

นิตยสาร สสวท.
58ิ
ต
สวัสดี คุณผู้อ่านที่รักของต่าย ฉบับนี้ต่ายขอหยิบเรื่องขยะพลาสติกกลับมาคุยกันอีกครั้ง แต่รอบนี้ดูจะจริงจังกว่าครั้งก่อน เพราะ
เป็นการบอกเล่าเรื่องราวผ่านเอกสารทางวิชาการนิดนึง ^_^
ต่ายอ่านพบจาก Seltenrich, N. (2015). New link in the
food chain? Marine plastic pollution and seafood
safety. Environmental Health Perspectives, 123(2), A34.
เป็นการตั้งค�
ำถามที่ต่ายเองก็เคยสงสัยมานานแล้วเช่นกัน ว่า
อาหารทะเลปลอดภัยจริงหรือ จากค�
ำกล่าวของคนโบราณที่เคย
บอกเล่ากันมา และจากความเชื่อของคนรุ่นใหม่ ว่าในบรรดาเนื้อ
สัตว์ต่าง ๆ นั้นปลาเป็นอาหารที่ดีสุด ให้กินปลามาก ๆ ณ เวลานี้
เมื่อจ�
ำนวนประชากรโลกเพิ่มมากขึ้น สภาพสังคมเปลี่ยนแปลง
ส่งผลต่อการเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ต่ายจึงเกิดค�
ำถาม ที่มักจะถามตัวเองเสมอว่า การกินปลามาก ๆ
มันดีหรือ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา จะมีข่าวการลักลอบทิ้ง
สารพิษจ�
ำนวนมากมายลงในทะเล เนื่องจากไม่สามารถทิ้งหรือ
ฝังกลบไว้บนแผ่นดินได้ มีแต่คนต่อต้านมากมาย มีข่าวเรือขนส่ง
น�้
ำมันล่มในทะเล และมีที่ไม่เป็นข่าวอีกมากมาย...ก็คือการทิ้ง
ขยะพลาสติกของมนุษย์ ที่ไม่ว่าจะทิ้งที่ไหนก็แล้วแต่....ทิ้งใต้ถุน
บ้าน...ทิ้งจากบนรถลงสู่ข้างถนน...โยนทิ้งออกมาจากหน้าต่าง
รถไฟ...ทิ้งไว้บนภูเขาเนื่องจากไม่อยากขนลงมาเพราะแค่แบกขึ้น
ไปกินก็เหนื่อยแล้ว...หรือจะทิ้งไว้ที่เชิงดอย....และขยะในเมือง
อีกมากมายที่เมื่อคนกวาดสายตามองไปก็จะต้องเห็น...ขยะ
ทั้งหมดที่ต่ายเวิ่นเว้อพูดมา....จะถูกพัดพาด้วยแรงลม ฝน พายุ
ลงสู่แม่น�้
ำ...และไหลตามน�้
ำลงสู่ทะเลต่อไป.....นี่คือสิ่งที่ต่ายขอเรียก
ว่า “การเดินทางของขยะ” จากข้อมูลประมาณการของน�้
ำหนัก
พลาสติกที่ถูกทิ้งอยู่ในทะเล พบว่ามีพลาสติกล่องลอยอยู่ในทะเล
ประมาณ 269 , 000 ตัน (หรือคิดเทียบกับจ�
ำนวนคน
น�้
ำหนักขยะที่อยู่ในทะเล มีค่าเท่ากับคนหนัก 60 กิโลกรัม
จ�
ำนวน 4,483,333 คน) และนักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าขยะ
พลาสติกสามารถเดินทางไปตามกระแสน�้
ำ กระแสลมในทะเล
ได้ไกลถึง 600 ไมล์ หรือ ประมาณ 965 กิโลเมตร แม้แต่ที่
ขั้วโลกเหนือก็ยังพบขยะพลาสติกขนาดเล็กมากมาย ซึ่งต่ายเชื่อ
ว่าคุณ ๆ คงไม่คิดว่า ขยะเหล่านั้นมาจากเพนกวิน หรือหมีขั้ว
โลก อย่างแน่นอน
ที่น่าตกใจก็คือ เรามักจะเข้าใจกันว่า พลาสติกต่าง ๆ ถูก
รีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ ไม่เห็นต้องตกใจหรือกังวลไปเลย ในความ
เป็นจริงแล้ว การน�
ำขยะพลาสติกมารีไซเคิล ในทางปฏิบัติท�
ำได้
น้อยมากเมื่อเทียบกับการผลิตและการใช้พลาสติกของคนทั้งโลก
ในปี ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) ทั้งโลกสามารถผลิตพลาสติกได้
ประมาณ 1.9 ล้านตัน และในปี ค.ศ. 2013 (พ.ศ. 2556)
ความสามารถในการผลิตพลาสติกเพิ่มขึ้นเป็น 330 ล้านตัน ณ
วันนี้ ธนาคารโลกได้ประมาณการว่ามนุษย์ทั่วโลกร่วมกันสร้าง
ขยะทุกประเภทรวมกันแล้วตกปีละ 1.4 พันล้านตัน และ 10 %
ของขยะทั้งหมดเป็นขยะจากพลาสติก
เมื่อขยะพลาสติกล่องลอยอยู่ในทะเล จะเกิดการแตกสลาย
เป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ โดยอาศัยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์
พลังงานจากแรงกระแทกของคลื่น พอแตกเป็นชิ้นเล็ก ก็จะ
ล่องลอยไปมาในทะเล และมีการสะท้อนแสงเป็นระยะ ๆ ตาม
จังหวะการตกกระทบและการสะท้อนของแสงอาทิตย์บนผิวของ
พลาสติกเหล่านั้น นี่เองท�
ำให้ปลาและสิ่งมีชีวิตในทะเลจ�
ำนวน
มากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาหารที่สามารถจับกินได้ ก็เลือกกัดกิน
พลาสติกตามความสามารถในการกินเหยื่อ ปลาใหญ่ก็จะกิน
พลาสติกชิ้นใหญ่ ปลาเล็กก็จะกินพลาสติกชิ้นเล็กตามสัดส่วน