

นานาสาระ และข่าวสาร
ผลการประเมินนักเรียนร่วมกับนานาชาติ โครงการ PISA 2012
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธี
แถลงข่าวผลการประเมินในโครงการประเมิน
ผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ Programme
for International Student Assessment
(PISA 2012) พร้อมด้วยนายเสริมศักดิ์
พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
ศึกษาธิการ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี โดยมี
นางพรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อ�
ำนวยการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี (สสวท.) และนางสุนีย์ คล้ายนิล
ผู้จัดการโครงการ PISA ในประเทศไทย
(2002-2012) เป็นผู้น�
ำเสนอรายละเอียด
เกี่ยวกับการด�
ำเนินงานโครงการ เมื่อวันที่4
ธันวาคม 2556 ณ ห้องบอลรูม 2 โรงแรม
S31 ซอยสุขุมวิท 31 กรุงเทพมหานคร
กระทรวงศึกษาธิการได้วางนโยบาย
เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศ
ให้สูงขึ้น และใช้คะแนน PISA เป็นตัวชี้วัด
โดยมีเป้าหมายว่า ภายในปี 2558 ผลการ
จัดอันดับการศึกษาไทยในการสอบ PISA
ต้องอยู่ในอันดับที่สูงขึ้น
ประเทศไทยได้ร่วมโครงการมา
ตั้งแต่แรก (PISA 2000) ข้อมูลชี้ว่าหลัง
การเปลี่ยนแปลงในการปฏิรูปการศึกษา
ประเทศไทยมีผลการประเมินที่ต�่
ำลงอย่าง
ต่อเนื่องใน PISA 2003 และ PISA 2006
แต่ความตกต�่
ำได้หยุดลงใน PISA 2009
และประเทศไทยได้เห็นแนวโน้มผลการ
ประเมินที่สูงขึ้นอย่างชัดเจนในPISA 2012
โดยภาพรวม นักเรียนจากโรงเรียน
ในประเทศเอเชียตะวันออก เซี่ยงไฮ้-จีน
สิงคโปร์ ฮ่องกง-จีน จีนไทเป เกาหลี
มาเก๊า-จีน ญี่ปุ่น มีคะแนนอยู่ในกลุ่มบน
สุดสิบอันดับแรก (Top 10) ส่วนนักเรียน
ไทย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย มีคะแนน
เฉลี่ยต�่
ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ
ส�
ำหรับนักเรียนไทย โรงเรียนต่าง
กลุ่มโรงเรียนมีการกระจายของคะแนน
ที่กว้างมากมีพิสัยตั้งแต่กลุ่มที่มีคะแนน
เท่ากับกลุ่มบนสิบอันดับแรก จนถึงต�่
ำ
สุดบนตาราง กลุ่มโรงเรียนซึ่งเปรียบ
เสมือนว่านักเรียนมีการศึกษาที่ต่างกัน
อย่างน้อยสองปี
กลุ่มโรงเรียนที่มีคะแนนเท่ากับกลุ่ม
บนสุด ได้แก่ กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณ
ราชวิทยาลัย กับกลุ่มโรงเรียนสาธิตของ
มหาวิทยาลัย ส่วนกลุ่มโรงเรียนอื่น ๆ ยัง
มีคะแนนต�่
ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติทั้งหมด
ข้อมูลจึงชี้ว่าระบบการศึกษาไทย มีส่วน
หนึ่งที่มีคุณภาพ แต่ยังอยู่เฉพาะในวง
จ�
ำกัด ถ้ารัฐสามารถขยายระบบการศึกษา
ที่มีคุณภาพไปให้ทั่วถึง ประเทศไทยจะมี
ผลการประเมินที่ดีขึ้น
กลุ่มโรงเรียนที่มีส่วนท�
ำให้คะแนนของ
นักเรียนไทยเพิ่มสูงขึ้น เป็นกลุ่มโรงเรียน
ส�
ำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
(ในสังกัด ส�
ำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน) ที่เคยเป็นกลุ่มต�่
ำใน
การประเมินครั้งก่อน ๆ กลุ่มนี้มีคะแนน
เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าหนึ่งระดับ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในวิชาคณิตศาสตร์ แสดงให้เห็น
ว่านักเรียนกลุ่มอ่อนมีศักยภาพที่จะมีผล
การประเมินที่สูงขึ้นไม่ยากนัก ถ้าได้รับ
การส่งเสริมสนับสนุนที่ดีพอ ส่วนกลุ่ม
โรงเรียนอื่น ๆ มีคะแนนเกือบคงที่หรือ
เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย และมีบางกลุ่มที่
คะแนนลดลง
ข้อสังเกตที่ส�
ำคัญสองประการ คือ 1)
นักเรียนไทยทั้งกลุ่มสูงและกลุ่มต�่
ำยังคงมี
จุดอ่อนอยู่ที่ด้านการอ่านและการใช้ภาษา
ทั้งสองกลุ่ม และ 2) ผลการประเมินชี้ว่า
นักเรียนไทยมีคะแนนลดต�่
ำลงมากหลัง
จากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการปฏิรูป
การศึกษาในปี พ.ศ. 2542 และตกต�่
ำลง
เรื่อย ๆ จนกระทั่ง PISA 2009 และเพิ่ง
เริ่มสูงขึ้นชัดเจนในการประเมิน PISA 2012
ดังนั้นการยกระดับควรท�
ำในที่ที่เป็นจุดอ่อน
ส่วนการเปลี่ยนแปลงใหญ่ทั้งระบบอาจส่ง
ผลกระทบให้เกิดแบบเดิมได้อีก
ข่าว สสวท.
นิตยสาร สสวท.
58