Previous Page  50 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 50 / 62 Next Page
Page Background

50

นิตยสาร สสวท.

เป็นที่น่าสังเกตว่าสาเหตุส�

ำคัญที่ท�

ำให้ครูต้องการพัฒนา

ตนเองมักเป็นสาเหตุที่เกิดจากงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น ภาระ

งาน หรือการสอนที่ไม่ตรงกับวิชาเอก สาเหตุเหล่านี้สะท้อนให้เห็น

ว่าควรต้องมีการทบทวนระบบการมอบหมายงานภายในโรงเรียน

ไม่ว่าจะเป็นการจัดครูสอนให้ตรงวิชาเอก หรือการจ�

ำกัดภาระงาน

ที่ไม่เกี่ยวกับงานสอนไม่ให้เป็นภาระงานของครูมากเกินไป

วิธีการใด ที่ครูคาดว่าจะช่วยแก้ไขความต้องการจ�

ำเป็นใน

การพัฒนาสมรรถนะของครูได้

การจะพัฒนาสิ่งใดให้ได้ผลย่อมต้องหาวิธีการที่เหมาะสม

กับสิ่งนั้น ๆ ในท�

ำนองเดียวกัน การที่จะพัฒนาครูให้ได้ผลลัพธ์

อย่างเป็นรูปธรรม ย่อมต้องหาวิธีการพัฒนาให้เหมาะสมกับครู

เช่นกัน การพัฒนาสมรรถนะของครูที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีคือการฝึก

อบรม เนื่องจากการฝึกอบรมเป็นการถ่ายทอดความรู้เพื่อเพิ่มพูน

ความสามารถ ทักษะและความช�

ำนาญ เพื่อช่วยให้การปฏิบัติงาน

เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะการฝึกอบรมมีทั้ง

เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ และการอบรมให้ความรู้ จะจัดการ

ฝึกอบรมในลักษณะใดก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่จะอบรม

แต่จะฝึกอบรมหัวข้ออะไรจึงจะตอบโจทย์ครูและสามารถ

แก้ปัญหาความต้องการจ�

ำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัด

การเรียนการสอนของครูได้ดีที่สุด

ผลจากการศึกษาด้วยการ

วิเคราะห์ลิสเรลแสดงให้เห็นว่าการอบรมเกี่ยวกับการวัดผล

ประเมินผล เป็นวิธีการที่ครูคาดว่าจะแก้ปัญหาความต้องการ

จ�

ำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของครูได้ดีที่สุด เพราะการวัดผล

ประเมินผลถือว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่ส�

ำคัญในการจัดการเรียน

การสอนเพราะเป็นทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนานักเรียน และใช้

วัดผลการเรียนรู้ของนักเรียนด้วย

ส�

ำหรับหัวข้อการฝึกอบรมอื่น ๆ ที่ครูคาดว่าจะช่วยแก้ไขความ

ต้องการจ�

ำเป็นใน

การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการ

สอนได้ดีรองลงมาคือ การฝึกอบรมเกี่ยวกับการเสริมเนื้อหาหรือ

เกร็ดความรู้นอกเหนือหลักสูตร การใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ

เพื่อการจัดการเรียนรู้การท�

ำโครงงาน และการท�

ำวิจัยในชั้นเรียน

ตามล�

ำดับ หากจัดการฝึกอบรมในหัวข้อดังกล่าวจะช่วยพัฒนา

สมรรถนะครูได้ดี ช่วยลดช่องว่างระหว่างสภาพที่คาดหวังและสภาพ

ที่เป็นอยู่จริงให้แคบลง จึงเป็นการแก้ไขความต้องการจ�

ำเป็นของครูได้

บรรณานุกรม

สุภกร บัวสาย. (2556). ฟินแลนด์: มหัศจรรย์การศึกษา. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2556, จาก

http://apps.qlf

.

or.th/Member/UploadedFiles/prefix-24082556-040646-G1t4nJ.pdf

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550).

การวิจัยประเมินความต้องการจ�

ำเป็น.

กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ส�

ำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552).

รายงานการวิจัยสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการ

จัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วน

จ�

ำกัด วี.ที.ซี คอมมิวนิเคชั่น.