

นิตยสาร สสวท.
58
วันนี้ต่ายจะมาพูดถึงเรื่อง การกินกับสุขภาพ
นักวิทยาศาสตร์ ไ ด้ ศึกษาความสัมพันธ์ ร ะหว่ า ง
ความหลากหลายของแบคทีเรีย อาหารที่กินเข้าไป และ
สุขภาพของมนุษย์ ซึ่งองค์ความรู้นี้ จะท�
ำให้เราสามารถ
น�
ำมาใช้ในการปรับตัวเพื่อเลือกกินอาหารที่จะส่งเสริมให้
กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายของเราสามารถท�
ำงานได้
อย่างเป็นปกติ
ต่ายเชื่อว่าคุณ ๆ เคยได้ยินค�
ำกล่าวนี้มาบ้างแล้ว
“เราควรถ่ายอุจจาระทุกวัน มิเช่นนั้น สิ่งที่เรากินเข้าไป
แล้วย่อยไม่หมด หรือย่อยไม่ได้ ก็จะหมักหมมอยู่ภายในร่างกาย
ของเรา และสารบางอย่างที่ตกค้างหรือหมักหมมอยู่ภายใน
ร่างกายอาจเป็นสาเหตุที่ท�
ำให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ ได้” อ๊ะ คุ้นกับ
ค�
ำว่า “หมักหมม” ไหม ค�
ำนี้แหละ ที่ต่ายจะน�
ำเข้าเรื่อง
ถึงตอนนี้ คุณคงสงสัยแน่ ๆ เลย ว่าท�
ำไม“ตดฉัน
ถึงมีกลิ่น” การที่ตดมีกลิ่น มีสาเหตุมาจากซัลเฟอร์ที่เป็น
ส่วนประกอบของอาหารกลุ่มโปรตีน และชนิดของอาหารที่
เราคุ้นเคยกันและมักจะพูดล้อเล่นกันจนชิน คือ “ถั่ว”
จริง ๆ แล้ว การกินอาหารแต่ละมื้อที่มีสัดส่วนของเนื้อสัตว์
มากกว่าอาหารกลุ่มที่มีเส้นใย เป็นสาเหตุที่ท�
ำให้ตดคุณ
มีกลิ่นเหม็นได้
เรารู้แล้วว่า หากเรากินอาหารจ�
ำพวกพืชตระกูล
ถั่วมากจะท�
ำให้ผายลมหรือตดบ่อย ตอนนี้คุณ ๆ ต้องแยก
ประเด็น ระหว่างแก๊สในล�
ำไส้ ซึ่งต่ายหมายถึง “ตด”
และแก๊สในกระเพาะอาหาร ที่เป็นสัญญาณของการท�
ำงาน
ที่ผิดปกติของกระเพาะอาหารซึ่งต่ายจะไม่พูดถึงในวันนี้
มาต่อที่เรื่องของ “ตด” กันดีกว่า ค�
ำว่า “ตด”
และค�
ำว่า “ผายลม” นั้นต่างกันนิดเดียวตรงที่ “ตด” เป็น
ได้ทั้งค�
ำกริยาและค�
ำนาม ส่วนค�
ำว่า “ผายลม” นั้นเป็น
ค�
ำกริยาเท่านั้น ในที่นี้ต่ายจึงขอใช้ค�
ำว่า “ตด” แล้วกัน
“ตด” เป็นแก๊สที่เกิดขึ้นภายในล�
ำไส้ เป็นผลจาก
กระบวนการหมัก (fermentation) ของแบคทีเรียในล�
ำไส้
พูดง่าย ๆ ก็คือเป็นการหมักที่เกิดขึ้น ซึ่งท�
ำให้แบคทีเรีย
ได้สารอาหารและพลังงานส�
ำหรับการด�
ำรงชีวิตของพวกมัน
และ “แก๊สที่เกิดขึ้นเป็นแก๊สที่ไม่มีกลิ่น” แก๊สที่เกิดในล�
ำไส้
ประกอบด้วยแก๊สไนโตรเจน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์
และ มีเทน
ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอาหารต่อสุขภาพ
ที่มา - van Hylckama Vlieg, J. E., Veiga, P., Zhang, C., Derrien,
M., & Zhao, L. (2011). Impact of microbial transformation of food on
health—from fermented foods to fermentation in the gastro-intestinal
tract. Current opinion in biotechnology, 22(2), 211-219.
สวัสดีคุณ ๆ ผู้อ่านที่เคารพรัก
ต่าย แสนซน
สแกนโค้ดนี้เพื่อ
ชมภาพเคลื่อนไหว