

ปีที่ 43 ฉบับที่ 192 มกราคม - กุมภาพันธ์ 2558
41
นับว่าอยู่ผิดที่เพราะโดยปกติอ่าวจะอยู่ภายในทะเลโดยเป็นส่วนหนึ่ง
ของทะเล ทะเลแห่งความกระหายเต็มไปด้วยฝุ่นที่ละเอียดมาก
เป็นฝุ่นแห้งกว่าฝุ่นในทะเลทรายบนโลก เป็นฝุ่นที่เกือบไหลได้
คล้ายกระแสน�้
ำ แทนที่จะเป็นหินดินก้อนเล็ก ๆ เรียกว่า เรโกลิธ
(regolith) ที่ปกคลุมพื้นผิวส่วนใหญ่ของดวงจันทร์ ผู้จัดเที่ยวมี
เรือชื่อ
เซลีนี
ที่ออกแบบพิเศษให้วิ่งไปบนฝุ่นดวงจันทร์นี้คล้าย
การเคลื่อนที่ของเจ็ตสกีบนน�้
ำ ในการผจญภัยครั้งหนึ่งเกิด
แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงบนดวงจันทร์ท�
ำให้แผ่นดินยุบ ขณะที่
เรือเซลีนีแล่นผ่าน เรือจมลงไปใต้ผิวฝุ่นประมาณ 15 เมตร เรือจึง
หายไป เกิดปัญหาที่อาจท�
ำให้ผู้โดยสารและลูกเรือถึงแก่ชีวิต
โดยทันทีทันใด เพราะเรือเซลีนีมีอากาศหายใจจ�
ำกัด ไม่มีหนทาง
ที่จะระบายความร้อน ระบบสื่อสารใช้การไม่ได้ ไม่มีใครรู้ว่า
เรือเซลีนีอยู่ตรงจุดใดแน่ เวลาเหลือน้อย ภายในเรืออุณหภูมิสูงขึ้น
อากาศกลายเป็นพิษใช้หายใจไม่ได้ กัปตันและลูกเรือพยายาม
คลายความกังวลของผู้โดยสารขณะรอความช่วยเหลือโดยได้รับ
ความร่วมมือจากผู้โดยสารคนหนึ่งซึ่งเกษียณอายุแล้วจากการ
ประกอบอาชีพเป็นกัปตันนักส�
ำรวจและนักบินอวกาศ แต่ตอนแรก
ไม่ได้แสดงตัว ขณะนั้นเองนักดาราศาสตร์สติเฟื่องคนหนึ่งสังเกต
ดวงจันทร์จากดาวเทียมซึ่งอยู่ณจุด L2 ของระบบโลกและดวงจันทร์
ท�
ำให้เขาเชื่อว่าเขาพบร่องรอยที่มีอุณหภูมิสูงบนพื้นผิวดวงจันทร์
น�
ำมาสู่การช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในเรือเซลีนีได้ในที่สุด
อีกเรื่องหนึ่งที่
เซอร์อาร์เทอร์ซี คลาร์ก
เขียนเกี่ยวกับดวงจันทร์
คือ
จอมจักรวาล 2001
(2001: A Space Odyssey) โดยมี
เค้าโครงที่เชื่อว่า มนุษย์ต่างดาวผู้มีเทคโนโลยีสูงได้แกะสลักหินสีด�
ำ
ขนาดใหญ่รูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ที่มีอัตราส่วน ความหนา :
ความกว้าง : ความสูง เป็น 1:4:9 หรือ 1
2
:2
2
:3
2
นั่นคือแท่งวัตถุนี้
มีความหนา 1/4 ของความกว้างและ 1/9 ของความสูง แล้วฝังไว้
ลึก 15 เมตรใต้ผิวในเครเตอร์ทีโค ของดวงจันทร์ เมื่อ 3 ล้านปีมา
แล้ว หินสีด�
ำนี้เป็นวัตถุที่ท�
ำให้เกิดการรบกวนสนามแม่เหล็กของ
ดวงจันทร์ตรงบริเวณเครเตอร์ทีโค จึงเรียกว่า ทีเอ็มเอ-1 (TMA-
1:Tycho Magnetic Anomaly One) หมายถึงความ
ไม่เป็นปกติทางสนามแม่เหล็กบริเวณทีโคเป็นหินชิ้นที่ 1
นักวิทยาศาสตร์ขุดพบทีเอ็มเอ-1 ในเวลากลางคืน เมื่อดวงอาทิตย์
ขึ้นในเวลารุ่งเช้าบนดวงจันทร์ ปรากฎว่าแสงแดดท�
ำให้ทีเอ็มเอ-1
ส่งคลื่นวิทยุไปยังไอเอปตัส ดวงจันทร์ใหญ่เป็นที่ 3 ของดาวเสาร์
ซึ่งต่อมานักส�
ำรวจได้เดินทางไปส�
ำรวจไอเอปตัสและพบหินสีด�
ำ
