Previous Page  53 / 61 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 53 / 61 Next Page
Page Background

53

ปีที่ 44 ฉบับที่ 197 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2558

ในสมัยก่อนที่ต�

ำรา

“The Nature of Chemical

Bonds” จะปรากฏ นักเคมีเคยอธิบายพันธะต่าง ๆ ตามวิธี

คิดของ Edward Frankland ซึ่งได้เสนอตั้งแต่ปี ค.ศ. 1866

ว่า พันธะเคมีมีบทบาทคล้ายคลึงกับแรงโน้มถ่วง แม้แต่ Jons

Jakob Berzelius ก็ยังคิดว่า อันตรกริยาในพันธะเป็นแรง

ไฟฟ้าที่เกิดจากแรงดึงดูดระหว่างประจุตรงกันข้าม และ

แนวคิดนี้ก็ได้รับการยืนยันว่ามีส่วนถูกต้องเมื่อมีการพบ

อิเล็กตรอนในปี ค.ศ. 1897 และมีการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน

ที่มีประจุลบระหว่างอะตอม ไอออนที่เหลือจึงมีประจุบวก

แต่

G.N.I. Lewis แห่งมหาวิทยาลัย California ที่

Berkeley กลับคิดว่าพันธะเคมีอาจจะเกิดจากการที่อะตอม

ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันมิใช่เกิดจากการแลกเปลี่ยนอิเล็กตรอน

