Table of Contents Table of Contents
Previous Page  42 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 42 / 62 Next Page
Page Background

42

นิตยสาร สสวท.

บรรณานุกรม

Spacecraft. Retrieved December 8, 2014, from http://en.

wikipedia.org/wiki/Spacecraft.

Spacecraft Trip. Retrieved December 10, 2014, from http://

www.gizmag.com/spaceship-earth-grants-competition-space

flight/33832/

การท่องเที่ยวอวกาศ. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2557, จาก http://

th.wikipedia.org/.

นักบินอวกาศที่ขึ้นไปสู่อวกาศไม่ใช่นักท่องเที่ยวอวกาศ แต่เป็น

ผู้ที่องค์กรหรือรัฐบาลออกค่าใช้จ่ายให้ไปปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ

นักท่องเที่ยวอวกาศผู้ต้องซื้อตั๋วขึ้นสู่อวกาศเริ่มด้วย เด็นนิส ติโต

ชาวอเ มริกันผู้จ่ายเงิน 20 ล้านเหรียญสหรัฐในการขึ้นไปอยู่ในสถานี

อวกาศนานาชาติ ระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึง วันที่ 6

พฤษภาคม ค.ศ. 2001 หลังจากนั้นก็มีนักท่องเที่ยวอวกาศขึ้นไป

ท่องเที่ยวในสถานีอวกาศนานาชาติอีกหลายคน คนล่าสุดที่บริษัท

สเปซแอดเวนเจอร์ส ประกาศเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 2012

ว่าจะขึ้นไปอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติไอเอสเอส ระหว่างเดือน

กันยายน – ตุลาคม ค.ศ. 2015 คือ ซาราห์ ไบรท์แมน ชาวอังกฤษ

ในช่วงค.ศ. 1960 - ค.ศ. 1970 เกิดความเชื่อโดยทั่วไป

ว่าจะมีการส่งโรงแรมอวกาศขึ้นไปอยู่นอกโลก ในปีค.ศ. 2000

นักอนาคตศาสตร์ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ฝันไปว่ า

ครอบครัวระดับกลางของมนุษย์ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21

จะสามารถไปท่องเที่ยวพักผ่อนที่ดวงจันทร์ได้ ในค.ศ. 1960

บริษัทแพนแอมได้ จัดท�

ำรายชื่อผู้ รอคอยการบินไปยัง

ดวงจันทร์ในอนาคตโดยจะออกบัตรสมาชิกฟรีให้แก่ สมาชิก

ผู้ร้องขอของ “สมาคมการบินไปยังดวงจันทร์ครั้งแรก”

แต่ภายหลังการลงดวงจันทร์ของนักบินอวกาศสหรัฐอเมริกา

การแข่งขันทางอวกาศก็ลดลง ส่งผลให้การเดินทางไปในอวกาศ

ของมนุษย์ได้รับแรงสนับสนุนด้านงบประมาณจากสาธารณะ

ลดลงไปด้วย

มนุษย์อวกาศคนที่ 2 ที่ลงเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ คือ เอ็ดวิน

อัลดริน ในขณะที่ ไมเคิล คอลลินส์ อยู่ในยานบริการบังคับการ

โคจรรอบดวงจันทร์ เพื่อรอรับอาร์มสตรองกับอัลดรินที่ขึ้นจาก

ดวงจันทร์โดยส่วนบนของยานอีเกิล เมื่อน�

ำหิน-ดินดวงจันทร์พร้อม

ตัวเองเข้าไปอยู่ในยานบริการบังคับการเรียบร้อยแล้ว ส่วนบน

ของยานอีเกิลก็ถูกผลักให้กลับลงไปกระแทกผิวดวงจันทร์ และ

นักบินอวกาศทั้ง 3 คน ก็จุดจรวจของยานบริการบังคับการเพื่อหนี

ออกจากวงโคจรรอบดวงจันทร์ มุ่งหน้ากลับมาโลก ก่อนลงใน

มหาสมุทรแปซิฟิกนั้น ยานบริการถูกแยกออกและถูกเผาไหม้

ในบรรยากาศโลก ยังคงเหลือเฉพาะยานบังคับการเท่านั้นที่พา

มนุษย์อวกาศทั้ง 3 คน แตะพื้นมหาสมุทรด้วยความปลอดภัย

โดยชลอความเร็วด้วยร่มชูชีพ พร้อมความช่วยเหลือจากเรือรบที่รอ

อยู่ใกล้ ๆ

ได้มีนักบินอวกาศสหรัฐไปลงดวงจันทร์อีกในยานอะพอลโล 12

อะพอลโล 14 อะพอลโล 15 อะพอลโล 16 และ อะพอลโล 17

ส่วนสหภาพโซเวียตรัสเซียไม่ส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ มนุษย์อวกาศ

ของสหภาพโซเวียตรัสเซียหรือคอสโมนอต ออกไปนอกโลกไกลสุด

คือ สถานีอวกาศมีร์ ซึ่งโคจรอยู่รอบโลก ปัจจุบันสถานีอวกาศมีร์

ตกสู่พื้นโลกแล้ว สถานีอวกาศที่ยังอยู่คือ สถานีอวกาศนานาชาติ

หรือ ไอ เอส เอส (ISS : International Space Station)

Neil Armstrong

ที่มา

(http://en.wikipedia.org/wiki/Neil_Armstrong)