Previous Page  54 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 54 / 62 Next Page
Page Background

54

นิตยสาร สสวท.

วิชา เรขาคณิตที่มีสมการพีชคณิตก�

ำกับ ได้ ช่ วยให้

นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์การเคลื่อนที่ทุกรูปแบบได้ เพราะเวลา

มีสมการ เทคนิคทางคณิตศาสตร์สามารถแสดงได้ว่า อะไรจะเกิดขึ้น

ถ้าเรายิงกระสุนให้มีความเร็วมากขึ้น โดยไม่ต้องทดลองยิงจริง

การที่ Descartes น�

ำเทคนิคพีชคณิตมาใช้ในเรขาคณิต

ท�

ำให้เห็นสมบัติเชิงเรขาคณิตของรูปทรงต่างๆ ชัด ผลงานนี้นับ

เป็นผลงานที่จีรังยั่งยืนที่สุด

แม้ Pierre de Fermat จะคิดวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ได้ก่อน

Descartes แต่ de Fermat ก็มิได้ตีพิมพ์ผลงานของตน ดังนั้น

เกียรติในการสร้างวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์จึงเป็นของ Descartes

แต่เพียงผู้เดียว

ปัจจุบันทุกคนที่ใช้กราฟ หรือใช้แผนที่ในการเดินทางล้วนใช้

ประโยชน์ของวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์ที่มี Descartes เป็นผู้ให้ก�

ำเนิด

ผลงานของ Descartes นี้นับว่ายืนยงยิ่งกว่าผลงานอื่น ๆ ทั้งหมด

ในปี ค.ศ.1649 ชื่อเสียงของ Descartes ได้แพร่กระจายไปทั่ว

ยุโรปว่าเป็นนักปรัชญา นักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่

ที่สุดของยุโรปชื่อเสียงนี้ได้ท�

ำให้สมเด็จพระราชินีแห่งสวีเดนทรงเชิญ

ให้ Descartes เป็นพระอาจารย์ในพระองค์ และเป็นผู้บริหารของ

สถาบันSwedishAcademyof Scienceหลังจากที่สมเด็จพระราชินี

Christina ซึ่งมีพระชนมายุ 23 พรรษาทรงรบเร้าเชิญ Descartes

มาร่วมท�

ำงานกับนักวิชาการที่กรุง StockholmในสวีเดนDescartes

จึงตกลงใจรับค�

ำเชิญ และพระราชินี Christina ได้ทรงส่งเรือมารับ

Descartes ไปสวีเดน ทั้ง ๆ ที่เป็นฤดูหนาว แต่สมเด็จพระราชินีก็ไม่

ทรงเอื้ออาทร เพราะทรงขอให้ Descartes ตื่นแต่เช้าตรู่มาถวาย

พระอักษรด้านปรัชญาแด่พระนางสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ตั้งแต่เวลา

ตี 5 จนถึงเวลา 11 โมงเช้า

ด้วยสุขภาพที่ไม่แข็งแรง และอากาศที่หนาวจัด Descartes

ได้ล้มป่วยเป็นโรคปอดบวม และเสียชีวิตที่ Stockholm เมื่อ

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1650

Descartes เชื่อว่า ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติสามารถ

อธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ (ธรรมชาติในที่นี้ Descartes

