

47
ปีที่ 42 ฉบับที่ 190 กันยายน- ตุลาคม 2557
จุฑามาส สรุปราษฎร์
ผู้ช�
ำนาญ สาขาวิจัย สสวท. / e-mail
:csaru@ipst.ac.thสังคมโลกมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สังคมไทยจึงควรมีการเตรียมพร้อม
เพื่อรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้เมื่อมี
การรวมกลุ่มของประเทศในเขตอาเซียนเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Economic Community) ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะท�
ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในหลายด้านโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ และย่อมตามมาด้วยความก้าวหน้าทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการแข่งขันระหว่างประเทศที่เพิ่มมากขึ้น การเพิ่ม
ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต้องอาศัยประชากรที่มีคุณภาพ
ซึ่งพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีถือเป็นรากฐาน
ส�
ำคัญของการพัฒนาคุณภาพคนและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
นอกจากนี้ องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยียังเกี่ยวข้องกับ
วิถีชีวิตของทุกคนในสังคม
การเรียนกระตุ้นความคิด
ความต้องการจ�
ำเป็นในการ
พัฒนาสมรรถนะ
ส�
ำหรับ
ครูผู้สอน
วิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
ดังนั้นจึงจ�
ำเป็นต้องให้ความส�
ำคัญกับ
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งการจัดการ
เรียนการสอนมีองค์ประกอบหลายอย่าง
และหนึ่งในนั้นคือผู้สอนหรือครูซึ่งเป็น
องค์ประกอบที่ส�
ำคัญเพราะครูเป็นบุคคล
ที่มีบทบาทในการจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้ครูจัดการเรียนการสอนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ จ�
ำเป็นต้องมีการพัฒนาครู
ให้มีคุณภาพเสียก่อน เพราะจากการ
ศึกษาของส�
ำนักงานเลขาธิการสภาการ
ศึกษาพบว่าในการจัดการเรียนการสอนยัง
มีปัญหาด้านครูอีกหลายปัญหา เช่น ครูมี
ศักยภาพไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียน
การสอน หรือการพัฒนาอบรมครูไม่
สอดคล้องกับความต้องการของครู การที่
จะพัฒนาให้ได้ผลนั้นย่อมต้องทราบก่อน
ว่าครูขาดสมรรถนะด้านใดและต้องการได้
รับการพัฒนาด้านใดบ้าง ดังนั้นจึงจ�
ำเป็น
ต้องมีการศึกษาให้ทราบแน่ชัดก่อนเพื่อ
ให้การพัฒนาสอดคล้องกับความต้องการ
ของครู ซึ่งในบทความนี้จะชี้ให้เห็นว่าควร
ต้องให้ความส�
ำคัญกับการพัฒนาครูด้าน
ใดก่อนหรือหลัง สาเหตุใดที่ท�
ำให้ครู
ต้องการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียน
การสอนของตนเอง และมีแนวทางใดที่จะ
ช่วยแก้ไขปัญหาของครูได้ ซึ่งองค์ความรู้
เหล่านี้เป็นผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวนการ
วิจัยประเมินความต้องการจ�
ำเป็น
ก่อนที่จะกล่าวถึงสมรรถนะต่าง ๆ
ด้านการจัดการเรียนการสอนที่ครูจ�
ำเป็น
ต้องได้รับการพัฒนามีสิ่งที่ต้องท�
ำความ
เข้าใจกันก่อนคือ การประเมินความต้องการ
จ�
ำเป็น (needs assessment) ซึ่งการ
ประเมินความต้องการจ�
ำเป็นนี้เป็นกระบวน
การเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่าง
สภาพที่ควรจะเป็น (what should be) และ
สภาพที่เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน (what is) หาก
พบว่ามีความแตกต่างระหว่าง 2 สภาพใน
ลักษณะที่สภาพที่ควรจะเป็นนั้นคาดหวัง
ไว้สูงแต่สภาพที่เป็นจริงนั้นต�่
ำกว่ามาก ก็จะ
เกิดเป็นช่องว่างและเป็นการชี้ให้เห็นถึง
ปัญหาที่เกิดขึ้นหากช่องว่างนั้นกว้างแสดงว่า
จ�
ำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วนก่อน
ที่จะเกิดผลเสียหาย