Previous Page  50 / 61 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 50 / 61 Next Page
Page Background

ซูเปอร์มูนสังเกตได้ง่าย ไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษ

ใด ๆ สิ่งที่ต้องการคือท้องฟ้าที่แจ่มใสไร้เมฆหมอก ซูเปอร์มูน

ขณะก�

ำลังขึ้นหรือก�

ำลังตกจะเห็นใหญ่กว่าขณะอยู่สูง ๆ

เพราะปรากฏการณ์ภาพลวงตาด้วย ถ้าไปอยู่บนดวงจันทร์

ด้านใกล้โลกจะเห็นโลกลอยเด่นขนาดใหญ่อยู่บนฟ้าของ

ดวงจันทร์ ตอนเต็มดวงจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางเกือบ 4 เท่า

ของจันทร์เพ็ญ โลกลอยอยู่ที่เดิมตลอด แต่เปลี่ยนรูปร่าง

จากเสี้ยวเป็นครึ่งดวง เป็นค่อนดวง และเต็มดวง ก่อนที่จะ

ปรากฏเป็นโลกค่อนดวง โลกครึ่งดวง โลกเป็นเสี้ยว และ

โลกมืด กลับมาเป็นเสี้ยวอีกครั้งหนึ่ง เป็นรอบรอบละ 1 วัน

ของดวงจันทร์ หรือ 27.3 วันของโลก ทั้งนี้เพราะดวงจันทร์

หมุนรอบตัวเอง 1 รอบเท่ากับเวลาที่โคจรรอบโลก 1 รอบ

เท่ากับ 27.3 วันบนโลก และดวงจันทร์หันด้านเดียว

เข้าหาโลกตลอดเวลา จึงเห็นโลกอยู่ที่เดิมบนท้องฟ้าของ

ดวงจันทร์ด้วย

มนุษย์ต้องเรียนรู้ เกี่ยวกับดวงจันทร์ ให้มากขึ้น

เพราะในอนาคตการเดินทางของมนุษย์ไปยังดาวดวงอื่น

จุดหมายแรกคือ ดวงจันทร์ เพราะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลก

ที่สุด และจะกลายเป็นสถานีของการเดินทางไปดาวดวงอื่น

ได้อย่างดี

เมื่อเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงขณะที่ดวงจันทร์เป็นซู

เปอร์มูน ในวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 2016 ดวงจันทร์จึงบังดวง

อาทิตย์เต็มดวงได้นานถึง 4 นาที 9 วินาที สุริยุปราคาเต็ม

ดวงจะเกิดนานมากยิ่งขึ้นถ้าเกิดในช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกล

โลกมากที่สุด วันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลโลกมากที่สุดคือ

4 กรกฎาคม ดังนั้นถ้าเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงในเวลาใกล้เคียง

กับ 4 กรกฎาคม ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงก็จะนาน

กว่าปกติ และประกอบกับเกิดขณะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลก

มากที่สุดด้วย ก็จะเพิ่มเวลาสุริยุปราคาเต็มดวงได้มาก เช่น

สุริยุปราคาเต็มดวงที่เห็นในประเทศไทยเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน

ค.ศ. 1955 เกิดขณะที่โลกอยู่ใกล้จุดไกลดวงอาทิตย์ที่สุด

ท�

ำให้เห็นดวงอาทิตย์มีขนาดเล็ก ส่วนดวงจันทร์ในวันนั้นอยู่

ห่างโลก 360,000 กิโลเมตร จึงปรากฏใหญ่กว่าดวงอาทิตย์

เมื่อเทียบขนาดเชิงมุมแล้วพบว่า วันที่ 20 มิถุนายน

ค.ศ. 1955 ดวงอาทิตย์มีขนาดปรากฏ 31.6 ลิปดา

ดวงจันทร์มีขนาดปรากฏ 34 ลิปดา ดวงจันทร์จึงบัง

ดวงอาทิตย์เต็มดวงได้นานถึง 7 นาที 8 วินาที นับว่าเป็น

เวลานานที่สุดของสุริยุปราคาชุดนี้

รูปสุริยุปราคาเต็มดวงที่จะเห็นที่สุลาเวสีในวันที่ 9 มีนาคม

ค.ศ. 2016

(ที่มา:

https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse

)

SOLAR ECLIPSE CRUISE INDONESIA 2016. Retrieved

September 22, 2015, from

http://www.astroad ventures.net/2016/indonesia/eclipse.html.

Solar eclipse. Retrieved September 22, 2015, from

https://en.wikipedia.org/wiki/Solar_eclipse

จันทร์เพ็ญ

เมื่อดวงจันทร์ใกล้โลก. ดาราศาสตร์ไทย.สืบค้นเมื่อ 3

พฤศจิกายน 2558, จาก

http://thaiastro.nectec. or.th/library/bigfullmoon/bigfullmoon.html.

รูปสุริยุปราคาบางส่วนที่จะเห็นในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ

25 กันยายน 2558, จาก

http://media.zuza.com/

c/b/cb1029f1-48ea-4333-96ce-bf96d0880801/

Partial_Solar_Ecilpse_SeriesB-Dec.25.00-B_eb775

___Gallery.jpg.

ล�

ำดับการเกิดจันทรุปราคา. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2558,

จาก

http://morning-news.bectero.com/international/

25-Sep-2015/55782.

บรรณานุกรม

รูปสุริยุปราคาบางส่วนที่จะเห็นในประเทศไทยในวันที่ 9

มีนาคม ค.ศ. 2016 รูป ก. ที่กรุงเทพฯ รูป ข. ที่ภูเก็ต

(ที่มา

:http://media.zuza.com/c/b/cb1029f1-48ea-4333-

96ce-bf96d0880801/Partial_Solar_Ecilpse_SeriesB-

Dec.25.00-B_eb775___Gallery.jpg)

ก.

ข.

นิตยสาร สสวท

.

50