Table of Contents Table of Contents
Previous Page  45 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 45 / 62 Next Page
Page Background

ปีที่ 43 ฉบับที่ 192 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2558

45

ในอดีตเมื่อ 40 ปีก่อน Otto Frisch เคยใช้เทคนิคกระเจิง

แสงในการท�

ำให้สสารมีอุณหภูมิเย็นจัด โดยการยิงอะตอม

โซเดียมด้วยแสงโซเดียม และพบว่า แสงสามารถท�

ำให้อะตอม

โซเดียมเบี่ยงเบนทิศได้ เพราะเมื่ออนุภาคโฟตอนของแสงปะทะ

อะตอม โมเมนตัมของอะตอมจะเปลี่ยน คือมีความเร็วส่วนหนึ่ง

ในทิศของแสง และอุณหภูมิของอะตอมจะลดลง ดังนั้นเมื่อ

โฟตอน หลายอนุภาคพุ่งชนอะตอมซ�้

ำ ๆ แม้โมเมนตัมของ

โฟตอน จะมีค่าน้อย แต่ถ้าจ�

ำนวนครั้งของการชนมีมาก

ผลกระทบจะมีค่ามากในท�

ำนองเดียวกับการระดมยิงลูกบาสเก็ตบอล

ที่ก�

ำลังเคลื่อนที่ด้วยกระสุนที่ท�

ำด้วยลูกปิงปองจ�

ำนวนมาก ก็

สามารถชะลอความเร็วของลูกบาสเก็ตบอลได้เช่นกัน Frisch ได้

ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าใช้แสงเลเซอร์ในการทดลอง นักทดลองจะต้อง

ปรับความถี่ของแสงตลอดเวลาเพื่อให้ โฟตอน ของแสงมีพลังงาน

พอดีส�

ำหรับการถูกอะตอมดูดกลืน ซึ่งความถี่นี้ขึ้นกับชนิด ทิศ

และความเร็วของอะตอมนั้น เพราะถ้าไม่ปรับความถี่ของแสงให้

พอเหมาะ แสงเลเซอร์ก็จะเคลื่อนที่ผ่านอะตอมไปโดยไม่ท�

ำให้

อะตอมมีความเร็วลดลง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมา คือ เมื่ออะตอมดูดกลืน

โฟตอนเข้าไปแล้ว มันจะปลดปล่อยโฟตอนออกมาในทิศต่าง ๆ

อย่างสะเปะสะปะ ท�

ำให้อะตอมที่เคลื่อนที่ในทิศของแสง

พุ่งเข้าหาแสงด้วยความเร็วที่น้อยลง แต่ในขณะเดียวกันอะตอมเอง

ก็มีการเคลื่อนที่แบบ Brownian ด้ วย คือสะเปะสะปะ

อันเป็นผลที่เกิดจากการที่อะตอมชนกันเอง ซึ่งท�

ำให้อะตอมมี

อุณหภูมิสูงขึ้น การหักล้างระหว่างปัจจัยทั้งสองนี้คือข้อเสียที่

ท�

ำให้นักฟิสิกส์ไม่สามารถท�

ำให้อะตอมมีอุณหภูมิลดต�่

ำมากได้

ดังนั้น เพื่อให้กลุ่มอะตอมมีอุณหภูมิซูเปอร์ต�่

ำ นักฟิสิกส์

จ�

ำต้องอาศัยเทคนิคอื่นเสริม นั่นคือ อาศัยกระบวนการระเหย

(evaporative cooling) ซึ่งเป็นวิธีที่เราใช้เวลาต้องการจะท�

ำให้

กาแฟเย็นลง คือ เป่าลมไปเหนือผิวน�้

ำกาแฟ การท�

ำเช่นนี้จะช่วย

ให้โมเลกุลน�้

ำที่มีอุณหภูมิสูงถูกก�

ำจัดออกจากกาแฟออกมาเป็น

ไอน�้

ำ ซึ่งมีผลท�

ำให้โมเลกุลน�้

ำที่เหลือมีพลังงานน้อยลง คือเย็นลง

ดังนั้น เมื่อใดที่มีกลุ่มอะตอมอุณหภูมิสูง กระบวนการระเหยจะ

ท�

ำให้กลุ่มอะตอมที่เหลือมีอุณหภูมิลดลง ๆ

คณะบุคคลผู้บุกเบิกเทคนิคเช่นนี้คือ Chu, Cohen-Tan-

noudji และ Phillips ซึ่งสามารถท�

ำให้อะตอมเย็นจัดจนใกล้ถึง

อุณหภูมิศูนย์ องศาสัมบูรณ์ ได้ เป็นเวลานานหลายวินาที

และอะตอมที่ถูกกักนี้จะเคลื่อนที่ไป-มาเสมือนตกอยู่ในวุ้น

เหนียว เมื่ออะตอมมีความเร็วต�่

ำ นักฟิสิกส์ก็สามารถศึกษาและ

วัดสมบัติของอะตอมได้อย่างแม่นย�

ำ จนสามารถน�

ำไปสร้าง

นาฬิกาปรมาณูที่เดินได้เที่ยงที่สุดในโลก และใช้ในกระบวนการ

atomic lithography เพื่อท�

ำคอมพิวเตอร์ชิพให้มีขนาดเล็ก

ยิ่งกว่าเทคนิคธรรมดาหลายพันเท่า

หลังจากที่ประสบความส�

ำเร็จในการท�

ำวิจัยระดับรางวัล

โนเบลแล้ว Chu ได้ย้ายไปเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย Stanford

ในปี ค.ศ. 1987 และเริ่มโครงการ Bio-X ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่

เชื่อมโยงชีววิทยากับแพทยศาสตร์ โดย Chu เป็นตัวตั้งตัวตี

ในการหาแหล่งทุนวิจัยจากภายนอกมหาวิทยาลัย

ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ.2004 Chu ได้รับการแต่งตั้งเป็น

ผู้อ�

ำนวยการของห้องปฏิบัติการ Lawrence Berkeley

National Laboratory (LBNL) ซึ่งมีจุดประสงค์จะวิจัยและ

พัฒนาด้านพลังงาน เช่น พลังนิวเคลียร์ พลังงานแสงอาทิตย์ และ

พลังงานชีวมวล เพราะได้พบว่าในการต่อสู้กับภัยโลกร้อน

อเมริกาจ�

ำต้องลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน

และน�้

ำมัน Chu ได้เคยเสนอให้หลังคาบ้าน และถนนทุกสายใน

โลกทาสีขาว หรือสีอ่อนเพื่อให้สามารถสะท้อนแสงอาทิตย์กลับ

ออกไปสู่อวกาศ ซึ่งจะท�

ำให้อุณหภูมิของโลกลดลงได้ และผลที่

เกิดขึ้นนี้ Chu คิดว่า จะมีค่าเท่ากับการที่โลกไม่ใช้รถยนต์เลย

เป็นเวลานาน 11 ปี

รูปที่ 3

(ที่มา:

http://www.ideastream.org/news/npr/170878703

)