ซึ่งพันธะลักษณะนี้ Irving Langmuir ได้ตั้งชื่อว่าพันธะแบบ

covalent ที่อาจจะเกิดได้ระหว่างอะตอมที่เป็นกลาง

ลุถึงปี ค.ศ. 1916 Lewis จึงได้เสนอความคิดเพิ่มเติม

ว่า อะตอมอาจจะเสถียรได้ถ้าอะตอมมีอิเล็กตรอน8อิเล็กตรอน

อยู่ที่มุมทั้ง 8 ของลูกบาศก์โครงสร้างของอะตอมและ octet

ที่เกิดขึ้นนี้จะเชื่อมโยงเป็นพันธะกับอะตอมอื่นต่ อไป

แนวคิดเรื่อง octet ของ Lewis ได้รับการยืนยันเมื่อ Niels Bohr

เสนอทฤษฎีควอนตัมของอะตอมไฮโดรเจนว่า octet เกิดจาก

การที่อิเล็กตรอนในอะตอมมีพลังงานแตกต่างกัน

ในปี 1922 หนุ่ม Pauling วัย 21 ปีที่มีฐานะยากจน

จากรัฐ Oregon ได้รับทุนไปศึกษาต่อที่สถาบัน California

Institute of Technology แต่เขากลับมิได้เห็นด้วยกับ

ความคิดที่แตกต่างกันเหล่านี้ และปักใจเชื่อว่า กลศาสตร์

ควอนตัมคือเหตุผลเดียวเท่านั้นที่จะอธิบายพันธะเคมีได้

Pauling มิได้เป็นนักเคมีเพียงคนเดียวที่คิดเช่นนี้ อาจารย์

ของ Pauling ชื่อ Richard Tolman ก็เห็นพ้องกับเขา

แต่ Pauling โชคดีกว่าอาจารย์ เมื่อเขาได้ทุน Guggenheim

ไปท�

ำวิจัยเคมีที่ยุโรปในปี ค.ศ. 1926 ซึ่งเป็นเวลาที่ทฤษฎี

ควอนตัมเพิ่งถือก�

ำเนิดใหม่ ๆ

Pauling จึงได้มีโอกาสพบ Bohr ที่ Copenhagen

ในเดนมาร์ก สนทนากับ Arnold Sommerfeld ที่ Munich ใน

เยอรมนีและErwinSchroedingerที่Zurichในสวิสเซอร์แลนด์

นอกจากนี้ก็ยังได้ปรึกษากับ Fritz London และลูกศิษย์

ชื่อ Walter Heitler ด้วย ซึ่งคนทั้งสองได้เสนอทฤษฎีโมเลกุล

ไฮโดรเจนที่ประกอบด้วยอะตอมไฮโดรเจน 2 อะตอมใน

ปี ค.ศ.1927 โดยใช้ทฤษฎีควอนตัมประมาณฟังก์ชันคลื่นของ

โมเลกุล แล้วใช้สมการของ Schroedinger ค�

ำนวณต่อจนได้

ค่าพลังงานยึดเหนี่ยวที่สอดคล้องกับผลการทดลอง

Pauling จึงคิดต่อยอดผลงานนี้ โดยการพิจารณา

ให้พันธะเคมีระหว่ างอะตอมเกิดจากการทับซ้อนของ

วงโคจรอิเล็กตรอน และได้เสนอแนวคิดใหม่เรื่อง เรโซแนนซ์

(resonance) ในโมเลกุล เช่น ซึ่งเป็นโมเลกุลไฮโดรเจน

ที่ตามปกติควรมีอิเล็กตรอน 2 อิเล็กตรอน แต่ได้สูญเสีย

อิเล็กตรอนไป 1 อิเล็กตรอน ดังนั้นอิเล็กตรอนที่เหลือ

ในมุมมองของ Pauling จึงอาจเป็นของอะตอมไฮโดรเจน

ตัวหนึ่งตัวใดก็ได้ นั่นคือในโมเลกุลมีการ “สั่นพ้อง” (resonate)

ของอิเล็กตรอนระหว่างอะตอมทั้งสอง

H 2

+

นอกจากนี้ Pauling ยังได้เสนอแนวคิดเรื่อง ไฮบริด

(hybrid) ด้วย เช่น โมเลกุล methane ซึ่งประกอบด้วยอะตอม

คาร์บอน 1 อะตอมที่ยึดโยงด้วยพันธะเคมีกับอะตอมคาร์บอน

4 อะตอมเป็นโมเลกุล CH และมีโครงสร้างแบบ (tetrahedron)

ในโมเลกุลนี้ อิเล็กตรอน ออร์บิทัล (orbital) มีโครงสร้าง

แบบ sp

3

คือมีทั้งอิเล็กตรอน ออร์บิทัลแบบ 2s และอิเล็กตรอน

แบบ 2p จ�

ำนวน 3 อิเล็กตรอน

Pauling ได้เสนอแนวคิดที่ส�

ำคัญมากเรื่อง เรโซแนนซ์

และไฮบริไดเซชัน (hybridization) ในหนังสือชื่อ“The

Nature of the Chemical Bonds” ในช่วงปี ค.ศ. 1928-31

และในเวลาต่อมาแนวคิดนี้ได้ถูกน�

ำไปอธิบายพันธะโลหะ

และ พันธะไฮไดรเจน ด้วย ซึ่งต่างก็ให้ผลที่สอดคล้องกับการ

ทดลองทั้งในเรื่องความยาวพันธะและขนาดของไอออน

ทฤษฎี พันธะเวเลนซ์ valence-bond ของ Pauling

มิได้เป็นทฤษฎีเดียวที่เป็นที่ยอมรับในสมัยนั้น เพราะในเวลา

เดียวกัน Robert Mulliken แห่งมหาวิทยาลัย Chicago และ

Friedrich Hund แห่งมหาวิทยาลัย Göttingen ก็ได้

เสนอทฤษฎีออร์บิทัลเชิงโมเลกุล (molecular orbital) ที่มี

นิวเคลียส และ อีเล็กตรอนมากมายจึงเหมาะที่จะใช้กับ

โมเลกุล เช่น benzene, naphthalene และ ferrocene

ในด้านความถูกต้อง แบบจ�

ำลองทั้งสองนี้ให้ผลดีพอกัน

แต่แบบ ออร์บีทัลเชิงโมเลกุล สะดวกใช้กว่า กระนั้น Pauling

ก็ไม่เคยยอมรับในประเด็นนี้ แต่สาเหตุที่คนทั้งโลกชื่นชม

Pauling ยิ่งกว่า Mulliken เพราะ Pauling เขียนหนังสือ

และอธิบายประเด็นต่าง ๆ ได้ดีกว่า

4