

ซูเปอร์มูนคืออะไร?
ซูเปอร์มูน คือ ดวงจันทร์ที่เห็นโตกว่าปกติ ถ้าเป็น
จันทร์เพ็ญจะเห็นความแตกต่างระหว่างจันทร์เพ็ญที่เป็น
ซูเปอร์ มูนและจันทร์ เพ็ญที่เป็นจันทร์เพ็ญปกติชัดเจน
มาก ทั้งนี้เพราะพื้นที่ของซูเปอร์มูนจะมากกว่าพื้นที่ของ
จันทร์เพ็ญปกติถึง 30% หรือถ้าเปรียบเทียบเส้นผ่าน
ศูนย์กลางซูเปอร์มูนจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าจันทร์
เพ็ญปกติ 15%
สาเหตุที่ดวงจันทร์มีขนาดเปลี่ยนแปลงเพราะ
วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็นวงรี จึงมีจุดที่ดวงจันทร์
อยู่ใกล้โลกที่สุด (perigee) และจุดที่ดวงจันทร์อยู่ไกลโลก
ที่สุด (apogee) ถ้าจันทร์เพ็ญอยู่ที่จุดใกล้โลกที่สุดจะเป็น
จันทร์เพ็ญซูเปอร์มูน ในขณะที่จันทร์เพ็ญซึ่งเกิดขณะอยู่
ไกลโลกที่สุดจะเป็นจันทร์เพ็ญเล็กที่สุดซึ่งเล็กกว่าจันทร์
เพ็ญปกติ
นิพนธ์ ทรายเพชร
ราชบัณฑิต ส�
ำนักวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาดาราศาสตร์ / ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท.
รูปเปรียบเทียบระหว่างจันทร์เพ็ญซูเปอร์มูนและจันทร์
เพ็ญเล็กที่สุด
(ที่มา
:http://thaiastro.nectec.or.th/library/bigfull-moon/bigfullmoon.html)
ซูเปอร์มูน
(Supermoon)
ที่มาของค�
ำว่าซูเปอร์มูน
นักโหราศาสตร์ชื่อ ริชาร์ด โนลล์ (Richard Nolle)
เรียกดวงจันทร์เพ็ญและจันทร์ดับที่โตกว่าปกติเมื่อกว่า 30 ปีมา
แล้วว่า ซูเปอร์มูน การเกิดซูเปอร์มูนเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์
อยู่ที่จุดใกล้โลกที่สุด หรือจุดที่ใกล้จุดนี้ไม่น้อยกว่า 90%
ใน 1 ปี จะมีซูเปอร์มูนเฉลี่ย 4 – 6 ครั้ง
จากนิยามของโนลล์ ใน ค.ศ. 2015 ดวงจันทร์ที่จะ
เป็นซูเปอร์มูนต้องอยู่ใกล้โลกน้อยกว่า 361,836 กิโลเมตร
(เป็นระยะระหว่างจุดศูนย์กลางของโลกถึงจุดศูนย์กลางของ
ดวงจันทร์)
ซูเปอร์มูนใน ค.ศ. 2015
ใน ค.ศ. 2015 มีซูเปอร์มูน 6 ครั้ง คือ จันทร์ดับ
3 ครั้งคือ (20 มกราคม) 18 กุมภาพันธ์ และ 20 มีนาคม
(เราไม่สามารถสังเกตจันทร์ดับได้เพราะดวงจันทร์อยู่ไปทาง
เดียวกับดวงอาทิตย์) และจันทร์เพ็ญอีก 3 ครั้ง คือ
จันทร์เพ็ญในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2015 เวลา 01:35 น.
จันทร์เพ็ญในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2015 เวลา 09:50 น.
จันทร์เพ็ญในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2015 เวลา 19:05 น.
ซูเปอร์มูนในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2015 ดวงจันทร์
อยู่ห่างโลก 356,896 กิโลเมตร
47
ปีที่ 44 ฉบับที่ 197 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2558