Previous Page  53 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 53 / 62 Next Page
Page Background

53

ปีที่ 42 ฉบับที่ 190 กันยายน- ตุลาคม 2557

ตลอดเวลา 8 ปีที่โรงเรียน La Flèche Descartes ได้รับ

การศึกษาที่ทันสมัยและได้พบว่าชอบคณิตศาสตร์มากที่สุด เมื่อส�

ำเร็จ

การศึกษา Descartes เชื่อว่า มนุษย์มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ค่อน

ข้างน้อย และส�

ำหรับตัวเองรู้สึกว่า โง่มาก Descartes มีความเห็นอีก

ว่า คณิตศาสตร์เป็นวิชาเดียวเท่านั้นที่ควรค่าแก่การศึกษา เพราะมี

ค�

ำตอบที่แน่นอน แม้จะยังมิได้ถูกน�

ำไปประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานของ

วิทยาการสาขาอื่นมากเท่าที่ควร ถึงจะมีความคิดเห็นในเชิงลบ

Descartes ก็ยังแอบเรียนคณิตศาสตร์ตามที่ตนเองชอบ และศึกษา

วิชากฎหมายตามที่บิดาต้องการที่มหาวิทยาลัย Poitiers เป็นเวลา 2 ปี

Descartes ส�

ำเร็จปริญญาตรีสาขากฎหมายเมื่ออายุ 20 ปี และ

ตัดสินใจไม่เรียนต่อ แต่จะเดินทางไปหาประสบการณ์และความรู้

โดยการท่องเที่ยว เพราะได้รับมรดกมหาศาล ดังนั้นจึงไม่ต้องพึ่งพาใคร

Descartes ได้ตัดสินใจสมัครเป็นทหาร ซึ่งตามปกติคนฐานะดีที่

เข้ามาสมัครเป็นทหารไม่ใช่เพื่อต้องการต่อสู้ข้าศึก แต่เพื่อเกียรติ และ

ต�

ำแหน่งอีกทั้งยังได้เดินทางไปต่างประเทศบ่อยด้วยดังนั้นDescartes

จึงตัดสินใจสมัครเป็นทหารบกภายใต้บังคับบัญชาของเจ้าชาย

แห่งฝรั่งเศส Maurice of Nassau Prince of Orange ซึ่งก�

ำลัง

ต่อสู้กับกองทัพสเปนที่ก�

ำลังพยายามยึดคืนอาณานิคมของ

ฝรั่งเศสในฮอลแลนด์

หลังจากที่ใช้ชีวิตเป็นทหาร 1 ปี Descartes ได้สมัครเป็น

ทหารของท่านดยุคแห่ง Bavaria แต่ไม่ได้สู้รบใคร วันหนึ่งใน

เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1619 Descartes ฝันว่าได้อ่านหนังสือที่

