

55
ปีที่ 42 ฉบับที่ 190 กันยายน- ตุลาคม 2557
ในปี 1637 Descartes ได้เรียบเรียงหนังสือชื่อ
“
A Discourse
on Method
”
ซึ่งมีอิทธิพลมากต่อความคิดของนักวิทยาศาสตร์
ในเวลาต่อมา โดยได้ย�้
ำว่า นักวิทยาศาสตร์ไม่ควรถกเถียง
กับนักบวชว่า ค�
ำสอนต่าง ๆ ในคัมภีร์ไบเบิลเป็นเรื่องจริงหรือไม่
แต่ควรสงสัยในความ “จริง” ทุกเรื่อง และเลิกสงสัยเมื่อสิ่งนั้น
ได้รับการพิสูจน์ นอกจากนี้ การจะรู้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเรื่องที่
เป็นไปได้ และเมื่อมนุษย์คิด ไม่ว่าจะคิดผิด คิดถูก หรือคิดเพี้ยน
การคิดจะท�
ำให้รู้ว่าตัวเองมีตัวตน Descartes ได้เอ่ยค�
ำกล่าวที่
เป็นอมตะว่า Cognito, ergo sumซึ่งแปลว่า I think, therefore I am
หนังสือเล่มนี้ยังกล่าวถึงความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ว่ า
อาจเปลี่ยนแปลงได้ และนักวิทยาศาสตร์ต้องใช้ความคิดในการ
แก้ปัญหาทุกเรื่อง อนึ่งเวลาแก้ปัญหา นักวิทยาศาสตร์ควร
พยายามหาค�
ำตอบที่ง่ายที่สุดก่อน แล้วต่อมาจึงพยายามหาค�
ำตอบที่
ซับซ้อนยิ่งขึ้น นั่นคือ Descartes คิดว่าค�
ำตอบน่าจะเป็นเรื่อง
ตรงไปตรงมามากกว่าเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ในท�
ำนองเดียวกับที่
เส้นตรงเป็นรูปทรงที่ง่ายกว่าเส้นโค้ง อย่างไรก็ตามเมื่อได้ค�
ำตอบ
แล้ว ก็ให้พิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นว่าจะเป็นเช่นไรเพื่อให้รู้ว่า
ค�
ำตอบนั้นถูกหรือผิด
หลังจากที่ Descartes เสียชีวิต 16 ปี โลงศพของ Descartes
ถูกน�
ำออกจากสุสานของโบสถ์Adolf Fredriks ในกรุง Stockholm
ประเทศสวีเดนไปเก็บที่บ้านพักของเอกอัครราชทูตฝรั่งเศส
ประจ�
ำสวีเดน ชื่อ Hugues de Terlon ซึ่งได้เปิดฝาโลงออก
แล้วน�
ำชิ้นส่วนต่าง ๆ ของศพใส่ในโลงทองแดงเพื่อน�
ำไปเก็บที่
โบสถ์ St. Geneviève ในกรุงปารีส
ในหนังสือ “Descartes’s Bones: A Skeletal History of
the Conflict Between Faith and Reason” ที่ Russell
Shorto เรียบเรียง และจัดพิมพ์โดย Doubleday ในปี 2008
Shorto เล่าว่า หลังจากที่ Descartes เสียชีวิต คนที่ศรัทธาใน
ความสามารถของ Descartes ได้พากันเก็บกระดูกของเขาเพื่อ
น�
ำไปบูชาหรือเป็นที่ระลึก บ้างก็มอบเป็นมรดกให้ลูกหลาน เช่น
กระดูกนิ้วชี้มือขวาของ Descartes ถูกตัดแยกออกจาก
โครงกระดูกทั้งหมด เพราะคนที่คลั่งไคล้ในตัว Descartes เชื่อว่า
นิ้วชี้นั้นมีบทบาทมากในการเขียนความคิดทางปรัชญาของผู้ตาย
ครอบครัวชาวสวีเดนครอบครัวหนึ่งอ้างว่าได้ตัดส่วนที่เป็น
กระโหลกศีรษะของ Descartes ไปเก็บเป็นที่ระลึก เพราะถือว่า
อวัยวะส่วนนี้ คือ ต้นก�
ำเนิดของแนวคิดอย่างมีเหตุผลของมนุษย์
เมื่อเกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศส Alexandre Lenoir
ซึ่งเป็นคนรับผิดชอบการดูแลรักษากระดูกของคนส�
ำคัญของ
ฝรั่งเศสได้รับค�
ำสั่งให้น�
ำกระดูกของ Descartes จากโบสถ์
St. Geneviève ไปวางที่ Panthéon ตามค�
ำบัญชาของคณะปฏิวัติ
แต่เขากลับน�
ำไปเก็บในสวนส่วนตัว ณ วันนี้จึงไม่มีใครรู้ว่าชิ้นส่วน
ของกระดูกที่ Lenoir เก็บในสวนเป็นของ Descartes ทั้งหมดหรือไม่
เพราะในระหว่างปี ค.ศ. 1640 – 1660 นักเก็บสะสมของแปลก
และหายากชาวอังกฤษชื่อ John Bargrave หลังจากที่ได้เดินทาง
ไปแสวงหาของหายากในยุโรป เมื่อกลับถึงอังกฤษได้มอบกระดูก
ของนักบุญ 31 องค์ แหวน สร้อย ฯลฯ ที่ได้เก็บสะสมมาเป็นเวลา
นานแก่บาทหลวงแห่ง Canterbury Cathedral โดยมีค�
ำบรรยาย
ก�
ำกับว่า หาได้จากที่ใด คืออะไร และได้มาเมื่อใด ประเด็นที่น่า
สนใจคือ ในบรรดาสิ่งที่ Bargrave เก็บสะสมนั้น มีการอ้างว่า เป็น
กระดูกนิ้วมือขวาของ Descartes ด้วย
ส่วนที่เป็นกระโหลกศรีษะของ Descartes นั้น ก็มีคนหลาย
คนอ้างเก็บ เช่นในปี ค.ศ.1821 นักชีววิทยาชื่อ George Cuvier
อ้างว่า มีกระโหลกของ Descartes ในครอบครอง แต่ไม่มีใคร
พิสูจน์ยืนยัน ณ วันนี้ กระโหลกนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Musée de L’
Homme ใน Palais de Chaillot ที่ปารีส
(ที่มา
http://www.amazon.com/Discourse-Method-Meditations-Philo
sophy-Principles/dp/144172365X)
(ที่มา
http://www.general-ebooks.com/search/rene-descartes-discourse-
on-the-method/2)
บรรณานุกรม
Damasio, António R. (1994).
Descartes’ Error
:
Emotion,
Reason and the Human Brain.
Grosset/Putnam.