Previous Page  43 / 61 Next Page
Information
Show Menu
Previous Page 43 / 61 Next Page
Page Background

43

ปีที่ 44 ฉบับที่ 197 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2558

ภาพที่ 2 รูปภาพแสดงความสนุกสนานของผู้เข้าร่วม

การประชุม

ภาพที่ 3 การแสดงเซิ้งกะลาของทีมนักเรียนไทย

นักเรียนตัวแทนประเทศไทย เป็นนักเรียนที่ได้รับ

รางวัลเหรียญทอง จากการสอบคัดเลือกในโครงการพัฒนา

อัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ที่ผ่านการ

สอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ตรงตาม

คุณสมบัติคือ มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และ

คณิตศาสตร์ และมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ

ในระดับดี เนื่องจากการประชุมครั้งนี้ นักเรียนไทยทั้งหมด

จะต้องแยกกลุ่มเพื่อที่จะไปรวมกับเพื่อนชาวต่ างชาติ

และท�

ำกิจกรรมร่วมกัน ตัวแทนนักเรียนไทยและนักวิชาการ

สสวท. ที่เข้าร่วมงาน ประกอบด้วย

1) เด็กชายกีรติกร เฉลิมเกียรติสกุล โรงเรียนสวนกุหลาบ

วิทยาลัย

2) เด็กหญิงชัญญพัชร์ อิทธิเบญจพงศ์ โรงเรียนสาธิต

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

3) เด็กชายณพ เติมตฤษณา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย

ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

4) เด็กชายธีธัช บ�

ำรุงเชาว์เกษม โรงเรียนเบญจมราชูทิศราชบุรี

5) เด็กชายพัชรพล เกษมธรรมแสวง โรงเรียนระยองวิทยาคม

6) เด็กชายภากร นันทอารี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

7) นางสาวทวินันท์ มาลา นักวิชาการ สาขาโอลิมปิกวิชาการ

และพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

สสวท.

8) นางฤทัย เพลงวัฒนา นักวิชาการ สาขาโลก ดาราศาสตร์

และอวกาศ สสวท. ท�

ำหน้าที่ผู้ควบคุมทีมและร่วมน�

ำเสนอ

ผลงานในช่วงการประชุมส�

ำหรับครู (Teacher Forum)

การประชุมจัดขึ้นที่ศูนย์ กิจกรรมส�

ำหรับเด็ก

และเยาวชนเจียนถาน กรุงไทเป ในวันแรกที่มาถึง เจ้าภาพ

จัดงานเลี้ยงต้อนรับ ซึ่งมีการแสดงและกิจกรรมนันทนาการ

ให้นักเรียนแต่ละประเทศได้สนุกร่วมกัน หลังจากงานเลี้ยง

เด็กไทยของเราก็มีโอกาสซ้อมการแสดงส�

ำหรับพิธีเปิด

และซ้อมการน�

ำเสนอส�

ำหรับกิจกรรม Student Forum ใน

หัวข้อที่ประเทศเจ้าภาพได้ให้โจทย์ไว้แก่นักเรียนตั้งแต่

3 สัปดาห์ก่อนการเดินทาง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับนักเรียน

ผู้มีความสามารถพิเศษกับการแก้ปัญหาสังคม ซึ่ง สสวท. ได้

ด�

ำเนินการจัดการอบรมเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียน

เพื่อประชุมระดมความคิดไปเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2558

ที่ห้องประชุมนิดา สะเพียรชัย สสวท. และได้หัวข้อน�

ำเสนอ

คือ

นวัตกรรมเพื่อสังคมผู้สูงวัย (Innovation for Aging society)

พิธีเปิดมีการแสดงของแต่ละประเทศที่เข้าร่วม

ตัวอย่างเช่น ทีมประเทศจีน ได้แสดงการร้องเพลงประสานเสียง

และเล่นคีย์บอร์ดไปพร้อม ๆ กับการชงชาอู่หลง ซึ่งท่วงท่า

ในการชงชา สอดคล้องกับท�

ำนองที่ไพเราะของบทเพลงเป็น

ที่ประทับใจของผู้เข้าร่วมงาน ทีมประเทศอินโดนีเซียน�

อังกะลุงมาแสดงเพลงพื้นบ้าน ทีมประเทศญี่ปุ่นน�

ำของเล่น

ไม้โบราณหรือเคนดามะมาแสดงประกอบเพลง ทีมประเทศ

เวียดนามร้องเพลงพร้อมกับตีกลองโบราณ ส�

ำหรับทีมไทย

แสดงเซิ้งกะลา ได้รับเสียงปรบมือจากทุกคนด้วยท่วงท่า

ที่น่ารักและจังหวะของเพลงที่สนุกสนาน ซึ่งนักเรียนทุกคน

ก็ตั้งใจแสดงกันอย่างเต็มที่ พิธีเปิดจบลงด้วยเสียงปรบมือ

ให้กับการแสดงของแต่ละทีม เป็นโอกาสที่ดีที่นักเรียนจาก

หลาย ๆ ชาติ ได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมร่วมกัน