ท�

ำให้รู้วิธีที่จะค้นหาความรู้ Descartes จึงตัดสินใจจะแสวงหา

ความจริงด้วยการท�

ำงานตามล�

ำพังด้วยจิตใจที่เด็ดเดี่ยวมั่นคง

โดยเริ่มต้นจากความว่างเปล่า และตั้งประเด็นสงสัยในความรู้

ทุกเรื่องที่ได้เคยร�่

ำเรียนมา หรือที่อาจารย์สอน นั่นหมายความว่า

สิ่งเดียวที่ Descartes มั่นใจในการค้นหาความจริงคือ Descartes

มีตัวตน ส่วนประเด็นนอกนั้นเป็นเรื่องที่ต้องสงสัยหมด

หลังจากที่ได้ลาออกจากราชการทหาร Descartes ได้เดินทาง

ไปท่องเที่ยวในยุโรป และแวะเยี่ยมเยือนบรรดานักวิทยาศาสตร์

จนถึงปี ค.ศ.1628 Descartes จึงตัดสินใจกลับไปตั้งรกราก

ในฮอลแลนด์ เพราะรู้สึกว่าชาวฮอลแลนด์ชอบรับฟังและยอมรับ

ความคิดใหม่ ๆ ดีกว่าชนชาติอื่น

ตามปกติ Descartes ชอบใช้ชีวิตโดดเดี่ยว และมีเพื่อนสนิท

เพียงไม่กี่คน ในช่วงเวลาที่พ�

ำนักอยู่ที่ฮอลแลนด์ เมื่อมีชื่อเสียง

จนผู้คนรู้จักดี Descartes ได้เปลี่ยนที่พักถึง 24 ครั้ง เพื่อไม่ให้

ใครรู้ว่าเขาอยู่ที่ใด

Descartes มีผลงานเขียนมากที่สุดขณะพ�

ำนักอยู่ ใน

ฮอลแลนด์ เพราะเป็นคนต้องการรู้ทุกเรื่อง ดังนั้น งานเขียนของ

Descartes จึงครอบคลุมแทบทุกสาขาวิชา ทั้งฟิสิกส์ ดาราศาสตร์

อุตุนิยมวิทยา ทัศนศาสตร์ คัพภวิทยา กายวิภาควิทยา สรีรวิทยา

จิตวิทยา ธรณีวิทยา แพทยศาสตร์ และโภชนาการศาสตร์ ผลงาน

ส�

ำคัญที่สุดในมุมมองของ Descartes คืองานที่ตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1637

เรื่อง “A Discourse on the Method of Rightly Conducting

Reason and Seeking Truth in the Sciences” ซึ่งมีแนวคิดว่า

เวลามีปัญหาที่ต้องการค�

ำตอบ ให้แยกปัญหานั้นออกเป็นส่วนย่อย

แล้วแก้ปัญหาของส่วนย่อยนั้น แต่คนทั่วไปกลับคิดว่า ผลงาน

ระดับสุดยอดของ Descartes คือ บทความยาว 106 หน้าใน

หนังสือ La Géométric ซึ่งเป็นวิชาใหม่ คือ เรขาคณิตวิเคราะห์

ซึ่งเกิดจากการสังเคราะห์พีชคณิตกับเรขาคณิต ทั้ง ๆ ที่ในอดีต

นักคณิตศาสตร์ทั้งหลายเคยคิดว่า วิชาทั้งสองไม่เกี่ยวข้องกัน

ในการให้ก�

ำเนิดเรขาคณิตวิเคราะห์นั้น โลกมีต�

ำนานเล่าว่า ขณะ

Descartes ไปเยี่ยม C. Mersenne ที่ห้องพัก เขาเห็นแมลงวันบิน

วนไปมาในห้อง และในความพยายามจะบอกต�

ำแหน่งของ

แมลงวันบนผนังห้อง Descartes มีจินตนาการว่า ถ้าที่ผนังห้องมี

แกนสองแกนตั้งฉากกัน เราสามารถก�

ำหนดต�

ำแหน่งของแมลงวัน

ได้จากระยะทางที่มันอยู่ห่างจากแกนทั้งสอง การบอกต�

ำแหน่งใน

ลักษณะนี้ ปัจจุบันเราเรียก กราฟ (Graph) ที่มีแกน y อยู่ในแนวดิ่ง

และแกน x อยู่ในแนวราบ ถ้าแมลงวันคลานไปในแนวท�

ำมุม

45 องศากับแกนทั้งสอง และผ่านจุดก�

ำเนิดสมการทางเดินของ

แมลงวันในสองมิติคือ y = x วิทยาการสาขาใหม่ที่ Descartes

สร้างนี้มีประโยชน์ในการลากเส้นกราฟและท�

ำแผนที่ ที่มีแกนสอง

แกนตั้งฉากกัน และจุดตัดของแกนทั้งสองคือจุดก�

ำเนิด หลังจาก

ที่ได้ก�

ำหนดหน่วยบนแกนทั้งสอง Descartes ได้แสดงให้เห็นว่า

ต�

ำแหน่งของจุดทุกจุดบนระนาบ (เรียกระนาบคาร์ทีเซียน)

สามารถระบุได้ด้วยเลข 2 จ�

ำนวน ซึ่งบอกระยะทางของจุดนั้นใน

แนวนอน และแนวดิ่ง จากนั้น Descartes ได้แสดงเส้นโค้งต่าง ๆ

เช่น วงรี วงกลม ไฮเปอร์โบลา พาราโบลา ฯลฯ สามารถแทนได้

ด้วยสมการพีชคณิต ดังนั้น การแก้โจทย์เรขาคณิต ก็อาจท�

ำได้โดย

การแก้โจทย์พีชคณิต ในเวลาต่อมาพิกัดคาร์ทีเซียนใน 2 มิติก็ได้

รับการเพิ่มเสริมให้ครอบคลุมระบบที่มี 3 มิติ