

51
ปีที่ 42 ฉบับที่ 190 กันยายน- ตุลาคม 2557
การเรียนกระตุ้นความคิด
เว็บ
ช่วยสอน
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งชาติ สถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian National
Museum of Natural History) ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติของโลก ก�
ำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิต
วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยรวบรวมภาพถ่าย
สิ่งของ ซากสิ่งมีชีวิต และข้อมูลที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมายจากทั่วโลก
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันจัดแสดงบนพื้นที่ขนาดเทียบเท่าสนามอเมริกัน
ฟุตบอล 18 สนาม และยังสามารถเข้าชมออนไลน์ผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์พกพา
http://www.mnh.si.edu/vtp/2-mobile/เสมือนเรา
เดินชมในสถานที่จริงได้อีกด้วย เราสามารถหมุนดูทุกมุมมองในพิพิธภัณฑ์
ได้ 360 องศา ด้วยเม้าส์และคีย์บอร์ด ขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นในจุดที่
สนใจ มีแผนที่แสดงจุดเข้าชมแยกตามชั้นต่าง ๆ ในอาคารพร้อมลิงก์ไปยัง
จุดเข้าชมเหล่านั้น และภาพถ่ายเพิ่มเติมในจุดที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นการเปิด
โอกาสให้เข้าถึงแหล่งความรู้จากพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ไกลถึงสหรัฐอเมริกา อันจะ
ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก ๆ หันมาสนใจวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้นด้วย
Panoramic Virtual Tour: Smithsonian National
Museum of Natural History
http://www.mnh.si.edu/vtp/1-desktop/ศูนย์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Knowledge Center: STKC)
ร่วมกับพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในประเทศไทย จัดท�
ำเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์เสมือนเพื่อเป็นแหล่งรวบรวม
ความรู้ในลักษณะของ Virtual Reality อย่างเป็นระบบในประเทศไทย ประกอบด้วย 1) พิพิธภัณฑ์
สิรินธร 2) พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 3) พิพิธภัณฑ์นกในป่าสะแกราช
4) พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
แห่งชาติ6)สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ 7) อุทยานบัว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต
เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร โดยพิพิธภัณฑ์เสมือนเหล่านี้ น�
ำเสนอความรู้ด้วยรูปแบบที่
หลากหลาย ทั้งภาพถ่าย 360 องศา แบบจ�
ำลองสามมิติ เกม วีดิทัศน์ และภาพนิ่ง
พิพิธภัณฑ์เสมือน (e - Museum): โดยศูนย์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKC)
http://museum.stkc.go.th/Edynco เป็นเว็บไซต์เครื่องมือออนไลน์ส�
ำหรับสร้างแผนที่เรียนรู้ (learning map) ที่สามารถน�
ำเสนอ
แบบเคลื่อนไหวที่ดึงดูดใจ แทรกวีดิทัศน์ ข้อสอบ และไฟล์ประเภทต่าง ๆ ได้หลากหลาย ผู้สอนยัง
สามารถบันทึกการบรรยายเพื่อใช้เสริมการเรียนรู้ในจุดที่ต้องการได้อีกด้วย มีระบบจัดการเรียนรู้โดย
การสร้างกลุ่มเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อีกทั้งส่งออก (export) ไปยัง Learning Management
System (LMS) ที่รองรับมาตรฐาน SCORM สามารถใช้งานได้บนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พกพา
(ผ่านแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการ iOS และ Android) ผู้สอนสามารถประยุกต์ใช้เป็นสื่อประกอบ
การสอนในชั้นเรียน หรือปรับใช้เป็นสื่อเสริมการเรียนรู้ก่อนเรียนหรือหลังเรียนได้ตามความเหมาะสม
http://www.edynco.com/Edynco: Build Interactive Lessons with Learning Maps
นวพล กาบแก้ว
นักวิชาการ ฝ่ายนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สสวท. /
nkapk@ipst.ac.th