งมุ่งเน้นถึงการนำ

�ไปใช้ในชีวิตประจำ

�วัน ซึ่งเป็นการ

ขับเคลื่อนไปในทางที่ดี

สังคมแห่งการแสดงความคิดเห็น

ความแตกต่างของบรรยากาศการเรียนรู้ในห้องเรียนสิ่งหนึ่งที่

เห็นได้ชัด คือ การแสดงความคิดเห็น ซึ่งผู้เขียนสังเกตว่านักเรียน

ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างมาก ไม่

ว่าจะเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ที่จัดสอนเฉพาะสำ

�หรับภาควิชา วิชา

สังคมศาสตร์ที่หลายคณะเรียนร่วมกัน ไปจนถึงวิชาพลศึกษา

นอกจากนี้หลายวิชาจะมีการจัดคาบอภิปรายไว้โดยเฉพาะ ซึ่งจะ

ไม่มีการสอนเนื้อหาใหม่แต่จะมีการนำ

�เรื่องเดิมมาคุยกัน โดยจะเปิด

โอกาสให้นักเรียนซักถามคำ

�ถามเพิ่มเติม ถกประเด็นข้อข้องใจ และ

ฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชั้น นักเรียนในสหรัฐอเมริกานั้นได้มี

โอกาสฝึกฝนการแสดงความคิดเห็นตั้งแต่เล็ก ดังที่ผู้เขียนได้เห็นจาก

ห้องเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ซึ่งนับว่าเป็นการปูพื้นฐานที่ดี เพราะ

การแสดงความคิดเห็นนี้ นอกจากจะเป็นส่วนสำ

�คัญในการพัฒนา

ทักษะการคิดวิเคราะห์ที่กล่าวถึงในข้างต้นแล้ว ยังมีความสำ

�คัญใน

กับกลุ่มวิจัยที่

Duke University

หลังจากกลับจากการ

แข่งขันชีววิทยาโอลิมปิก

ถ่ายกับอาจารย์ดาราวรรณ

เหลืองอร่ามโชติ

การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงอื่น ๆ อีกด้วย

สำ

�หรับในประเทศไทย ถึงแม้หลายฝ่ายจะเห็นความสำ

�คัญของ

การแสดงความคิดเห็นของนักเรียนในห้องเรียน และมีการผลักดัน

การจัดการเรียนการสอนในแนวนี้มากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติอาจยังไม่

เห็นผลที่ชัดเจนเท่าหรือเกิดขึ้นกับนักเรียนทุกคน ดังที่เห็นจากการที่

ผู้เขียนได้ไปสอนนักเรียนไทยหลังจากจบกลับมา ซึ่งพบว่านักเรียน

มักตอบคำ

�ถามที่ถามตรง ๆ ที่นักเรียนรู้คำ

�ตอบ มากกว่าคำ

�ถามที่ให้

แสดงความคิดเห็นหรือคำ

�ถามปลายเปิด และยังไม่กล้าแสดงความคิด

เห็นมากเท่าที่ควร ผู้เขียนอยากให้เด็กไทยมีการแสดงความคิดเห็น

มากขึ้น และไม่อยากให้มองว่าคำ

�ตอบนั้นจะถูกหรือผิด เนื่องจาก

เรื่องทุกเรื่องนั้นอาจมีการมองได้หลายมุม และเราอาจมองต่างมุมกับ

คนอื่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรใช้เหตุผลประกอบการแสดงความคิดเห็น

เป็นหลัก และยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชั้นที่แตกต่างกันไป

สำ

�หรับครู อาจารย์ และผู้ปกครองนั้น ก็สามารถช่วยสนับสนุนในจุด

นี้ได้ โดยนอกจากการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมและสนับสนุนการ

แสดงความคิดเห็นแล้ว ควรต้องเปิดกว้างกับการรับฟังความเห็นจาก

ผู้เยาว์ในบริบทของการเรียนรู้ด้วย

การรู้จักตนเอง

ถ้าจะมองกลับมาที่การเรียนรู้ สิ่งที่เราต้องเรียนรู้และวิธีการใน

การเรียนรู้นั้นมีความหลากหลาย จนบางครั้งอาจทำ

�ให้เราเน้นมอง

ถึงสิ่งภายนอกเป็นหลักและมองข้ามปัจจัยภายในตนเองไป ผู้เขียน

คิดว่าไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษา การประกอบอาชีพ หรือการ

ดำ

�รงชีวิตนั้น สิ่งที่สำ

�คัญที่ขาดไม่ได้ คือ การรู้จักตนเอง เพราะการ

รู้ว่าตนเองมีความสนใจและความถนัดด้านใด รวมทั้งจุดแข็งและจุด

อ่อนของตนนั้น จะช่วยทำ

�ให้เราสามารถประเมินศักยภาพของตนใน

การเรียนหรือการทำ

�งานได้อย่างเหมาะสม

ถึงแม้ผู้เขียนได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ หลายสิ่งจากการไปศึกษาต่อ แต่

ผู้เขียนตระหนักดีว่ายังมีสิ่งอื่นอีกมากมายที่ยังต้องเรียนรู้ และไม่

สามารถคาดการณ์ได้ทั้งหมดว่ามีอะไรบ้าง เพราะการเรียนรู้นั้นมีการ

เปลี่ยนแปลงไปกับโลกที่เปลี่ยนไปอย่างไม่หยุดนิ่งนั่นเอง