Previous Page  59 / 62 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 59 / 62 Next Page
Page Background

59

ปีที่ 43 ฉบับที่ 193 มีนาคม - เมษายน 2558 ี

ที่ ั

บี่ ี

ส่วนหอยก็ไม่ใช่เล่น มีรายงานการพบพลาสติกขนาดเล็ก

(microplastics) ขนาด 3 - 9.6 ไมโครเมตร (1 ไมโครเมตร =

0.0001 เซนติเมตร) ในระบบทางเดินอาหาร ของหอยที่เรากิน

กันนั่นเอง พลาสติกขนาดเล็กขนาดนี้ ต่ายเชื่อเลยว่า ถ้ากินเข้าไป

คุณ ๆ จะไม่มีทางรู้สึกเลยว่ามีเศษพลาสติกติดในร่องฟันของคุณ

ตอนนี้นักวิทยาศาสต์ยังไม่เข้าใจผลกระทบทั้งหมดที่เกิดจากการ

กินอาหารทะเลที่มีชิ้นส่วนพลาสติกเล็ก ๆ เหล่านี้เข้าไปมาก ๆ

แต่มีการศึกษาวิจัยว่า พลาสติกขนาดเล็กเหล่านี้มีผลกระทบต่อ

ระบบภูมิคุ้มกัน เปลี่ยนแปลงการท�

ำงานของยีน เกิดกระบวนการ

ที่ท�

ำให้เซลล์ตาย (Cell Death Mechanism)

หากคนมองว่า “นาโน” ก�

ำลังฮิต ต่ายก็ขอยืนยันว่า

พิษของพลาสติกนาโน (Nanoplastics) ก็มาแรงเช่นกัน ถึงแม้ว่า

ขณะนี้วงการวิทยาศาสตร์จะเพิ่งเริ่มหันมาสนใจศึกษาเรื่องนี้กัน

ได้ไม่นาน ก็พบสัญญาณอันตรายของพลาสติกขนาดเล็กที่ส่งผล

ต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ตัวเต็มวัย ระบบภูมิคุ้มกัน ที่น่า

ตื่นเต้น ส�

ำหรับต่ายก็คือ มีการทดลองที่แสดงให้เห็นว่าพลาสติก

ขนาดเล็กสามารถท�

ำให้การเจริญและพัฒนาของอวัยวะของ

ไรแดง (water flea) ผิดปกติไปจากเดิม

เฉลยค�

ำถามฉบับที่ 191

ซึ่งต่ายได้ถามเอาไว้ว่า ในร่างกาย

มนุษย์มี Cobalt หรือไม่ และไม่ว่าคุณจะตอบว่ามีหรือไม่มี ต่าย

ได้ขอให้บอกเหตุผลประกอบค�

ำตอบมาด้วย ส�

ำหรับค�

ำถามนี้ มี

ผู้ที่ตอบถูก 1 ท่าน ก็คือ คุณปาริฉัตร กิมสือ ที่อยู่ 209/1 หมู่ที่

3 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 24120 ค�

ำตอบ

คือ ในร่างกายมนุษย์มี Cobalt แต่มนุษย์จะไม่สามารถสังเคราะห์

ขึ้นมา เองได้ ต้ องได้ รับจากอาหารที่กินเข้ าไปเท่ านั้น

Cobalt ประกอบอยู่ในโครงสร้างของวิตามิน บี 12 และ Cobalt

จะท�

ำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือด การสร้างเส้นเลือด

ขึ้นมาใหม่ และยังท�

ำหน้าที่ร่วมกับแร่ธาตุอื่นๆ เพื่อช่วยในการ

ดูดซึมธาตุเหล็กอีกด้วย

ค�

ำถามฉบับที่ 193

ในปี ค.ศ. 2010 ได้มีรายงานทาง

สถิติของประเทศที่มีการจัดการระบบการก�

ำจัดขยะพลาสติกที่

ไม่ค่อยจะมีคุณภาพส่งผลท�

ำให้ขยะพลาสติกล่องลอยออกสู่ทะเล

และประเทศไทยก็ติดโผในการจัดอันดับเรื่องนี้ด้วย ต่ายขอถาม

ว่า ประเทศไทย ติดโผอยู่ในอันดับที่เท่าไหร่ ของการสร้างปัญหา

ขยะในทะเลของโลกใบนี้ ต่ายเชื่อว่าจะสามารถหาค�

ำตอบได้

อย่างง่ายดายจากอินเทอร์เน็ต เมื่อหาค�

ำตอบได้แล้ว ก็ส่งมาให้

ต่ายที่

funny_rabbit@live.co.uk

ภายในวันที่ 3 กรกฎาคม

2558 โดยต้องใส่ที่อยู่ที่จะให้จัดส่งของรางวัลของคุณ มาให้

เรียบร้อย

และเช่นเดิม ถ้าอยากให้ต่ายส่งสื่อเล็กๆ น้อยๆ จาก

สสวท. ไปให้โรงเรียน (นอกเหนือจากของรางวัลที่จะได้รับ) ต่าย

รบกวน ช่วยเขียนชื่อโรงเรียนที่คุณอยากให้ต่ายส่งของไปให้มา

ด้วย เพื่อที่โรงเรียนจะได้น�

ำไปใช้ในการเรียนการสอน ส่วนเฉลย

สามารถรออ่านได้ในฉบับที่ 195 จ้า

ภาพแสดงชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กที่สามารถมองเห็นได้ในทางเดินอาหารของปลา

(ที่มา: Seltenrich, N. (2015). New link in the food chain? Marine plastic

pollution and seafood safety. Environmental Health Perspectives,

123(2), A34)

ภาพที่ไม่มีลูกศรทางด้านซ้ายคือลักษณะปกติของไรแดง ภาพที่มีลูกศรคือภาพแสดง

ลักษณะผิดปกติของไรแดงที่เกิดจากพิษของพลาสติกนาโน

( ที่ม า : h t t p s : / /www . wa g e n i n g e nu r . n l / e n / n ews a r t i c l e /

Plastic-nanoparticles-also-harm-freshwater-organisms.htm)

ณ ตอนนี้ ต่ายคิดว่า ปัญหาขยะพลาสติก ไม่ใช่ปัญหา

ระดับท้องถิ่นอีกต่อไปแล้ว มันคือ ปัญหาของชุมชนชาวโลก

และจะส่งผลกระทบต่อตัวคุณ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน

“ การสร้างวินัยของประชาชนในประเทศต้องเริ่มจากที่บ้าน สอนลูกหลานให้

มีระเบียบวินัย ” เพื่อโลกใบนี้จะได้น่าอยู่ สะอาดและปลอดภัย ^_^

ต่าย แสนซน