ขนาดใหญ่บนไอเอปตัส เป็นหินที่มีสัดส่วนเดียวกันกับทีเอ็มเอ-1
จึงได้รับชื่อว่า ทีเอ็มเอ-2
นอกจากนี้ยังมีนักเขียนนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่พูดถึงดวงจันทร์
เป็นอาณานิคม โดยมีที่อยู่อาศัยอยู่ใต้ดิน เช่น
รอเบิร์ต เอ ไฮน์ไลน์
(Robert A. Heinlein) นักเขียนชาวอเมริกันเขียนเรื่อง
“The Menace from Earth” เมื่อ ค.ศ.1957 นับเป็นเรื่องแรก ๆ
ที่น�
ำเรื่องราวของการท่องเที่ยวอวกาศเข้าไปอยู่ในนิยายด้วย
นิยายการท่องเที่ยวอวกาศเกิดจากความรู้และความคิด
จินตนาการของผู้เขียน ความรู้ของมนุษย์ในอดีตอาจน้อยกว่า
ความรู้ของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน แต่มีความคิดจินตนาการที่
หลากหลายไม่มีขอบเขต ความฝันของมนุษย์ที่จะขึ้นไปเหยียบ
ผิวดวงจันทร์มีมาช้านานและประสบความส�
ำเร็จเมื่อ 45 ปีนี่เอง
โดยมนุษย์อวกาศอเมริกาในโครงการอะพอลโล
ในโลกแห่งความเป็นจริง ความส�
ำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นได้
เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านจรวด สหภาพโซเวียต
รัสเซียพัฒนาจรวดที่มีพลังขับดันสูงได้ก่อนสหรัฐเมริกา จึงส่ง
ดาวเทียมดวงแรกของโลกชื่อ สปุตนิก-1 ขึ้นสู่อวกาศได้ก่อนเมื่อ
วันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 และสหรัฐเมริกาตามมาติด ๆ
ด้วยการส่งดาวเทียมเอกซ์พลอเรอร์ 1 ขึ้นไปโคจรรอบโลกเมื่อ
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1958 การแข่งขันกันในการออกไปนอกโลก
ระหว่าง 2 ประเทศมหาอ�
ำนาจทางอวกาศนี้เป็นไปอย่างเข้มข้น
ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่ ดาวเทียมดวงแรกขึ้นสู่ อวกาศ
ต่อมาในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 สหภาพโซเวียตรัสเซีย
ก้าวหน้ากว่าคู่แข่งด้วยการส่งยุริ กาการิน มนุษย์อวกาศคนแรก
ขึ้นไปโคจรรอบโลก ท�
ำให้สหรัฐอเมริกา โดยประธานาธิบดี
จอห์น เอฟ เคนเนดี ออกมาประกาศ เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1962
ว่า “เราเลือกที่จะไปลงดวงจันทร์ในทศวรรษนี้ให้ได้ และท�
ำสิ่ง
อื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่เพราะท�
ำได้ง่าย ๆ แต่เป็นเพราะมันท�
ำยาก..”
สหรัฐอเมริกาเอาชนะสหภาพโซเวียตรัสเซีย ด้วยการน�
ำยาน
อะพอลโล 11 ลงดวงจันทร์ได้เป็นผลส�
ำเร็จ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม
ค.ศ. 1969 โดยนักบินอวกาศอเมริกาชื่อ นีล อาร์มสตรอง
ก้าวลงบันไดของยาน ลงดวงจันทรชื่อ อีเกิล เหยียบพื้นผิว
ดวงจันทร์ด้วยรอยเท้าแรกพร้อมค�
ำกล่าวที่ว่า “นี่เป็นก้าวสั้น ๆ
ของมนุษย์ก้าวหนึ่งบนดวงจันทร์ แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยาวมาก
ก้าวหนึ่งของมนุษยชาติ..(ในการส�
ำรวจอวกาศ)”
GALAXY