

58
นิตยสาร สสวท.
นายสัทธนะ เสียงเสนาะ และ นายชลธร บัวอุย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา อ�
ำเภอสัตหีบ จังหวัด
ชลบุรี ได้จัดท�
ำงานวิจัย เรื่อง “การศึกษาปริมาณแพลงก์ตอนพืชสกุลเด่นบริเวณแหลมแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี”
ผลงานนี้มีอาจารย์สุนันท์ พุทธภูมิ เป็นครูที่ปรึกษางานวิจัย พร้อมทั้ง ดร.วิชญา กันบัว ดร.สลิล ขันโรจน์ และ ดร.กัญจน์ชญา
หงส์เลิศคงสกุล เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ปรึกษา และได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประชุมน�
ำเสนอผลงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ระดับโรงเรียน ประจ�
ำปี 2557 จากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โดยจะได้รับการสนับสนุนให้เข้าร่วม
น�
ำเสนอผลงานวิจัยในการประชุม GLOBE Learning Expedition 2014 ในเดือนสิงหาคม 2557 ณ เมืองนิวเดลี ประเทศอินเดีย
จากการศึกษาปริมาณแพลงก์ตอนพืชสกุลเด่นบริเวณแหลมแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ซึ่งได้เก็บตัวอย่างทุกเดือน เดือนละ 2 ครั้ง
ตั้งแต่เดือนเมษายน – ธันวาคม พ.ศ. 2556 จ�
ำนวน 2 สถานี ได้ผลสรุปว่า พบปริมาณแพลงก์ตอนพืชสกุลเด่น คือ
Chaetoceros
และ
Rhizosolenia Chaetoceros
มีความหนาแน่นมากกว่า
Rhizosolenia
โดยพบ
Chaetoceros
เท่ากับ 709.72 เซลล์/ลิตร
ส่วน
Rhizosolenia
เท่ากับ 580.28 เซลล์/ลิตร
เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติทางกายภาพกับปริมาณแพลงก์ตอนพืช พบว่า อุณหภูมิของน�้
ำทะเลที่เพิ่มขึ้นมีผลท�
ำให้
ความหนาแน่นของปริมาณแพลงก์ตอนพืชลดลง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานงานวิจัยบางส่วน สมบัติทางกายภาพอื่น ๆ ได้แก่ ค่า pH
ค่าความเค็มและค่าความขุ่นใส ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับปริมาณแพลงก์ตอนพืช แต่ยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน เนื่องจากในช่วงของ
การศึกษาวิจัยนั้น ค่า pH ค่าความเค็มและค่าความขุ่นใส ไม่มีความเปลี่ยนแปลงไปจากค่าปกติของสมบัติกายภาพของน�้
ำทะเลมากนัก
ดังนั้น การศึกษาความสัมพันธ์ของสมบัติกายภาพของน�้
ำทะเลกับปริมาณแพลงก์ตอนพืช ควรท�
ำการศึกษา 2-3 ปีต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม มีข้อที่น่าสังเกตคือเรื่องอุณหภูมิน�้
ำทะเล ในรอบปีที่ท�
ำการศึกษาไม่มีปรากฎการณ์
เอลนินโญ่
แต่อุณหภูมิน�้
ำทะเลก็
สูงขึ้นในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม ซึ่งมีผลท�
ำให้ปริมาณแพลงก์ตอนพืชลดลงด้วย นอกจากนี้ปริมาณแพลงก์ตอนพืชที่เพิ่มขึ้นหรือ
ลดลงเกี่ยวข้องกับผู้ล่า
โดยจะเห็นได้ว่าเมื่อปริมาณแพลงก์ตอนพืชเพิ่มขึ้นสูงสุดแล้วต่อมาก็จะลดลง
อาจารย์สุนันท์ พุทธภูมิ ครูวิทยาศาสตร์ โรงเรียนพลูตาหลวงวิทยา กล่าวว่า การฝึกให้นักเรียนเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
ได้ท�
ำงานวิจัยต่าง ๆ มีความส�
ำคัญมาก เนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมมีความรุนแรงขึ้น การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ จึงต้องเรียนรู้ควบคู่
ไปกับสิ่งแวดล้อม
นายสัทธนะ เสียงเสนาะ ผู้วิจัย เล่าว่า พื้นที่วิจัยนั้น เป็นบ้านเกิดของผมเอง ซึ่งเมื่อก่อนเคยมีสภาพแวดล้อมที่ดีกว่านี้ แต่ตอนนี้
เสื่อมโทรมลงมาก จึงอยากศึกษาและพัฒนาสภาพแวดล้อมท้องถิ่นให้ดีขึ้น เฝ้าระวังผลกระทบต่าง ๆ ที่ก�
ำลังจะเกิดขึ้น และพัฒนา
ชุมชนแสมสารให้ดีขึ้นต่อไป รางวัลที่ได้รับท�
ำให้เกิดแรงผลักดัน ความกระตือรือร้นมากขึ้น เพราะจะต้องเดินทางไปน�
ำเสนอผลงาน
ต่อที่ประเทศอินเดียด้วย
เยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อมถิ่นเกิดแหลมแสมสาร