หมายความถึงมนุษย์ด้วย) แต่การเป็นคนชอบความสันโดษ และ

ชอบเก็บอารมณ์ ท�

ำให้บางคนคิดว่า Descartes เป็นคนที่

ต่อต้านการมีความรู้สึกผูกพันกับใคร และต่อต้านสังคม แต่

Descartes มีลูกสาวลับคนหนึ่งชื่อ Francine ซึ่ง Descartes

รักมาก และแม่ของเด็ก คือ คนรับใช้ของ Descartes นั่นเอง

ในปี ค.ศ. 1640 ที่เด็กคนนี้เสียชีวิตด้วยโรคด�

ำแดง Descartes

ได้เรียบเรียงหนังสือเล่มหนึ่ง โดยให้ชื่อของเธอปรากฏที่หน้าหนึ่ง

ของหนังสือนั้น แต่ไม่มีการกล่าวถึงชื่อแม่เธอแต่อย่างใด

ผลงานวิทยาศาสตร์อื่นของ Descartes ที่ส�

ำคัญ คือการพบ

ว่า แสงมีสมบัติเป็นคลื่น และวิธีวิเคราะห์ความคลาดเชิงทรงกลม

(spherical aberration) ของเลนส์หรือกระจกโค้งที่มีขนาดใหญ่

จนท�

ำให้เลนส์หรือกระจกโค้งไม่สามารถโฟกัสแสงได้ ในปี ค.ศ.

1611 Descartes ได้เรียบเรียงต�

ำรา “On the Rays of Sight

and Light” ซึ่งกล่าวถึงที่มาของรุ้งกินน�้

ำชนิด ปฐมภูมิ และทุติยภูมิ

ส�

ำหรับรุ้ งปฐมภูมินั้น Marco Antonio de Dominis

ได้อธิบายว่าเกิดจากการสะท้อนของรังสีในหยดน�้

ำเพียงครั้ง

เดียว แล้วหักเหออก ส่วน Descartes ได้อธิบายสาเหตุการเกิด

รุ้งทุติยภูมิว่า เกิดจากการสะท้อนของรังสีในหยดน�้

ำสองครั้ง

แล้วหักเหออก Descartes ได้พบอีกว่า สารต่างชนิดกันมีความ

สามารถในการรับและคายความร้อนได้ดีไม่เท่ากัน นี่คือความรู้

เรื่องความร้อนจ�

ำเพาะที่นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันรู้จักดี

ขณะพ�

ำนักในฮอลแลนด์ Descartes ได้รู้จักนักวิทยาศาสตร์

ที่มีชื่อเสียงหลายคน และได้วิจัยทัศนศาสตร์หลายเรื่อง เช่น

พบกฎการหักเหของแสง ในเวลาไล่เรี่ยกับ Williebrord Snell

พบว่าเลนส์ตาคนมีบทบาทในการท�

ำให้เห็นภาพ ส�

ำหรับผลงาน

ด้านอุตุนิยมวิทยานั้น ต�

ำรา Les Météores ของ Descartes

ก็มีส่วนช่วยให้ Robert Boyle พบกฎของ Boyle และเมื่อต�

ำรา

Le Monde ou Traité de la Lumière ที่ Descartes

เขียนเกี่ยวกับวิชาธรณีวิทยามีเนื้อหาบางตอนขัดแย้งกับค�

ำสอน

ในคริสต์ศาสนา Descartes ได้ยับยั้งการตีพิมพ์ เพราะจ�

ำได้ว่า

Galileo เคยถูกจับกุมด้วยข้อหาต�

ำหนิค�

ำสอนของศาสนาหลาย

เรื่อง จะอย่างไรก็ตามหนังสือเล่มนี้ ได้ปรากฏในบรรณโลก

หลังจากที่ Descartes ได้เสียชีวิตไปแล้ว

Descartes เชื่อว่ากลศาสตร์ที่มีคณิตศาสตร์เสริมสามารถ

อธิบายเหตุการณ์ทางฟิสิกส์ได้ แต่ Descartes ไม่เชื่อเรื่องแรง

โน้มถ่วงของนิวตัน โดยให้เหตุผลว่า ถ้าวัตถุอยู่ห่างกัน แรง

ระหว่างวัตถุไม่น่าจะมี และ Descartes เชื่อว่า ในกรณี

ดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ เพราะถูกกระแสคลื่น ether

ในอวกาศผลัก โดย ether ท�

ำหน้าที่เป็นตัวกลางให้แสงอาทิตย์

เดินทางถึงโลก